บทความ

ลำโพง Electro-Voice (EV) กับประวัติศาสตร์ที่ยาวนาน

บทความ ลำโพง Electro-Voice กับประวัติศาสตร์ที่ยาวนาน

การเดินทางอันยาวนานของ Electro-Voice

 บทความนี้ จะพาทุกท่านไปรู้จักกับ Electro-Voice แบรนด์ที่มีประวัติความเป็นยาวนานกว่า 90 ปี มีส่วนแบ่งในตลาดการขายผลิตภัณฑ์เกี่ยวกับเครื่องเสียงมากมายตั้งแต่ไมโครโฟน ไปจนถึงลำโพงกลางแจ้ง งานดนตรีสด งานประกาศ งานติดตั้ง ไปจนถึงงานสตูดิโอ ความมาเป็นอย่างไร เรามาเริ่มติดตามไปพร้อมกันเลยนะครับ

Al Kahn, Lou Burroughs และพนักงานของ Century Tyre & Rubber ที่หน้าโรงงานในตัวเมือง South Bend, c. พ.ศ. 2470 เบอร์โรห์อยู่ที่สามจากซ้าย และคาห์นอยู่ในอันดับที่ห้า สุภาพบุรุษอีกคนในชุดสูทมีแนวโน้มว่าจะเป็นเจ้าของ Century Tyre & Rubber ที่มา https://electrovoice.com

 ก้าวแรกของการเดินทางของ Electro-Voice เริ่มขึ้นเมื่อวันที่ 1 กันยายน ค.ศ.1927 อัล คาห์น (Al Kahn) และลู เบอร์โรห์ส(Lou Burroughs)ในวัยเพียงยี่สิบต้นๆ ได้ร่วมกันก่อตั้งบริษัทเล็กๆชื่อ Radio Engineers ขึ้นที่ชั้นใต้ดินของบริษัท Century Tyre and Rubber ในเมืองเซาท์เบนด์ รัฐอินเดียนา. เพิ่อให้บริการเครื่องรับวิทยุ บริษัทเจริญรุ่งเรืองและภายในหนึ่งปีเป็นร้านบริการวิทยุที่ใหญ่ที่สุดใน เซาท์เบนด์ รัฐอินเดียนา คาห์นเคยเล่าว่า “ผมกับเบอร์โรห์สเริ่มร่วมกันระดมสมองให้กับการแก้ปัญหา เต็มไปด้วยความตื่นเต้นและความสนุกสนานมากมาย” แต่ต่อมาเนื่องจากภาวะเศรษฐกิจตกต่ำครั้งใหญ่ พวกเขาพบว่าธุรกิจติดลบถึง 5,000 ดอลลาร์” (77,460 ดอลลาร์ในปัจจุบัน) เพื่อความอยู่รอด พวกเขาจึงตัดสินใจที่จะมุ่งเน้นธุรกิจของตนไปที่ผลิตภัณฑ์เครื่องเสียง และรับออกแบบระบบ PAรับติดตั้งและให้เช่าระบบเสียงประกาศสาธารณะสำหรับโบสถ์และอาคารสาธารณะอื่นๆ พวกเขาเริ่มผลิตไมโครโฟนเพื่อใช้ในระบบ PA ของพวกเขา เดิมทีไมโครโฟนผลิตขึ้นเพื่อการใช้งานของพวกเขาเท่านั้น แต่ภายในเวลาไม่กี่ปี ก็ผลิตไมโครโฟนเพื่อจำหน่ายให้กับผู้อื่นและได้กลายเป็นส่วนสำคัญของธุรกิจ

