โปรเซสเซอร์ DSP เอฟเฟค พรีไมค์ เครื่องควบคุมลำโพง ไดรเวอร์แร็ก ทุกรุ่น ใช้งานได้กับลำโพงทุกยี่ห้อ
Signal processors คืออะไร และมีกี่ประเภท?
Signal processors คือ อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่ออกแบบเพื่อ ประมวลผลสัญญาณเสียง ควบคุมหรือเปลี่ยนสัญญาณเสียงในทางใดทางหนึ่งเพื่อปรับปรุงเสียงตามความต้องการของผู้ใช้งาน ไม่ว่าจะเป็นการเพิ่มหรือลด การบีบอัด คัดออก การแยกความถี่ การผสมผสานกันของโทนเสียง ความดัง เบา เป็นต้น
โปรเซสเซอร์ประเภทใดที่เหมาะกับคุณนั้น ขึ้นอยู่กับว่าคุณต้องการควบคุมการปรับแต่งเสียงเพลงของคุณมากน้อยเพียงใด จริงๆแล้วอุปกรณ์มิกเวอร์ึคอนโซลส่วนใหญ่ มีความสามารถในการจัดการกับเสียง มากพอสมควรแล้ว(โดยเฉพาะในดิจิตอลมิกเซอร์) แต่หากความต้องการของคุณมิกเซอร์ไม่สามรถตอบสนองได้ Signal processors ก็จะเป็นอีกทางเลือกที่ดีสำหรับคุณ
นอกจากเครื่องมือจัดการความถี่หรือระดับสัญญาณแบบที่กล่าวมาข้างต้น โปรเซสเซอร์สัญญาณ Outboard มักจะมีความสามารถด้านเอฟเฟกต์ที่หลากหลาย ช่วยเพิ่มทางเลือกสำหรับการเติมจินตนาการของคุณเข้าไปในการมิกซ์เสียงได้เป็นอย่างดี
ประเภทของ Signal processors
Equalizers (EQ)
เป็นทางเลือกที่ดี หากคุณต้องการควบคุมโทนเสียงที่มากไปกว่า สูง กลาง และต่ำของ EQ แบบมาตรฐาน ที่มีมาในมิกเซอร์ อีควอไลเซอร์กราฟิกภายนอกโดดเด่นด้วยการนำเสนอการควบคุมความถี่เสียงได้ถึง 31 แบนด์ ทำให้ได้การปรับโทนเสียงที่ละเอียดกว่าและมีรายละเอียดมากขึ้น อีควอไลเซอร์ (EQ) ใช้ปรับแต่งอะไรได้บ้าง
- โทนเสียงของเครื่องดนตรีแต่ละแบบ การใช้อีควอไลเซอร์ที่ละเอียดกว่าจะทำให้การปรับโทนเสียงของไมโครโฟนแต่ละตัวหรือช่องเครื่องดนตรีเพื่อให้เสียงดีที่สุด
- โทนเสียงของลำโพง PA เพื่อชดเชยปัญหาเสียงที่เกิดจากสภาพแวดล้อมทางเสียงในห้องหรือสถานที่จัดงาน
- ใช้ควบคุมการส่งมอนิเตอร์บนเวที การควบคุมความถี่แยกแบบละเอียดช่วยให้คุณ สามารถลดความถี่ที่ล้นออกมา หรือจัดการความถี่ที่ไม่จำเป็นเพื่อป้องกันเสียงฟี้ดแบ็ค
Equalizers (EQ) มี 2 ประเภท คือ
1.Parametric EQ
