รู้จัก คลื่นเสียง (Sound Wave) มีลักษณะอย่างไร

บทความ รู้จัก คลื่นเสียง (Sound Wave) มีลักษณะอย่างไร

               การทำระบบเสียงนั้น นอกจากจะต้องเรียนรู้เรื่องของการใช้งานอุปกรณ์แล้ว เราจำเป็นต้องเรียนรู้ทฤษฎี ซึ่งอุปกรณ์ระบบเสียงทุกชิ้น สร้างขึ้นเพื่อให้ตอบโจทย์ในการทำงาน โดยอุปกรณ์ทุกตัวต้องยึดตามหลักทฤษฎี และทฤษฎีหลักในทางฟิสิกส์ที่มาใช้กับระบบเสียงนั้น ก็คือทฤษฎีเรื่อง คลื่น ก่อนที่จะไปใช้งานอุปกรณ์ในระบบเสียงต่าง ๆ นั้น เราจำเป็นต้องเรียนรู้ทฤษฎีของคลื่นให้เข้าใจกันก่อน

คลื่น (Wave)

                เรามักจะคุ้นคำว่า “คลื่น” จากคลื่นบนผิวน้ำ เหมือนน้ำทะเลที่มีคลื่นขึ้นลงมากระทบที่ชายหาด เป็นอย่างนี้ไปเรื่อย ๆ แต่คำว่า “คลื่น” นั้น ไม่ได้มีแค่คลื่นน้ำอย่างเดียว แสงที่เรามองเห็นก็เป็นคลื่น เสียงที่เราได้ยินก็เป็นคลื่น การดีดเส้นลวดก็เป็นคลื่น ภาษาอังกฤษคือ Wave (เวฟ) เรามาทำความเข้าใจคำว่าคลื่นกัน

                คลื่น หมายถึง การเคลื่อนที่ของพลังงาน โดยคลื่นสามารถเคลื่อนที่ผ่านตัวกลาง เช่น อากาศ เหล็ก หรือน้ำ และไม่ผ่านตัวกลางก็สามารถเคลื่อนที่ได้ เช่น ในสภาวะสุญญากาศ

คลื่น (Wave)

                เราสามาถแบ่งประเภทของคลื่นได้ 2 แบบ คือ คลื่นที่ต้องผ่านตัวกลาง กับ คลื่นที่ไม่ต้องผ่านตัวกลาง

คลื่นกล เป็นคลื่นที่ต้องมีตัวกลางในการเคลื่อนที่ ตัวกลางที่ว่าได้แก่ ของแข็ง ของเหลว ก๊าซ คลื่นที่อยู่ในรูปแบบคลื่นกล ได้แก่ คลื่นน้ำ คลื่นเสียง คลื่นอัลตร้าซาวด์ เป็นต้น

คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า เป็นคลื่นที่ไม่จำเป็นต้องมีตัวกลางในการเคลื่อนที่ อยู่ในสภาวะสุญญากาศก็สามารถเคลื่อนที่ได้ และก็ยังสามารถเคลื่อนที่ผ่านตัวกลางได้อีกด้วย (ยกเว้นโลหะ) ได้แก่คลื่น โทรศัพท์, คลื่น WIFI, แสงอาทิตย์, แสงหลอดไฟ, คลื่นวิทยุ, รังสีเอกซ์เรย์ เป็นต้น คลื่นทั้งหมดนี้ใช้เวลาในการเคลื่อนที่เท่ากัน

                ประเภทของคลื่น นอกจากจะแบ่งตามตัวกลางในการเคลื่อนที่ คือ คลื่นกล และ คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าแล้ว คลื่นยังสามารถแบ่งประเภทได้อีก 2 ประเภท ตามทิศที่ตัวกลางเคลื่อนที่ คือ คลื่นตามขวาง และคลื่นตามยาว

คลื่นตามขวาง คืออนุภาคที่เคลื่อนที่กลับไปกลับมาในแนวตั้งฉาก ได้แก่ คลื่นน้ำ คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า ก็เป็นคลื่นตามขวางด้วย เพราะทิศของสนามแม่เหล็กไฟฟ้าและสนามไฟฟ้านั้นตั้งฉากกับการเคลื่อนที่ของคลื่น