ในช่วงเดือนแรกๆ ของปี 1930 Knute Rockne โค้ชทีมฟุตบอลในตำนานของ University of Notre Dame ผู้ซึ่งมีปัญหาในการได้ยินในการฝึกซ้อมฟุตบอลเนื่องจากปัญหาสุขภาพที่ส่งผลต่อการได้ยินของเขา ทำให้เขาประสบความยากลำบากในการดูแลการฝึกซ้อม คาห์นและเบอร์โรห์สถูกขอให้ออกแบบระบบเสียงประกาศสาธารณะเพื่อแก้ปัญหา หอคอยขนาดใหญ่ถูกสร้างขึ้น โดยมองออกไปเห็นทั้งสี่สนาม และคู่หูผู้มากความสามารถได้ออกแบบระบบลำโพงสี่ตัวพร้อมไมโครโฟน ซึ่งทำให้ Knute Rockne สามารถออกคำสั่งการฝึกให้กับทั้งสี่ทีมได้ เขาเรียกระบบ PA ใหม่ว่า”electric voice” คำพูดของ Rockne เป็นแรงบันดาลใจให้ทั้งคู่ใช้เป็นชื่อใหม่บริษัทว่า “Electro-Voice” ต่อมาในปี 1933 เบอร์โรห์ส ได้ถอนตัวออกจากการเป็นหุ้นส่วนบริษัท คาห์นจึงกลายเป็นเจ้าของ Electro-Voice แต่เพียงผู้เดียว

หนึ่งปีหลังจากนั้นในปี ค.ศ 1934 Electro-Voice ได้สร้างความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีที่ทำให้พวกเขาได้เปรียบคู่แข่งมาก คือการที่คาห์นได้พัฒนาขดลวดฮัมบัคกิ้งไมโครโฟนตัวแรก ซึ่งคาห์นค้นพบโดยบังเอิญจากวิธีการออกแบบของเครื่องวัดวัตต์จากช่วงทศวรรษที่ 1890 และปรับแนวคิดเพื่อยกเลิกเสียงฮัมที่เกิดจากสัญญาณรบกวนแม่เหล็กไฟฟ้าในไมโครโฟน จึงเกิดไมโครโฟนรุ่นในตำนานคือ Electric voice V-1 velocity microphone ซึ่งถือเป็นก้าวสำคัญสำหรับอุตสาหกรรมของ Electro-Voice และต่อมาในปี 1935 คาห์น(Kahn) ยังได้พัฒนาวิธีการยืดไดนามิกไดอะแฟรมของไมโครโฟนก่อนการประกอบ ทำให้ลดขั้นตอนการผลิตลงได้มาก และส่งผลให้ราคาไมโครโฟนลดลงอย่างมาก ก่อให้เกิดความได้เปรียบทางการแข่งขันกับบริษัทคู่แข่ง
ในปี 1936 Electro-Voice ได้มีการจ้างพนักงานเพิ่มขึ้นถึง 20 คน และหนึ่งในนั้นคือ เบอร์โรห์ส(Burroughs)เขาได้กลับเข้ามาทำงานใน Electro-Voice อีกครั้งในตำแหน่งหัวหน้าวิศวะกร

Elector-Voice velocity microphones Models V-1, V-1A, V-2, V-2A, V-3, and V-4 ที่มา http://www.coutant.org/v1a/
Model 600 EV 63
ที่มา preservationsound.com

ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา Electro-Voice ได้แสดงให้เห็นว่า พวกเขาคือตัวจริงในธุรกิจการผลิตไมโครโฟนคุณภาพอันดับหนึ่ง โดยในปี 1938 บริษัท Electro-Voice ได้ออกแบบไมโครโฟนไดนามิกแบบใช้มือถือ(handheld microphone) หลายรุ่น โดย Model 600 ได้รับการอธิบายไว้ในเอกสารผลิตภัณฑ์ EV ว่า โมเดลนี้มีความคมชัดสูง เหมาะกับงานพูด หรืองานประกาศ ที่เน้นความต้องการความคมชัดของเสียง

 

