บทความ

การเลือกใช้ไมโครโฟนสำหรับร้องและจ่อเครื่องดนตรีในงานแสดงดนตรีสด (Live Music)

บทความ การเลือกใช้ไมโครโฟนสำหรับร้องและจ่อเครื่องดนตรีในงานแสดงดนตรีสด (Live Music)

เลือกไมค์ร้อง ไมค์เครื่องดนตรี ในงานแสดงสด

       ในงานคอนเสิร์ตหรืองานแสดงดนตรีสดต่าง ๆ การเลือกใช้ไมโครโฟนสำหรับร้องเพลงหรือจ่อตู้แอมป์ จ่อเครื่องดนตรีให้เหมาะสมนั้น มีความสำคัญอย่างยิ่ง เพราะถ้าเราเข้าใจอุปกรณ์ที่ใช้ ก็จะป้องกันการเกิดปัญหา เช่น เสียงไมค์หอน (Feedback) เสียงเครื่องดนตรีรั่วเข้าไมค์ร้อง เสียงร้องไม่ชัด เสียงเครื่องดนตรีบางเครื่องจม เป็นต้น การเลือกใช้ไมโครโฟนอย่างเหมาะสมยังมีส่วนทำให้งานออกมาสมบูรณ์แบบมากขึ้นอีกด้วย ที่สำคัญเมื่อเราเข้าใจอุปกรณ์ เข้าใจลักษณะงานของเรา เราจะได้ไม่ต้องลงทุนไปกับไมโครโฟนผิดประเภทนั่นเอง

ไมโครโฟนแบ่งประเภทตามหลักการทางไฟฟ้า ได้ 2 ประเภท

ไมโครโฟนแบบไดนามิก

dynamic microphone
ภาพประกอบจากเวปไซต์ daviddarling.info

ไมโครโฟนแบบไดนามิก (Dynamic Microphone)  ส่วนประกอบของไมโครโฟนชนิดนี้ จะมีลักษณะเป็นขดลวดพันยึดติดกับแผ่นไดอะแฟรม (Diaphragm)  ที่อยู่ตรงช่องว่างระหว่างแม่เหล็กถาวร หลักการทำงานคือ เมื่อมีคลื่นเสียงมากระทบแผ่นไดอะแฟรม (Diaphragm) จะเกิดการอัดและคลายตัวตามคลื่นเสียง ขดลวดที่ยึดติดกันก็เกิดเคลื่อนที่เข้าออกตามไปด้วย เกิดเป็นแรงดันไฟฟ้าที่ขดลวด ส่งผ่านไปยังภาคขยายเสียง

         ไดนามิกไมโครโฟนเป็นที่นิยมใช้มากเพราะสามารถรับเสียงในย่ายความถี่กว้าง ทั้งความถี่สูงและความถี่ต่ำได้ดี รับแรงกระแทกของเสียงได้ดี จึงใช้รับเสียงของเครื่องดนตรีที่มีแรงกระแทกเสียง เช่น เครื่องเพอคัสชั่น กลอง หน้าตู้แอมป์กีตาร์หรือเบส

          ไดนามิกไมโครโฟนมีรุ่นที่นิยมใช้ทั้งกับเสียงร้อง เช่น Shure SM58 , Sennheiser E835s และรุ่นที่นิยมใช้กับเครื่องดนตรี เช่น Shure Sm57 , Audix I5 , Sennheiser MD 421ii , Sennheiser e609 เป็นต้น

เลข 2

ไมโครโฟนแบบคอนเดนเซอร์

condenser microphone
ภาพประกอบจากเวปไซต์ daviddarling.info

คอนเดนเซอร์ (Condenser Microphone) ประกอบไปด้วย แผ่นรับเสียงไดอะเเฟรม (Diaphragm) ประกบกับแผ่นเพลท ทำหน้าที่เป็นเหมือนตัวเก็บประจุ เมื่อสัญญาณคลื่นเสียงตกกระทบกับแผ่นรับเสียงไดอะเเฟรม จะทำให้แผ่นรับเสียงไดอะเเฟรมสั่นสะเทือน ค่าความจุของตัวเก็บประจุก็จะเปลี่ยนแปลง เกิดเป็นสัญญาณไฟฟ้า แล้วส่งผ่านไปยังภาคขยายเสียง 