อีควอไลเซอร์แบบพาราเมตริกช่วยให้คุณสามารถปรับพารามิเตอร์ทั้งสามของอีควอไลเซอร์ของแต่ละแบนด์ได้สะดวกยิ่งขึ้น คุณสามารถเลือกความถี่ของโน้ตที่ต้องการปรับ สามารถปรับความกว้างหรือแคบของความกว้างของความถี่ที่ปรับได้ (หรือที่เรียกว่าค่า "Q") สามารถบูสต์ขึ้นหรือคัทลง เพื่อเพิ่มเสียงที่ต้องการหรือขจัดเสียงรบกวนที่เฉพาะเจาะจงได้
2.Graphic EQ
เป็นลักษณะของก้านความถี่ที่จัดเรียงกันแสดงให้คุณเห็นเป็นภาพกราฟิกที่ตำแหน่งบนแผงด้านหน้า กราฟิคอีควอไลเซอร์โดยทั่วไปมตั้งแต่รุ่น 15 แบนด์ไปจนถึง 31 แบนด์ คุณสามารถใช้เพื่อปรับแต่ง PA หรือระบบมอนิเตอร์ได้ ด้วยความละเอียดของของอีควอไลเซอร์ 31 แบนด์ช่วยให้คุณสามารถแก้ปัญหาได้โดยไม่กระทบกับเสียงที่เหลือ
Dynamic processors
โปรเซสเซอร์ไดนามิก สามารถใช้ได้ทั้งเพื่อควบคุมความดังและความเบา ใช้บีบอัดสัญญาณ ชดเชยระดับสัญญาณ เพื่อให้ได้คาแร็คเตอร์ของเครื่องดนตรี หรือแม้กระทั่งใช้เพื่อป้องกันความเสียหายที่จะเกิดขึ้นในระบบได้ โดยประเภทของ Dynamic processors มีดังนี้คือ
Limiters ลิมิตเตอร์
ทำหน้าที่เหมือนตัวควบคุมระดับเสียงอัตโนมัติ เพื่อไม่ให้ระดับสัญญาณขาเข้าไม่มากเกินระดับเกณฑ์ที่ตั้งไว้ ไม่ว่าสัญญาณอินพุตที่ผ่านเข้ามาจะเกินขีดจำกัดขนาดไหน สัญญาณเอาต์พุตจะยังคงอยู่ที่ระดับที่เราตั้งไว้ ใช้สำหรับการปกป้องลำโพง PA โดย Limiters จะใช้เพื่อควมคุมสามส่วน คือ
- ควบคุม “threshold" ซึ่งบอกตัว จำกัด ว่าระดับอินพุตใดที่จะมีผล
- ควบคุม “attack" ที่ปรับความเร็วของลิมิตเตอร์
- และควบคุม “release" เพื่อปรับระยะเวลาที่จะเปิดหลังจากที่สัญญาณต่ำกว่าระดับเกณฑ์แล้ว
โดยในส่วนของการปรับค่าต่างๆจะเป็นธรรมชาติขนาดไหนก็ขึ้นอยู่กับความเข้าใจ และประสบการณ์ของผู้ใช้งานเป็นสำคัญ
Compressors คอมเพรสเซอร์
ใช้สำหรับควบคุมอัตราส่วนในการบีบอัดที่อุปกรณ์จะออกแรงเหนือสัญญาณ เพื่อควบคุมระดับของสัญญาณขาเข้า โดยจะควบคุมและปล่อยระดับสัญญาณเป็นแบบอัตราส่วน เช่น
- threshold ตั้งค่าระดับอินพุตใดที่จะมีผล
- Ratio ตั้งค่าอัตราส่วนการบีบอัดสัญญาณต่อ 1 ส่วน เช่น 2, 2.5,3,3.5
- attack ที่ปรับความเร็วของลิมิตเตอร์
- release เพื่อปรับระยะเวลาที่จะปล่อยสัญญาณที่ถูกบีบอัด
นอกจากนั้นยังมีคุณสมบัติอื่นในคอมเพรสเซอร์/ลิมิตเตอร์ที่อาจมีประโยชน์กับคุณ เช่น "Ducker" คือ การตั้งค่าไมโครโฟนให้ปิดโดยอัตโนมัติ เพลงเมื่อดีเจพูด หรือฟังก์ชัน "de-essing" แบบพิเศษที่ใช้ EQ ใน sidechain ของคอมเพรสเซอร์เพื่อค้นหาและกำจัด sibilance ความถี่สูงที่ไม่ต้องการได้