ช่วงเริ่มต้นของสงครามโลกครั้งที่สอง ปี 1942 กองทัพต้องไมโครโฟนที่ใช้สำหรับการสื่อสารทางวิทยุในสถานการณ์การต่อสู้ Electro-Voice พัฒนาไมโครโฟนตัดเสียงรบกวน ซึ่งใช้การออกแบบไมโครโฟนที่เลื่อนเฟส 180 องศาเพื่อตัดเสียงรบกวนรอบข้างและออกแบบให้ติดกับหมวกกันกระสุนและพักบนริมฝีปาก ไมโครโฟนที่ขนานนามว่า Electro-Voice T45 เพื่อใช้เป็นเครื่องมือในการสื่อสารทางวิทยุของทหารบกและเครื่องบินทิ้งระเบิด รถถัง เรือรบ และทหารภาคพื้นดิน Electro-Voice ออกใบอนุญาตให้รัฐบาลใช้สิทธิบัตรฟรีสำหรับให้ผู้ผลิตรายอื่นสามารถผลิตเพื่อใช้ในช่วงสภาวะสงครามได้ความต้องการใช้ไมโครโฟนตัดเสียงรบกวนของกองทัพมีมากจน Electro-Voice ต้องเพิ่มการผลิตด้วยการจ้างพนักงานเพิ่มขึ้นเป็น 500 คน มีการผลิตสูงสุดต่อวันอยู่ที่ 2,500 ตัว รวมๆตลอดระยะช่วงนั้นมีการผลิต Electro-Voice T45 รวมเกือบ 1 ล้านตัว

Electro-Voice T45
ที่มา pa3esy.nl

ในปี 1946 Electro-Voice ได้ย้ายไปยังสถานที่ที่มีพื้นที่ใหญ่ขึ้นในเมืองบูคานัน รัฐมิชิแกน ซึ่งต่อมาได้ขยายตัวอีกหลายครั้ง ในช่วงเวลาเดียวกันนี้เอง เบอร์โรห์ส (Burroughs) ได้พัฒนา Acoustalloy ซึ่งเป็นพลาสติกสังเคราะห์ที่ใช้กับไดอะแฟรมอะลูมิเนียมที่ใช้ในไมโครโฟนไดนามิกในขณะนั้น ส่งผลให้คุณภาพเสียงดีขึ้น และแทนที่จะเปิดเผยสูตรสังเคราะห์ของ Acoustalloy ในสิทธิบัตร มันกลับถูกเก็บไว้เป็นความลับทางการค้า และจากความพยายามพัฒนานวัตกรรมใหม่ๆอย่างสม่ำเสมอ ในปี 1948 พวกเขาเริ่มประสบความสำเร็จในการผลิตตลับแผ่นเสียง และในปี 1950 พวกเขาเริ่มผลิตบูสเตอร์ทีวีอัตโนมัติเครื่องแรก และยังเริ่มออกแบบและผลิตสายลำโพง เพื่อตอบสนองความต้องการของสาธารณชนในการฟังเพลง Hi-Fi ที่เพิ่มขึ้น และเริ่มผลิตลำโพงไฮไฟสำหรับใช้ในบ้าน กลายเป็นหนึ่งในซัพพลายเออร์รายใหญ่ที่สุดในสหรัฐอเมริกาอย่างรวดเร็ว ปลายทศวรรษ 1950 – 1970 ไมโครโฟน Electro-Voice เป็นส่วนประกอบสำคัญของการบินในอวกาศ ทั้งไมโครโฟนและลำโพงใช้งานบนสถานีอวกาศ Skylab ตลอดระยะเวลา 6 ปีของวงโคจร ซึ่งทำงานโดยไม่มีข้อผิดพลาด

