เครื่องเสียงกลางแจ้ง เครื่องเสียงPA ราคาถูก เครื่องเสียงห้องประชุม เครื่องเสียงกลางแจ้งราคาถูก ซื้อขายเครื่องเสียงกลางแจ้ง เครื่องเสียงกลางแจ้งชุดเล็กสำหรับร้านอาหารผับบาร์ จัดชุดเครื่องเสียงกลางแจ้ง ร้านขายเครื่องเสียงกลางแจ้งรามอินทรา มิกเซอร์ดิจิตอล มิกเซอร์อนาล็อก ตู้ลำโพงกลางแจ้ง ตู้ลำโพงไลน์อาเรย์ ตู้ลำโพงคอลัมน์ เครื่องขยายเสียง เพาเวอร์มิกเซอร์ สเตจบ๊อก ตู้ลำโพงขาตั้ง ลำโพงมีแอมป์ในตัว ลำโพงเวที เพาเวอร์แอมป์ คอมเพรสเซอร์ น๊อยซ์เกท เครื่องควบคุมลำโพง เอฟเฟค ไมโครโฟนสำหรับงานกลางแจ้ง ไมโครโฟนเครื่องดนตรี ไมโครโฟนชนิดใช้สาย ไมโครโฟนสำหรับกลอง ไมโครโฟนไร้สาย ดิจิทัลมิกเซอร์ ตู้ลำโพงเสียงกลาง ตู้ลำโพงเสียงต่ำ ตู้ลำโพงเสียงแหลม
รู้จักระบบเครื่องเสียงกลางแจ้ง
ระบบเครื่องเสียงกลางแจ้งหรือที่เรามักเรียกกันติดปากว่า เครื่องเสียง PA นั้น เป็นอุปกรณ์เครื่องวเสียงที่ใช้สำหรับขยายเสียงในพื้นที่กลางแจ้ง รวมไปถึงในพื้นที่ปิดอย่างเช่นห้องประชุมหรือหอประชุมต่าง ๆ เอาไว้ใช้สำหรับรองรับงานประชุมสัมมนา งานบันเทิงรื่นเริงต่าง ๆ ทั้งการเปิดเพลงรวมไปถึงรองรับการเล่นดนตรีสด
ระบบเครื่องเสียงกลางแจ้ง หรือถ้าจะเรียกเป็นทางการก็คือ Professional Sound System (โปรเฟสชั่นนอลซาวด์ซิสเต็ม) นั้น ผู้ใช้งานต้องมีความรู้ความเข้าใจเรื่องของการทำระบบเป็นอย่างดี ไม่ว่าจะเป็นระบบเครื่องเสียงกลางแจ้งขนาดเล็ก หรือระบบเครื่องเสียงกลางแจ้งขนาดใหญ่ ล้วนต้องใช้ความรู้ความสามารถของบุคลากรทั้งสิ้น เพราะจุดประสงค์ในการทำระบบเสียงกลางแจ้งคือ การขยายเสียงต้นฉบับให้ดังขึ้นและครอบคลุมพื้นที่ และความดังเสียงต้องมีความใกล้เคียงกันทั้งระยะใกล้และระยะไกล
อุปกรณ์ในระบบเครื่องเสียงกลางแจ้งนั้นมีอะไรบ้าง และแต่ละอุปกรณ์นั้นทำหน้าที่แตกต่างกันอย่างไร
ไมโครโฟน(Microphone)
ไมโครโฟนมีหน้าที่รับสัญญาณเสียงแล้วเปลี่ยนจากพลังเสียงเป็นพลังงานไฟฟ้า เพื่อป้อนเข้าสู่ระบบขยายเสียง โดยใช้กับเสียงพูด เสียงร้อง เสียงเครื่องดนตรีชนิดต่าง ๆ ไมโครโฟนมีด้วยกัน 2 ชนิดคือ ไดนามิคไมโครโฟน(Dynamic Microphone) กับ คอนเดนเซอร์ไมโครโฟน(Condenser Microphone)
โดยไมโครโฟนทั้ง 2 ชนิดนี้มีความต่างกันที่ด้านโครงสร้างของไมโครโฟน โดยไดนามิคไมค์นั้นมีขดลวดพันรอบแม่เหล็ก ซึ่งขดลวดก็จะมีแผ่นไดอะแฟรมติดอยู่ เมื่อมีเสียงเข้ามา ก็จะเกิดการสั่นสะเทือน ขดลวดก็จะขยับขึ้นลง จนสร้างกระแสไฟฟ้าออกมา
ส่วนไมโครโฟนที่เป็นชนิดคอนเดนเซอร์นั้น จะมีวงจรอิเล็กทรอนิกส์ และจำเป็นต้องใช้ไฟ Phantom 48V. ในการให้วงจรทำงานและเปลี่ยนสัญญาณเสียงให้เป็นสัญญาณไฟฟ้า
