บทความ

เลือก DSP แบบไหน ให้โดนใจคนทำเครื่องเสียง

เลือก DSP แบบไหน ให้โดนใจคนทำเครื่องเสียง

DSP คืออะไร

       ในปัจจุบันนี้เราจะได้ยินว่า DSP ในงานเกี่ยวกับระบบเสียงกันอยู่บ่อย ๆ หลายท่านอาจจะรู้จักกันเป็นอย่างดีพอสมควรแล้ว แต่สำหรับมือใหม่หรือคนที่เพิ่งเริ่มสนใจในระบบเสียงอาจจะยังไม่รู้ว่า DSP คืออะไร และเกี่ยวข้องหรือสำคัญอย่างไรในระบบเสียง บทความนี้มีคำตอบครับ

       อันดับแรกก่อนจะกล่าวถึง DSP จะขอเล่าถึงความหมายและองค์ประกอบของเสียงกันก่อนนะครับ โดย เสียง คือ สิ่งที่หูมนุษย์เราสามารถรับรู้ได้ ที่เกิดขึ้นจากจุดกำเนิดเสียง เดินทางผ่านอากาศ เข้ามาจนถึงหูของมนุษย์ ซึ่งสิ่งที่หูได้ยินนั้น จะมีหลากหลายความถี่ และมีระดับความดังที่แตกต่างกันไป โดยองค์ประกอบของเสียงมีดังต่อไปนี้ คือ

1. ความถี่เสียง หรือ Frequency

       คือสิ่งที่ทำให้หูของมนุษย์รับรู้ถึงระดับของเสียง ประกอบไปด้วย ย่านความถี่สูง ย่านความถี่กลาง และย่านความถี่ต่ำ

2. ความยาวคลื่น หรือ Wavelength

       คือระยะห่างระหว่างยอดคลื่นจากยอดคลื่นหนึ่งไปยังอีกยอดคลื่นหนึ่ง
โดยค่าที่ได้จะมีหน่วยเป็น เมตร

3. ระดับความดังของเสียง หรือ Amplitude

       คือสิ่งที่แสดงถึงความดังเบาของเสียง มีหน่วยเป็นเดซิเบล

       ทั้งหมดที่กล่าวมาจะมาอธิบายถึงการสร้างตัวประมวลผลสัญญาณ หรือ Digital Signal Processing เรียกย่อ ๆ ว่า DSP

DSP

       DSP ย่อมาจาก Digital Signal Processing (การประมวลสัญญาณด้วยรูปแบบดิจิตอล) ถูกพัฒนาขึ้นมาเพื่อเป็นอุปกรณ์ในการปรับแต่งคุณลักษณะของเสียงจากที่กล่าวมาก่อนหน้านี้ โดยมีจุดประสงค์คือเพื่อให้ได้เสียงที่ดีทีสุด ผ่านกระบวนการแปลงสัญญาณอะนาล็อกเป็นดิจิตอล (Analog-to-Digital Conversion – ADC) หรือการดิจิไทซ์ (digitization) ซึ่งประกอบด้วยการสุ่มตัวอย่างและการควอนไทซ์ (quantization) ให้อยู่ในรูปดิจิตอลก่อนที่จะทำการประมวลผลต่อไป ตัวเครื่องมักถูกออกแบบให้มีขนาดกะทัดรัดติดตั้งได้ง่าย และมีความอิสระในด้านการปรับแต่งเสียง ซึ่ง DSP แต่ละตัวจะมีเครื่องมือในการปรับแต่ง แตกต่างกันออกไปตามความสามารถของ ฮาร์ดแวร์ ความเร็ว และ อัลกอริทึ่ม ที่แตกต่างกัน แต่โดยส่วนมากจะมีเครื่องมือพื้นฐานที่คล้าย ๆ กันดังต่อไปนี้

Channel Gain / Output Level

       1. ฟังก์ชั่นเพิ่มหรือลดสัญญาณขาเข้า/ขาออก หรือ Channel Gain / Output Level เป็นฟังก์ชั่นที่ใช้เพื่อควบคุมระดับสัญญาณขาเข้าและขาออก เพื่อบาลานซ์ “ความดัง” ของลำโพงแต่ละย่านเสียงให้มีระดับความดังที่เหมาะสมกัน