Compound Diffraction Horn
ที่มา worthpoint.com

ต่อมาในปี 1952 Electro-Voice ก็ได้จดสิทธิบัตร Compound Diffraction Horn ซึ่งเป็น horn ที่เปลี่ยนรูปลักษณ์และประสิทธิภาพของแตร จากแตรรูปกรวยแบบดั้งเดิม ซึ่งเหมาะในการใช้งานกับสภาพแวดล้อมที่มีเสียงรบกวนสูงได้ดี จนกองทัพเรือก็ได้ใช้อุปกรณ์นี้กับเรือบรรทุกเครื่องบิน. ค.ศ. 1953 การนำเทคโนโลยีไมโครโฟน Variable-D มาใช้ ช่วยในการลดเอฟเฟกต์ระยะใกล้ หรือจัดการเปลี่ยนแปลงของโทนเสียงและการตอบสนองความถี่ที่สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงในระยะห่างระหว่างแหล่งกำเนิดเสียงและไมโครโฟน

       ปี 1959 Electro-Voice ได้เปิดตัว วูฟเฟอร์ขนาด 30 นิ้ว รุ่น 30W ซึ่งใช้ในลำโพงไฮไฟภายในบ้าน คือ Patrician Series และต้นปี 1960: เปิดตัว EV 643 “monster mic” ความยาวหกฟุต ซึ่งมันประสบความสำเร็จอย่างสูงในการเก็บเสียงที่อยู่ห่างไกล และกลายเป็นมาตรฐานในงานแถลงข่าวของประธานาธิบดี การประชุมทางการเมือง และการแข่งขันกีฬาที่ไมโครโฟนทั่วไปไม่สามารถจัดการกับปัญหาเรื่องระยะทางได้
Electro-Voice เปิดตัวไมโครโฟน RE Series ในปี 1960 โดยเฉพาะอย่างยิ่ง RE15 ซึ่งได้รับความนิยมในหมู่นักดนตรีและใช้กันอย่างแพร่หลาย ซีรีส์ RE ใช้เทคโนโลยี “Variable D” ที่พัฒนามาตั้งแต่ปี 1953 นั่นเอง อีก 3 ปีต่อมา Electro-Voice ได้รับรางวัล Academy Awards ประจำปี 1963 จากการพัฒนาไมโครโฟนรุ่น 642 Cardiline ซึ่งเป็นไมโครโฟนระยะไกล แบบมีสายไดนามิกที่มีทิศทางสูง… สามารถรับเสียงได้ในสถานการณ์ที่ไม่สามารถวางไมโครโฟนไว้ใกล้กับแหล่งกำเนิดเสียงและป้องกันเสียงรบกวนรอบข้างได้ อีกหนึ่งการเติบโตครั้งสำคัญเกิดขึ้น

EV 643monster mic
ที่มา wavreport.com

ในปี1965 Electro-Voice สร้างและเปิดโรงงานผลิตใหม่สองแห่งในรัฐเทนเนสซี แห่งหนึ่งในเซเวียร์วิลล์และอีกแห่งในนิวพอร์ต และมีการสร้างห้องแอนโชอิกใหม่ ที่ใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งในสหรัฐอเมริกา ที่โรงงานบูคานัน และด้วยการเติบโตทางธุรกิจที่มียอดขายรวมประจำปีที่ใกล้ถึง 20 ล้านเหรียญสหรัฐจึงทำให้บริษัทยักษ์ใหญ่ในขณะนั้นคือ Gulton Industries ได้เข้าซื้อกิจการของ Electro-Voice ในปี 1966
        ปี ค.ศ. 1968: ไมโครโฟน RE20 ที่ใช้เทคโนโลยี “Variable D” ถูกนำมาใช้ จนกลายเป็นมาตรฐานอย่างรวดเร็วในสตูดิโอและรายการออกอากาศ หรือแม้แต่ในสตูดิโอบันทึกเสียงและบนเวทีคอนเสิร์ต Electro-Voice ยังเป็นผู้บุกเบิกการใช้เทคโนโลยีเลเซอร์ เพื่อศึกษาการเคลื่อนที่ของไดอะแฟรมไมโครโฟน มาตั้งแต่ต้นปี 1970 และในปลายปีนี้เอง Electro-Voice เข้าซื้อกิจการ TAPCO ซึ่งเป็นบริษัทที่ก่อตั้งโดย Greg Mackie และเชี่ยวชาญด้านการพัฒนาผลิตภัณฑ์อิเล็กทรอนิกส์สำหรับเครื่องเสียงระดับโปร โดยเฉพาะมิกเซอร์ และในปี 1972 ก็กลายเป็นบริษัทรายแรกที่รวมพารามิเตอร์ Thiele-Small ไว้ในแผ่นข้อมูลจำเพาะของวูฟเฟอร์ เพื่อกำหนดลักษณะตู้และการตอบสนองความถี่ของผู้ใช้