     ไมโครโฟนชนิดนี้จำเป็นจะต้องมีแหล่งจ่ายไฟเลี้ยงเพื่อให้ทำงานได้  มีความไวเสียงสูง เมื่อไหร่ก็ตามที่มีแรงมากระทบ ไม่ว่าจะเป็นเพียงการพูด การเคาะ เสียงหายใจ หรือแม้แต่การขยับเบา ๆ  ก็จะเกิดการสั่นสะเทือนขึ้น ตัวแผ่นโลหะจะสร้างคลื่นสัญญาณเสียงทันที ไม่เหมาะกับการจ่อเครื่องดนตรีที่มีเสียงกระแทกกระทั้น สามารถรับช่วงความถี่เสียงได้กว้างกว่าไมค์ไดนามิค ให้รายละเอียดเสียงที่ดีกว่า เหมาะสำหรับเครื่องดนตรีประเภทอคูสติก ส่วนใหญ่จะนิยมใช้งานในห้องหรือสตูดิโอ ข้อดีคือ เสียงที่ได้มีความชัดเจน เก็บรายละเอียดได้ดี สามารถใช้เป็นไมค์ที่ใช้เป็นเสียงร้อง งานสัมภาษณ์ Podcasting การบันทึกเสียงร้อง cover เพลง เล่นดนตรี กีต้าร์ เปียโน เป็นต้น

รูปแบบของการรับเสียงไมค์โครโฟน (Polar Patterns)

การทำความเขาใจเรื่องรูปแบบการรับเสียงของไมโครโฟน เป็นเรื่องที่จำเป็นอย่างยิ่ง เพราะจะช่วยให้เราสามารถเลือกใช้ไมโครโฟนได้อย่างเหมาะสมกับลักษณะของงาน การวางไมค์ถูกต้องตามลักษณะรูปแบบของการรับเสียง เพื่อให้คุณภาพของเสียงที่ดีที่สุด รูปแบบการรับเสียงของไมโครโฟนนั้น จะเป็นรูปแบบของการรับเสียง ว่าไมค์ตัวนั้นมีรูปแบบการรับเสียงจากด้านหน้า ทั้งสองด้าน หรือ รับเสียงได้โดยรอบ 

แบ่งตามทิศทางการรับเสียง สามารถแบ่งออก เป็น 3 รูปแบบ

คาร์ดิออยด์ (Cardioid)

คาร์ดิออยด์ (Cardioid) เป็นรูปแบบการรับสัญญาณที่นิยมใช้มากที่สุด  รัศมีการรับจะรับเสียงที่มาจากด้านหน้าส่วนใหญ่ เสียงที่มาจากด้านอื่น ๆ จะเข้าไปได้น้อยกว่าด้านหน้า และมีความสามารถในการลดเสียงรบกวนได้ดี เป็นรูปแบบการรับเสียงที่นิยมใช้งานในระบบเสียงกลางแจ้งและสตูดิโอมากที่สุด เหมาะกับงานคอนเสิร์ต , ห้องประชุม , งานอีเว้นท์ทั่วไป ตัวอย่างไมโครโฟนยอดนิยมที่มีทิศทางรับเสียงแบบคาร์ดิออยด์ เช่น Shure Sm81 , Sennheiser e 914 , Shure SM58