ไมโครโฟนสำหรับใช้งานกลางแจ้งนั้นมีทั้งแบบไมโครโฟนที่มีสาย กับไมโครโฟนไร้สายหรือที่เราเรียกกันว่าไมค์ลอย สำหรับการเลือกใช้งานนั้นขึ้นอยู่กับความต้องการของผู้ใช้เป็นหลัก
มิกเซอร์(Mixer)
แปลง่ายๆคือเครื่องผสมสัญญาณเสียง มีให้เลือกใช้งานทั้งแบบอนาล็อกและดิจิตอล เรื่องราคานั้นมีตั้งแต่ราคาถูกแค่หลักพัน ไปจนถึงราคาหลักหลายล้านบาท การเลือกใช้งานขึ้นอยู่กับจำนวนช่องสัญญาณที่ต้องการ หรือจะใช้เป็นเพาเวอร์มิกเซอร์ก็ถือว่าสะดวก เพราะมีเครื่องขยายเสียงในตัว ต่อใช้งานง่ายไม่ยุ่งยาก
มิกเซอร์ที่นิยมใช้กันได้แก่ Yamaha, Midas, Allen&Heath, Soundcraft, Mackie, Digico, Behringer, Zoom, Dynacord, SSL, Neve
โปรเซสเซอร์(Processor)
คืออุปกรณ์ที่ไว้สำหรับประมวลผลสัญญาณเสียงก่อนส่งออกไปลำโพง หรืออุปกรณ์ปรุงแต่งสัญญาณเสียงสำหรับผสมเสียง อุปกรณ์ในจำพวกโปรเซสเซอร์นั้นแบ่งออกได้ดังนี้
1.อุปกรณ์ปรุงแต่งเสียงได้แก่ คอมเพรสเซอร์(Compressor) เกท(Gate) ลิมิเตอร์(Limiter) มีไว้สำหรับปรับแต่งสัญญาณเสียงต่าง ๆ หรือควบคุมความดังเสียงไม่ให้เกินความดังที่ต้องการ หรือตัดความถี่เสียงบางความถี่ออกไป
2.เครื่องควบคุมลำโพง หรือ Speaker Controller เป็นอุปกรณ์ไว้สำหรับควบคุมลำโพง มีการตั้งค่าต่าง ๆ จากโรงงานเพื่อใช้สำหรับลำโพงรุ่นและยี่ห้อนั้น ๆ โดยจะมี Crossover(ครอสโอเวอร์) มี EQ(อีคิว) ไว้สำหรับปรับแต่งความถี่เสียง และ Delay(ดีเลย์) เพื่อหน่วงสัญญาณเสียง บางครั้งจะเรียกติดปากว่า DriverRack
เพาเวอร์แอมป์(Power Amplifier)
เป็นอุปกรณ์ไว้สำหรับขยายสัญญาณเสียงให้มีความแรงมากพอก่อนป้อนเข้าสู่ลำโพง แน่นอนว่าเมื่อมีการขยายสัญญาณให้ใหญ่ขึ้น ก็ใช้ไฟฟ้ามากขึ้นและก็จะมีความร้อนสะสมตามมามากขึ้นอีกด้วย จึงเป็นอุปกรณ์ระบบเสียงตัวหนึ่งที่ทำงานหนัก การเลือกใช้กำลังวัตต์เพาเวอร์แอมป์นั้น ขึ้นอยู่กับลำโพงเป็นหลัก
เทคโนโลยีของเพาเวอร์แอมป์นั้นมีให้เลือกใช้งานหลายคลาส ดังนี้
คลาส เอ (A Class) มีคุณภาพเสียงที่ดีมาก ๆ ความผิดเพี้ยนของเสียงน้อย แต่มีกำลังขยายต่ำ เพราะแก่การฟังเพลง ไม่เหมาะกับนำมาใช้กลางแจ้งที่ต้องการความดังสูง
คลาส บี (B Class) หลักการทำงานโดยใช้ทรานซิสเตอร์ช่วยกันทำงาน 2 ตัว ให้กำลังขยายสูงแต่ก็มีความร้อนและความเพี้ยนสูงเช่นกัน
คลาส เอบี (AB Class) ถือได้ว่าได้รับความนิยมสูงสุดในระบบเครื่องเสียงกลางแจ้ง ให้กำลังขยายที่สูง ความเพี้ยนน้อย ความร้อนน้อยกว่าคลาส บี ใช้ได้กับลำโพงทุกประเภท ไม่ว่าจะเป็นลำโพงเสียงต่ำซับวูฟเฟอร์หรือลำโพงเสียงแหลม
คลาส ดี (D Class) เป็นเพาเวอร์แอมป์ที่ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพให้กำลังขยายสูง ความร้อนต่ำ มีประสิทธิภาพสูงกว่าคลาส เอบี แต่จะทำงานได้ดีกับลำโพงเสียงต่ำ