Noise Gates and Expanders
ทำหน้าที่คล้ายกับคอมเพรสเซอร์/ลิมิตเตอร์ คือควบคุมระดับเสียงอัตโนมัติเพื่อลดสัญญาณรบกวน
- เมื่อใช้ Noise Gateไมโครโฟนจะถูกปิดโดยสมบูรณ์จนกว่าสัญญาณจะถึงเกณฑ์ จากนั้นประตูเสียงจะเปิด
- เมื่อใช้ตัวExpanders ไมโครโฟนจะเริ่มปิดบางส่วน แต่ไม่ปิดจนสุด จนกว่าจะถึงเกณฑ์ จากนั้นไมค์ก็เปิดเต็มที่
ประโยชน์ของNoise Gates และ Expanders คือใช้ควบคุมเสียงไมโครโฟนในงาน live sound ที่มีหลายตัว ช่วยลดเสียงไมโครโฟนลงโดยอัตโนมัติเมื่อนักร้องไม่ได้ร้องเพลง เพื่อไม่ให้เสียงกลองผ่านไมโครโฟนนั้น เป็นต้น
Multi-effects processors โปรเซสเซอร์มัลติเอฟเฟกต์
เป็น processors ในส่วนของการเพิ่มสีสันในระบบเสียงโดยทั่วไปประเภทของเอฟเฟกต์จะมีดังนี้ คือ
1.Reverb
เป็น processors ที่สร้างเสียงที่เลียนแบบเสียงก้องกังวานของห้อง โดยเลียนแบบขนาดและพื้นที่สะท้อนเสียงที่แตกต่างกัน มีทั้งสำหรับปรับแต่งสำหรับกลองหรือเสียงร้อง โดยทั่วไปแล้ว โปรเซสเซอร์มัลติเอฟเฟกต์จะเสนอการเลือกรีเวิร์บแบบต่างๆ และสามารถควบคุมค่าบาง
อย่างได้ เช่น ปรับเปลี่ยนจังหวะ , หางเสียง ค่าการสะท้อน หรือตัวแปรอื่นๆ ของเอฟเฟกต์แต่ละอย่างได้
2.Delay
ดีเลย์ดิจิตอลจะสร้างเสียงที่ซ้ำๆกันเหมือนเสียงต้นฉบับ และเล่นเป็นเสียงสะท้อน คุณสามารถตั้งค่าการหน่วงเวลาได้ สามารถจัดการเสียงสะท้อนนั้นให้ทำซ้ำด้วยการค่อยๆ ลดลงได้ สามารถทำให้เกิดเสียงแบบ"Slap back”ได้ ช่วยสร้างสันสันและความเหนือชั้นให้กับผู้ใช้งานที่มีความชำนาญในการใช้เป็นอย่างดี
DSP หรือ Digital Signal Processing (การประมวลสัญญาณด้วยรูปแบบดิจิตอล)
ถูกพัฒนาขึ้นมาเพื่อเป็นอุปกรณ์ในการปรับแต่งคุณลักษณะของเสียง ผ่านกระบวนการแปลงสัญญาณอะนาล็อกเป็นดิจิทัล (Analog-to-Digital Conversion – ADC) ซึ่งประกอบด้วยการสุ่มตัวอย่างและการควอนไทซ์ (quantization) ให้อยู่ในรูปดิจิตอลก่อนที่จะทำการประมวลผลต่อไป dsp แต่ละตัวจะมีเครื่องมือในการปรับแต่งพื้นฐานที่คล้ายๆกันดังต่อไปนี้
ฟังก์ชั่นเพิ่มหรือลดสัญญาณขาเข้า/ขาออก หรือ Channel Gain / Output Level
เป็นฟังก์ชั่นที่ใช้เพื่อควบคุมระดับสัญญาฯขาเข้าและขาออก เพื่อบาลานซ์ “ความดัง” ของลำโพงแต่ละย่านเสียงให้มีระดับความดังที่เหมาะสมกัน