cardioid polar pattern
ภาพประกอบจากเวปไซต์ Virtuosocentral.com
  • ซูเปอร์คาร์ดิออยด์ (Super Cardioid) บริเวณรับเสียงจะแคบกว่าแบบคาร์ดิออยด์ ทำให้เสียงรบกวนน้อยลงกว่าเดิม แต่ไมโครโฟน ซูเปอร์คาร์ดิออยด์ จะสามารถรับเสียงจากด้านหลังไมโครโฟนได้ด้วย จึงต้องระมัดระวังในการใช้ไมโครโฟนในจุดที่มีลำโพงมอนิเตอร์ เหมาะสำหรับใช้ในสถานที่ที่เสียงดังมาก ๆ ตัวอย่างไมโครโฟนที่มีรูปแบบการรับเสียงแบบ ซูเปอร์คาร์ดิออยด์ เช่น Sennheiser E906 ,Telefunken M80 , Shure BETA58A
super cardioid polar pattern
ภาพประกอบจากเวปไซต์ Virtuosocentral.com
  • ไฮเปอร์คาร์ดิออย (Hyper Cardioid) รัศมีการรับจะคล้ายคาร์ดิออยด์ และซูเปอร์คาร์ดิออยด์ มุมการรับสัญญาณก็จะแคบลงกว่า มุมรับเสียงด้านหลังกว้างขึ้น แต่สัญญาณจะลดลง 6dB นิยมใช้ในการแสดงสดเพื่อจับเสียงเครื่องดนตรีที่ต้องการความเป็นอคูสติก , งานบันทึกเสียงในห้องสตูดิโอ , ใช้ในงานพูด และ ร้องเพลง
hyper cardioid polar pattern
ภาพประกอบจากเวปไซต์ Virtuosocentral.com
  • ช็อตกันไมโครโฟน (Shot Gun) มุมในการรับสัญญาณจะแคบมาก ๆ ใช้ในการเก็บเสียงในลักษณะชี้ไปหาเฉพาะจุดในทิศทางที่ต้องการรับเสียง นั่นคือ แหล่งต้นกำเนิดเสียง (Source) และยังสามารถรับเสียงในระยะที่ไกลได้อย่างชัดเจน โดยที่ตัดเสียงรบกวนจากด้านข้างได้ดีอีกด้วย เช่น ถ่ายทอดสดกีฬา , การแสดงละครเวที , บันทึกสาระคดีสัตว์ในป่า  เป็นต้น ตัวอย่างไมโครโฟนที่มีมุมการรับเสียงแบบช๊อตกัน เช่น Sennheiser MKE600 เป็นต้น
Shortgun Polar Patterns
ภาพประกอบจากเวปไซต์ isaacfmp.wordpress.com
เลข 2

ออมนิไดเรคชันนอล (Omnidirectional)

Omnidirectional Polarpatterns
ภาพประกอบจากเวปไซต์ isaacfmp.wordpress.com

ออมนิไดเรคชันนอล (Omnidirectional) รูปแบบการรับเสียงในแบบออมนิไดเรคชั่นแนล (Omni Directional) มีความสามารถในการรับเสียงได้ในแบบรอบทิศทาง ส่วนมากจะเป็นไมโครโฟนชนิดคอนเดนเซอร์ คือต้องใช้ไฟเลี้ยงในการทำงาน จึงรับเสียงได้ไว มีการตอบสนองย่านความถี่เสียงที่กว้างและชัดเจน เก็บรายละเอียดเสียงได้ดี ไม่ว่าแหล่งกำเนิดเสียงจะอยู่ทิศทางใดก็ตามทั้งเสียงหลัก เช่น เสียงพูด เสียงร้องเพลง หรือเสียงจากบรรยากาศโดยรอบ (Ambient sound) ให้ความเป็นธรรมชาติของเสียง มีข้อเสียคือ ไมโครโฟนมีโอกาสเกิดเสียงหอนได้ง่าย เหมาะกับเครื่องดนตรีประเภทเครื่องสาย เช่นไวโอลิน ไมค์ที่ใช้การใช้บันทึกเสียงสนทนา , ชุดไมค์ห้องประชุม , ชุดไมค์ระบบ Conference เป็นต้น ตัวอย่างไมโครโฟนสำหรับเครื่องดนตรีที่มีรูปแบบการรับเสียงแบบออมนิไดเรคชันนอล (Omnidirectional) เช่น JTS CX500 เป็นต้น

เลข 2

ไบไดเรชันนอล (Bidirectional)

Bidirectional Polarpatterns
ภาพประกอบจากเวปไซต์ isaacfmp.wordpress.com

ไบไดเรชันนอล (Bidirectional (figure-of-eigh polar pattern)) รูปแบบการรับเสียงในแบบไบไดเรคชั่นแนล (Bi-directional) คือ รูปแบบการรับเสียงที่สามารถรับเสียงทั้งด้านหน้าและด้านหลังของไมโครโฟนที่เท่ากันในระดับ 90 องศา และกว้าง 90 องศาเท่ากัน และกลับเฟส (Phase) กัน 180 องศา เสียงที่เข้ามาทางด้านข้างของไมโครโฟนจะถูกหักล้างออกหมด เหมาะกับการใช้ในสตูดิโอ เพื่องานบันทึกเสียง , การจ่อเครื่องดนตรี , ร้องเพลง และใช้ในการบันทึกเสียงร้องที่ต้องการรับเสียงร้องจากด้านหน้า และรับเสียงบรรยากาศจากทางด้านหลัง เป็นต้น

สรุป :

