System gain structure เบื้องต้น ตอนที่ 1
หลาย ๆ ท่านคงจะพอทราบอยู่เเล้วว่าอุปกรณ์ระบบเสียงที่ใช้กันจะเริ่มต้นจากการรับสัญญาณที่ต้องการ ไม่ว่าจะเป็นเสียงพูด เสียงเครื่องดนตรี เสียงเพลง เเล้วส่งไปขยายออกตู้ลำโพง ให้ได้ความดังที่ต้องการ โดยระหว่างทางก่อนที่เสียงจะถูกขยายส่งออกไปยังตู้ลำโพง ก็จะเต็มไปด้วยอุปกรณ์มากมายทั้ง มิกเซอร์ คอนโทลเลอร์ เพาเวอร์เเอมป์ ซึ่งในเเต่ละอุปกรณ์ ต่างมีระดับการทำงานสูงสุดเเละต่ำสุดที่เเตกต่างกันออกไป ทำให้เป็นที่มาของการเซตอัพระบบเเละอุปกรณ์เพื่อให้ได้สัญญาณที่ดีที่สุดเเละไม่ทำให้เกิดความเสียหายกับระบบเสียง สิ่งที่พูดมาทั้งหมดนี้เราเรียกว่า System gain structure(ซิสเต็ม เกน สตรั้กเชอ) นั่นเอง
จากรูประดับสัญญาณที่เข้ามาในระบบเสียงจะเเบ่งเป็น 3 ส่วน คือ
- Signal to noise ratio(ซิ้กเนิล ทู น๊อยซ์ เร้ชิโอ) หมายถึง ระดับสัญญาณตั้งเเต่ Noise floor ( น๊อย ฟลอร์ คือ ระดับของสัญญาณรบกวนในอุปกรณ์นั้น ๆ ) ไปจนถึง 0dB ซึ่งในการเซตอัพเเละนำไปใช้เเต่ละครั้งระดับสัญญาณจะต้องไม่อยู่ในระดับที่ต่ำกว่า Noise floor เพื่อให้ได้สัญญาณเสียงที่ดีเเละมีความคมชัดสามารถนำไปขยายเพื่อใช้งานได้
- Head room (เฮด รูม) หมายถึง ระดับสัญญาณตั้งเเต่ 0dB ไปจนถึงระดับการทำงานสูงสุดในอุปกรณ์นั้นๆ พึงจะทำได้ ซึ่งถ้าทำงานในระดับที่สูงกว่าอาจทำให้ได้สัญญาณที่ผิดเพี้ยนจากสัญญาณเดิมได้ (Clip) ทำให้เกิดเสียง Distortion ขึ้นมาในระบบเสียง ตลอดจนอาจสร้างความเสียงหายกับระบบเสียงได้นั่นเอง
- Dynamic range (ไดนามิค เร็นจ) หมายถึงระดับสัญญาณตั้งเเต่ Noise floor จนถึง Head room ของระบบ ซึ่งในระบบที่เกิดการเซตอัพมาอย่างถูกต้อง จะทำให้มีช่วง Dynamic range ที่สูง นั่นคือช่วงของระดับของสัญญาณที่ดี โดยปราศจาก Noise เเละ Distortion หรือ เสียงแตกพร่า ในระบบเสียงนั่นเอง
ในการเซตอัพเเต่ละครั้งเต็มไปด้วยอุปกรณ์ระบบเสียงมากมายที่ต่อพ่วงกันในระบบ โดยเเต่ละอุปกรณ์ต่างมีระดับสัญญาณที่ต่างกันการจัดการระบบจึงเป็นสิ่งจำเป็นที่ต้องทำเพื่อให้ได้สัญญาณที่ดีตั้งเเต่จากอุปกรณ์รับสัญญาณไปจนถึงอุปกรณ์ส่งสัญญาณ ซึ่งจะกล่าวในตอนต่อไปครับ
บทความโดย – เอกพัฒน์ มั่นคง
Share this post
Share on facebook
Share on print
Share on email