เครื่องปรับแยกความถี่เสียง หรือ Crossover
DSP ทำหน้าที่กรองความถี่เสียง โดยเราสามารถเลือกจุดตัด และการกำหนดความชันได้ ส่วนจำนวนช่อง อินและเอ้าท์ก็ขึ้นอยู่กับการออกแบบของ DSP แต่ละรุ่น โดยส่วนใหญ่มักจะเป็น 2 Input 6 Outpurt รับสัญญาณเสียงจากมิกเซอร์ 2 Input อีก 6 Output แยกเป็นความถี่ต่างๆ ส่งต่อไปยังเครื่องขยายเสียงหรือลำโพงแอคทีฟ
เครื่องปรับแต่งความถี่เสียง หรือ Equalizer
ทำหน้าที่ภาคปรับแต่งย่านความถี่เสียงที่ขาด หรือเกิน ด้วยวิธีบูสและคัด ทั้ง กราฟฟิคอีคิว และพารามิติคอีคิว หลังจากที่เราทำการตัดแบ่งความถี่ที่ภาคอิเลคทรอนิคส์ครอสโอเวอร์แล้ว โดยใน DSP ส่วนใหญ่จะมีย่านความถี่ (Band) ให้เลือกปรับได้มากถึง 30 Band
เครื่องควมคุมระดับสัญญาณเสียง (Compressor/ Expander/ Gate/ limiter)
ใช้เพื่อควบคุมระดับของสัญญาณ ไม่ให้ดังหรือเบาไปกว่าที่เรากำหนด ประกอบไปด้วย Compressor/ Expander เครื่องมือที่ใช้สำหรับบีบอัดสัญญาณ ทำให้เกิดความกระชับของเสียง, Gate เครื่องมืที่ใช้จัดการกับเสียงรบกวน และ limiter เครื่องที่ใช้กำหนดและควบคุมระดับสัญญาณ
เครื่องหน่วยเวลาสัญญาณเสียง (Delay) หรือ Time Alignment
ใช้เพื่อหน่วงระยะเวลาการเดินทางของเสียง เพื่อแก้ปัญหาเรื่อง “ความยาว” ของคลื่นเสียงที่เดินทางจากลำโพงแต่ละย่านที่มีค่าความถี่ต่างกัน ความยาวคลื่นต่างกัน ให้เดินทางมาถึงหูผู้ฟังพร้อมกัน มีหน่วยจะเป็นมิลลิเส็ค (Anti-Feedback Suppressor)
ฟังก์ชั่นขจัดสัญญาณการหวีดหอนหรือ Feedback Suppression ซึ่งเป็นเครื่องมือที่ช่วยขจัดเสียงหอน (Feedback) ช่วยป้องกันความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นในระบบได้
จุดเด่นของ DSP หรือ Digital Signal Processing
- สะดวกในการพกพา เพราะพก DSP เพียงเครื่องเดียวก็ใช้งานได้ โดยไม่ต้องใช้อุปกรณ์ปรับแต่งเพิ่ม
- ให้เสียงที่ดี DSP โพรเซสเซอร์หลายแบรนด์ในปัจจุบันมีการพัฒนาเรื่องเสียงขึ้นมาก สามารถปรับโทนเสียงได้ตามความต้องการของผู้ใช้งาน
- สามารถตั้งค่าต่างๆ กำหนดจุดตัดความถี่ ปรับแต่ง และ Time Alignment ได้เอง
- ประหยัดงบประมาณได้มาก จากการที่ไม่ต้องซื้ออุปกรณ์ปรับเสียงหลายตัวแยกกันเช่น ปรีแอมป์ อีคิว ครอส ไทม์ดีเลย์ คอนเวิร์ทเตอร์ ดีทูเอ และอื่นๆ