บทสรุปของบทความนี้คือ ไมโครโฟนแต่ละชนิดถูกออกแบบมาเพื่อการใช้งานที่ต่างกัน การศึกษาและทำความเข้าใจเรื่องไมโครโฟนจึงเป็นสำคัญ และถึงตอนนี้น่าจะพอเป็นไอเดียให้กับผู้อ่านได้บ้างแล้วใช่ไหมครับ ว่าเราจะใช้งานไมโครโฟนที่มีอย่างไรให้ได้ประสิทธิภาพสูงสุด หรือเราควรต้องลงทุนเพิ่มกับไมโครโฟนตัวไหนเพิ่ม เพื่อให้ตอบโจทย์การการทำงานของเราได้มากที่สุดนั่นเอง ขอให้โชคดี ปลอดโรคปลอดภัย งานไหลมาเทมาทุกท่านนะครับ

สินค้าที่เกี่ยวข้อง

Electro-Voice ND46 ไมโครโฟนสำหรับเครื่องดนตรี

8,300฿
ไมโครโฟน Dynamic รับเสียงแบบ  Supercardioid ตอบสนองความถี่ 70Hz-18kHz เหมาะสำหรับเสียงกลอง

AKG D5c ไมโครโฟนใช้สายสำหรับร้อง/พูด

4,590฿
ไมโครโฟนชนิด Dynamic รับเสียงแบบ Cardioid ตอบสนองความถี่ 20 Hz – 17 kHz เหมาะสำหรับใช้ร้องและพูด

SHURE BETA 58A-X ไมโครโฟนใช้สายสำหรับร้อง/พูด

6,990฿
ไมโครโฟนชนิดไดนามิค รับเสียงแบบซุปเปอร์คาร์ดิออย ตอบสนองความถี่ 50Hz-16kHz เหมาะกับใช้ร้องและพูด

SHURE PGADRUMKIT 7 ไมโครโฟนสำหรับกลองชุด

20,900฿
ไมโครโฟน Dynamic รับเสียงแบบ Cardioid ตอบสนองความถี่ PGA52: 50Hz-15kHz,PGA56: 50Hz-15kHz,PGA57: 70Hz-15kHz,PGA81: 40Hz-18kHz เหมาะสำหรับเสียงกลอง

SHURE SM58-LC ไมโครโฟนใช้สายสำหรับร้อง/พูด

4,390฿
ไมโครโฟนชนิด Dynamic รับเสียงแบบ Cardioid ตอบสนองความถี่ 50Hz-15kHz เหมาะสำหรับใช้ร้องและพูด

Electro-Voice ND86 ไมโครโฟนใช้สายสำหรับร้อง/พูด

9,700฿
ไมโครโฟนชนิด Dynamic รับเสียงแบบ Supercardioid ตอบสนองความถี่ 70 Hz – 17 kHz เหมาะสำหรับใช้ร้องและพูด

SENNHEISER E935 ไมโครโฟนใช้สายสำหรับร้อง/พูด

8,690฿
ไมโครโฟนชนิด Dynamic รับเสียงแบบ Cardioid ตอบสนองความถี่ 40 Hz – 18 kHz เหมาะสำหรับใช้ร้องและพูด

Electro-Voice ND66 ไมโครโฟนสำหรับเครื่องดนตรี

10,440฿
ไมโครโฟน Condenser รับเสียงแบบ  Cardioid ตอบสนองความถี่ 50Hz-20kHz เหมาะสำหรับใช้จ่อกีตาร์,เสียงกลอง,เครื่องเป่า

สอบถาม เกี่ยวกับสินค้าและการออกแบบติดตั้ง สามารถสอบถามได้ที่

    โทรศัพท์ 02-550-6340, 064-198-2499

    Line : @liveforsound

    Email : [email protected]

บทความโดย: อาทิตย์ พรหมทองมี

ทีมงาน LIVE FOR SOUND เราพร้อมให้คำปรึกษาทุกด้าน พร้อมรับตรวจเช็ค แก้ไขปัญหาระบบเสียงทุกรูปแบบ โดยทีมงานมืออาชีพ ที่มีประสบการณ์มากกว่า 15 ปี

สอบถามข้อมูลได้ทาง

author-avatar

About อาทิตย์ พรหมทองมี

ผู้ที่หลงไหลในระบบเสียงและชื่นชอบในการศึกษาประวัติศาสตร์เครื่องเสียงแต่ละแบรนด์