ขวาไปซ้าย EV microphone models 664, 666, RE15 and RE20
ที่มา electrovoice.com

 ในปี 1973 Electro-Voice พัฒนาเทคโนโลยีฮอร์น “constant directivity” (CD) เพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพและการควบคุมความถี่สูงอย่างมาก และในปี 1974  ก็ได้เปิดตัว 100S Entertainer ซึ่งเป็นระบบลำโพงแบบพกพาที่ทำจากพลาสติกซึ่งได้รับความนิยมอย่างมาก อีกสี่ปีต่อมา Electro-Voice ได้จดสิทธิบัตร อีกครั้งสำหรับนวัตกรรม Constant Directivity Horn ซึ่งสามารถสร้างความถี่ที่สมดุล มันเอาชนะการกระจายความถี่สูงที่ไม่สม่ำเสมอซึ่งส่งผลต่อฮอร์นความถี่สูงทั่วไปที่ใช้ในลำโพงเสียงระดับมืออาชีพจำนวนมากจนถึงช่วงปลายทศวรรษที่ 1970

Constant Directivity Horn
ที่มา ampslab.com
Manifold
Manifold ลำโพงแบบหลายไดรเวอร์
ที่มา flickr.com

       ปี 1985 Electro-Voice ได้เปิดตัว EastVAMP ซึ่งเป็นโปรแกรมเทคนิคกราฟิกที่มีความแม่นยำสูงในการกำหนดความครอบคลุมของลำโพง พร้อมให้บริการแก่ลูกค้า และต่อมา ในปี 1986 Electro-Voice ก็ เปิดตัวการใช้โครงสร้างแม่เหล็กแบบนีโอไดเมียม (N/DYM) ในการออกแบบไมโครโฟน เป็นการรวมเอาเอาท์พุตสูงและลักษณะการตอบสนองความถี่สูงของไมโครโฟนคอนเดนเซอร์เข้ากับการต้านทานการกระแทกที่ทนทานของไมโครโฟนไดนามิก ส่งผลให้มีการตอบสนองความถี่ที่เพิ่มขึ้นและกำลังขับที่เพิ่มขึ้น แนวคิดนี้ได้รับการทำซ้ำอย่างรวดเร็วโดยผู้ผลิตรายอื่น
การปลี่ยนครั้งใหญ่เกิดขึ้นในปี1986 เมื่อ Mark IV Industries เข้าซื้อกิจการ Gulton Industries ซึ่งก็จะเป็นการรวมถึง Electro-Voice, Altec Lansing, University Sound, Cetec Vega และผู้ผลิตชั้นนำอื่นๆ แต่บริษัทเหล่านี้ก็ได้เรียกว่ากลุ่ม Mark IV Audio