คลาส อี (E Class) ถือได้ว่าเป็นเพาเวอร์แอมป์ที่ออกแบบวงจรได้ดีมาก ให้ประสิทธิภาพสูง ใช้หลักการสวิทซ์ชิ่ง เพื่อให้มีกระแสไฟฟ้าไหลผ่านแบบอ่อนๆ ใช้สำหรับกระตุ้นการทำงานของภาคขยายสัญญาณ ไว้สำหรับลดความเพี้ยน
คลาส จี (G Class) เป็นการออกแบบเพาเวอร์แอมป์ให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้นไปอีก โดยวงจรมีความซับซ้อน ให้คุณภาพเทียบเท่าคลาส เอบี คลาส ดี และ คลาส ที
คลาส เฮช (H Class) ภาคขยายเป็นแบบคลาส AB แต่มีความร้อนน้อยกว่า มีการเพิ่มภาคจ่ายไฟเข้ามาเพื่อที่จะสามารถรับแรงดันเพิ่มขึ้นได้
คลาส เอส (S Class) มีการทำงานแบบ Switching ที่ทำงานเปิด/ปิด ตลอดเวลา เป็นที่มาของแอมป์แบบคลาส D
คลาส ที (T Class) เป็นแอมป์ที่พัฒนาเพื่อลดจุดด้อยของคลาส D ในเรื่องของการตอบสนองของย่านความถี่สูง แอมป์แบบคลาส T จึงใช้ได้ทั้งลำโพงเสียงต่ำและลำโพงเสียงสูง และมีประสิทธิภาพสูงกว่าคลาส AB
ลำโพง(Speaker)
เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่แปลงพลังงานไฟฟ้าให้เป็นพลังงานเสียง การเลือกอุปกรณ์ระบบเสียงกลางแจ้ง ควรให้ความสำคัญกับการเลือกซื้อลำโพงเป็นลำดับแรกๆ ควรเลือกลำโพงที่มีประสิทธิภาพสูงให้ความดังตามที่ต้องการใช้งาน และมีมุมกระจายเสียงที่ครอบคลุมพื้นที่ทั้งหมดที่ต้องการ
ชนิดของลำโพงที่ใช้งานสำหรับเครื่องเสียงกลางแจ้งนั้นแบ่งออกได้ดังนี้
1.ตู้ลำโพงพ้อยท์ซอส (Point Source Speaker) เป็นลำโพงตู้ทั่วไปที่เราเห็นกัน มีมุมกระจายเสียงที่กว้าง สามารถครอบคลุมพื้นที่ได้ดี ให้ความดังที่พอดีต่อความต้องการ เหมาะกับพื้นที่ขนาดเล็กไปจนถึงขนาดกลาง มีให้เลือกทั้งแบบมีแอมป์ในตัวและแบบไม่มีแอมป์ในตัว ราคาไม่แพงมาก เพมาะกับงานพูดงานดนตรีขนาดไม่ใหญ่มาก ไม่เหมาะกับห้องที่มีเสียงสะท้อนสูง เนื่องจากควบคุมการกระจายตัวของเสียงได้ไม่ดีพอ
2.ตู้ลำโพงคอลัมน์ (Column Speaker) เป็นลำโพงที่ออกแบบมาเพื่อให้การควบคุมการกระจายเสียงได้ดียิ่งขึ้น ตู้มีลักษณะเป็นแท่งยาว ภายในมีลำโพงวางเรียงกันเป็นแนวตั้ง ให้ความดังที่ไม่สูงมาก เหมาะกับห้องขนาดเล็กและขนาดกลางที่มีความก้องของเสียงสะท้อนสูง
3.ลำโพงไลน์อาเรย์ (Line Array Speaker) เป็นลำโพงที่ออกแบบมาให้มีมุมกระจายเสียงในแนวตั้งที่แคบ เพื่อให้สามารถต่อลำโพงในแนวตั้งให้ยาวเพิ่มขึ้น โดยไม่เกิดการแทรกสอดกันของเสียงจนเกิดการหักล้างกันของเสียง เพราะกับการใช้งานในพื้นที่ขนาดกลางไปจนถึงขนาดใหญ่ คนที่ใช้ลำโพงไลน์อาเรย์นั้นต้องมีความรู้และความเชี่ยวชาญในการออกแบบระบบเสียงมากพอสมควร และลำโพงไลน์อาเรย์นั้นยิ่งต่อกันยาวมากเท่าไหร่จะยิ่งควบคุมการกระจายเสียงได้ดียิ่งขึ้นเท่านั้น