คลื่นตามขวาง

คลื่นตามยาว คืออนุภาคที่เคลื่อนที่กลับไปกลับมาในแนวเดียวกับการเคลื่อนที่ ได้แก่ คลื่นเสียง เป็นต้น

คลื่นตามยาว

ธรรมชาติของเสียง (Nature of Sound)

                คลื่นเสียง มีลักษณะเป็นคลื่นตามยาว ไม่เหมือนคลื่นน้ำที่เป็นคลื่นตามขวาง คลื่นเสียงที่เราได้ยินนั้น เป็นคลื่นกลที่เกิดจากการสั่นสะเทือนของวัตถุ เมื่อวัตถุสั่นสะเทือน โมเลกุลที่อยู่โดยรอบ ก็จะเคลื่อนที่จากตำแหน่งเดิมไปหาโมเลกุลที่อยู่ตำแหน่งถัดไป โดยโมเลกุลที่เคลื่อนที่ออกไปแล้วจะเคลื่อนที่กลับมายังตำแหน่งเดิม และมีการถ่ายโอนพลังงานแบบนี้ไปเรื่อย ๆ เกิดการอัดตัวและขยายตัว

คลื่นเสียง (Sound Wave)

 ทำให้เกิดคลื่นที่ถูกส่งผ่านตัวกลาง เช่น อากาศ ไปยังหูให้เราได้ยิน เสียงสามารถเดินทางผ่านสสารในสถานะก๊าซ ของเหลว และของแข็งได้ แต่ไม่สามารถเดินทางผ่านสุญญากาศได้ อย่างเช่น ในอวกาศไม่สามารถส่งเสียงสื่อสารกันได้ เพราะอยู่ในสภาวะสุญญากาศ การสื่อสารในสภาวะสุญญากาศนั้น จำเป็นต้องใช้คลื่นที่เรียกว่า คลื่นวิทยุ ซึ่งอยู่ในรูปแบบของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า ซึ่งคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้านี้เคลื่อนที่ได้เร็วมาก หากเปรียบเป็นรถก็คือรถซุปเปอร์คาร์ที่อัตราเร่งสูงสุด และคลื่นเสียงก็คือหอยทากที่กำลังคืบคลานด้วยความเร็วสูงสุดเช่นกัน

แหล่งอ้างอิง

https://en.wikipedia.org/wiki/Sound

ความรู้เรื่องเสียง มีผลอย่างมากในการทำงานของ SOUND ENGINEER เพราะเป็นพื้นฐานในการแก้ปัญหาต่างๆเกี่ยวกับเสียง เช่น เสียงไมค์หวีดหอน สามารถอ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับเสียงหวีดหอนได้ที่นี่

ใครที่สนใจอยากทำอาชีพด้าน SOUND ENGINEER สามารถเข้าไปดูรายละเอียดเพิ่มเติมตามหลักสูตรเหล่านี้ได้เลย

หรืออ่านบทความเพิ่มเติมเกี่ยวกัน SOUND ENGINEER เช่น

หรือสนใจสอบถาม คอร์สเรียนและหลักสูตรต่าง ๆ สามารถสอบถามได้ที่

     โทรศัพท์ 02-550-6340, 064-198-2499

      Line : @liveforsound

      Email : [email protected]

บทความโดย: ทรงพล แจ่มแจ้ง (SOUND ENGINEER)

รับติดตั้งระบบเสียง ห้องประชุม ร้านอาหาร ผับบาร์ ห้องคาราโอเกะ ห้องจัดเลี้ยง ระบบเสียงสนามกีฬา ระบบเสียงร้านกาแฟ สามารถปรึกษาทางทีมงาน LIVE FOR SOUND ได้ พร้อมรับตรวจเช็ค แก้ไขปัญหาระบบเสียงทุกรูปแบบ โดยทีมงานมืออาชีพ ที่มีประสบการณ์มากกว่า 15 ปี

สอบถามข้อมูลการเรียนได้ทาง