       ปี 1987 Electro-Voice เปิดตัวเทคโนโลยี Manifold – ลำโพงแบบหลายไดรเวอร์– พบได้ในลำโพงคอนเสิร์ต ซีรี่ย์ MT-4 ของบริษัท ซึ่งนวัตกรรมนี้เองได้ช่วยให้บริษัทเข้าสู่ตลาดทัวร์คอนเสิร์ต อีกหนึ่งปีต่อมา Electro-Voice เปิดศูนย์วิจัยและพัฒนาแห่งใหม่ขนาด 28,000 ตารางฟุตที่ตั้งอยู่ในเมืองบูคานัน สิ่งอำนวยวามสะดวกรองรับ CAD, โฮโลแกรม, การวิเคราะห์ด้วยเลเซอร์, การทดสอบ Fast Fourier (FFT), การทดสอบความถี่และอีกมากมาย

ปี 1990 เปิดตัวระบบลำโพง DeltaMax ที่ควบคุมด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ และ Electro-Voice ร่วมกับ Altec Lansing ร่วมกันเปิดตัวซอฟต์แวร์สร้างแบบจำลองห้อง AcoustaCADD ซึ่งเป็นเครื่องมือออกแบบระบบที่ได้รับความนิยมในสมัยนั้น ต่อมาในปี 1992 ได้เปิดตัว MH Series horn ลำโพงระบบสองทางที่ติดตั้งเสียงกลางและแหลมแบบโคแอกเชียล และเพื่อเข้าแข่งขันในตลาดเครื่องเสียงคอนเสิร์ตแบบจิงจัง Electro-Voice ได้เปิดตัวชุดลำโพงสำหรับคอนเสิร์ต X-Array ในปี 1997 ซึ่งติดตั้งด้วยเทคโนโลยี Ring Mode Decoupling (RMD) ซีรีส์นี้เปิดตัวในทัวร์สนาม “Bridges To Babylon” ของโรลลิงสโตนส์ และเทคโนโลยี่ RMD นี้ ได้กลายเป็นส่วนสำคัญของลำโพงระดับไฮเอนด์ของ Electro-Voice ที่การใช้ดนตรีสดและติดตั้ง

electro-voice-x-array-xf
X-Array
ที่มา manualslib.com

และจากปี 1997 เป็นต้นมา ได้เกิดความเปลี่ยนครั้งใหญ่ของบริษัทเกิดขึ้นหลายครั้ง เช่น การเข้าซื้อกิจการ Mark IV Audio ในปี 1997 โดย Greenwich Street Capital Partners ซึ่งเป็นกองทุนเพื่อการลงทุนในนิวยอร์ก ซึ่งปัจจุบันรวมถึงผู้ผลิตชั้นนำ เช่น Klark Teknik, DDA และ midas ต่อมา Electro-Voice ถูกรวมเข้ากับ Telex Communications ในปี 1999 -2001 ซึ่งเป็นบริษัทในเครือของ Greenwich ในส่วนของการเงิน, การบัญชี, การขายและการตลาดถูกโอนไปยังสำนักงานใหญ่ของ Telex ในเมืองเบิร์นสวิลล์ รัฐมินนิโซตา ส่วนการผลิตยังคงดำเนินต่อไปในบูคานัน (Buchanan) รัฐมิชิแกน โดยมีพนักงานประมาณ 170 คน ต่อมาในปี 2006 Electro-Voic และ Telex Communications ถูกซื้อกิจการโดย Robert Bosch GmbH (Bosch) กลายเป็นส่วนหนึ่งของแผนก Bosch Security Systems ซึ่งมีสำนักงานใหญ่อยู่ที่โรงงาน Burnsville ส่วนโรงงานผลิต Electro-Voice ในบูคานัน รัฐมิชิแกน ก็ได้ปิดตัวลงในที่สุด

Electro-voice ETX Series
ที่มา products.electrovoice.com

ปัจจุบัน Electro-Voice ยังคงให้บริการผลิตภัณฑ์และเครื่องเสียงสำหรับดนตรีสดรวมทั้งตลาดการติดตั้งด้วยกลุ่มผลิตภัณฑ์ลำโพง ไมโครโฟน และอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ และยังมีผลิตภัณฑ์ใหม่ๆออกมาทำการตลาดอย่างสม่ำเสมอ ไม่ว่าจะเป็นลำโพงแบบติดตั้ง(Install Sound Systems) เช่น รุ่น EV-EVID-S5.2X หรือรุ่น EV EVID 4.2 เป็นต้น ลำโพงรุ่นพกพาแบบมีแอมป์ในตัว portable loudspeaker ซึ่งมีชุดเริ่มต้นตั้งแต่ซีรีย์ ZLX ไปจนถึงประสิทธิภาพมาตรฐานและเทคโนโลยีขั้นสูงขึ้นอีกคือซีรี่ย์ ETX และลำโพงคอลั่ม ซีรี่ย์ EVOLVE ที่มีขุมพลังแบบจัดเต็มในขนาดที่กระทัดรัด ลำโพงสำหรับงานแสดงดนตรีสด Live Sound Systems เช่นรุ่นX1 และ X2 Lime Array , XLC 3 way compact Line array , XLD Line array,XLE-2 way Line array ไปจนถึง MXF ลำโพงมอนิเตอร์แบบโคแอกเชียล รวมถึงผลิตภัณฑ์ลำดับแรกๆอย่างไมโครโฟน ไม่ว่าจะเป็นสำหรับดนตรีสด สตูดิโอบันทึกเสียง หรือออกอากาศ ไมโครโฟน Electro‑Voice ให้เสียงที่ยอดเยี่ยมเสมอ ตัวอย่างเช่น ไมค์สำหรับร้องเพลง RE ซีรี่ย์ ( RE520,RE420) PL ซีรีย์ (PL-80a , PL80c) ND series เช่นND76,ND86,ND96 ไมค์จัดรายการทีวี. WIRED BROADCAST MICROPHONES เช่น Electro-Voice RE20 , RE 27N/D เป็นต้น ไมค์สำหรับร้องเครื่องดนตรี เช่น ND 68 ND66 PL33 PL35 เป็นต้น ไมค์สำหรับงานประชมและงานติดตั้ง Wired install miccrophone เช่า RE 920, RE 92H เป็นต้น และด้วยความหลากหลายในผลิตภัณฑ์และการรักษามาตฐานของผลิตภัณฑ์ Electro-Voice จึงยังคงได้รับความต้อนรับจากผู้ใช้งานอย่างดีเสมอมา

EVOLVE SERIES
ที่มา products.electrovoice.com
ND SERIES
ที่มา Audiotechnology.com

สรุป :

ทีนี้เพื่อน ๆ คงได้รู้จักประวัติของแบรนด์ Electro–Voice กันแล้วใช่ไหมครับว่ากว่าจะมาเป็นแบรนด์ผลิตภัณฑ์เกี่ยวกับเครื่องเสียงอันดับต้น ๆ ได้ต้องผ่านอะไรมาบ้าง Electro-Voice ก็เรียกได้ว่าเป็นอีกหนึ่งแบรนด์ที่ประสบความสำเร็จอย่างมากเลยล่ะครับ

สอบถาม เกี่ยวกับสินค้าและการออกแบบติดตั้ง สามารถสอบถามได้ที่

    โทรศัพท์ 02-550-6340, 064-198-2499

    Line : @liveforsound

    Email : [email protected]

บทความโดย: อาทิตย์ พรหมทองมี

ทีมงาน LIVE FOR SOUND เราพร้อมให้คำปรึกษาทุกด้าน พร้อมรับตรวจเช็ค แก้ไขปัญหาระบบเสียงทุกรูปแบบ โดยทีมงานมืออาชีพ ที่มีประสบการณ์มากกว่า 15 ปี

บทความอ้างอิง

สอบถามข้อมูลได้ทาง

author-avatar

About อาทิตย์ พรหมทองมี

ผู้ที่หลงไหลในระบบเสียงและชื่นชอบในการศึกษาประวัติศาสตร์เครื่องเสียงแต่ละแบรนด์