Crossover

       2. เครื่องปรับแยกความถี่เสียง หรือ Crossover เครื่องปรับแยกความถี่เสียงหรืออิเลคทรอนิคส์ครอสโอเวอร์ เป็นฟังก์หลัก ๆ ของ DSP ทำหน้าที่กรองความถี่เสียง กำหนดค่าความถี่ให้กับลำโพง เพื่อให้ลำโพงสามารถทำงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ โดยในการตั้งค่าเราสามารถเลือกจุดตัดและการกำหนดความชันได้ ส่วนจำนวนช่องอินและเอ้าท์ก็ขึ้นอยู่กับการออกแบบของ DSP แต่ละรุ่น โดยส่วนใหญ่มักจะเป็น 2 Input 6 Outpurt รับสัญญาณเสียงจากมิกเซอร์ 2 Input อีก 6 Output แยกเป็นความถี่ต่าง ๆ ส่งต่อไปยังเครื่องขยายเสียงหรือลำโพงแอคทีฟ

Equalizer (EQ)

       3. เครื่องปรับแต่งความถี่เสียง หรือ Equalizer (EQ) ทำหน้าที่ภาคปรับแต่งย่านความถี่เสียงที่ขาดหรือเกิน ด้วยวิธีบูสและคัด ทั้งกราฟฟิคอีคิวและพารามิติคอีคิว หลังจากที่เราทำการตัดแบ่งความถี่ที่ภาคอิเลคทรอนิคส์ครอสโอเวอร์แล้ว ซึ่งแต่ละยี่ห้อจะให้มาแตกต่างกันหรือเท่ากันอยู่กับการออกแบบ แต่ใน DSP ที่มีโปรแกรมปรับจูนเสียงที่ละเอียด จะมีย่านความถี่ (Band) ให้เลือกปรับได้มากถึง 30 Band ซึ่งฟังก์ชั่นอิควอไลเซอร์นี้จะช่วยแก้ไขปัญหาเรื่องความถี่ เพื่อให้ได้รายละเอียดเสียงที่เหมาะสม ตามการจัดการของผู้ใช้งาน

Compressor/ Expander/ Gate/ limiter

       4. เครื่องควมคุมระดับสัญญาณเสียง (Compressor/ Expander/ Gate/ limiter) ฟังก์ชั่นในส่วนนี้ จะมีไว้เพื่อควบคุมระดับของสัญญาณ ไม่ให้ดังหรือเบาไปกว่าที่เรากำหนด ประกอบไปด้วย เครื่องมือที่ใช้สำหรับบีบอัดสัญญาณ ทำให้เกิดความกระชับของเสียง Compressor/ Expander เครื่องมือที่ใช้จัดการกับเสียงรบกวน Noise Gate ไปจนถึงเครื่องมือที่ใช้กำหนดและควบคุมระดับสัญญาณอย่าง limiter (ลิมิเตอร์) ซึ่งผู้ใช้งานจำเป็นจะต้องศึกษาและฝึกฝนเพื่อให้เกิดความชำนาญในการใช้งานเครื่องมือแต่ละประเภทอย่างเหมาะสม

Time Alignment

       5. เครื่องหน่วงเวลาสัญญาณเสียง (Delay) หรือ Time Alignment หรือ Time Correction ฟังก์ชั่น Delay หรือ Time Alignment คือ ระบบหน่วงระยะเวลาการเดินทางของเสียง ออกแบบมาเพื่อใช้แก้ปัญหาเรื่องของคลื่นเสียงที่เดินทางจากลำโพงแต่ละใบ ที่มีค่าความถี่เหมือนกันแต่เดินทางมาไม่พร้อมกัน ตัว Delay (ดีเลย์) ทำให้เสียงจากลำโพงแต่ละใบเดินทางมาถึงหูผู้ฟังพร้อมกัน มีหน่วยจะเป็นมิลลิเส็ค ช่วยให้ระบบมีความสมบูรณ์ เมื่อแต่ละความถี่สมดุลกัน ก็จะทำให้มิกซ์เสียงได้ง่าย และทำให้ระบบมีความถี่ที่ถูกต้อง ได้ความดังเพิ่มขึ้นอีกด้วย

(Anti-Feeadback Suppressor) DSP

       6. (Anti-Feeadback Suppressor) DSP โพรเซสเซอร์หลายแบรนด์ มักจะมาพร้อมกับฟังก์ชั่นขจัดสัญญาณการหวีดหอนหรือ Feedback Suppression ซึ่งเป็นเครื่องมือที่ช่วยขจัดเสียงหอน (Feedback) ช่วยป้องกันความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นในระบบได้

ข้อดี DSP หรือ Digital Signal Processing

  • สามารถตั้งค่าต่าง ๆ กำหนดจุดตัดความถี่ ปรับแต่ง และ Time Alignment ได้เอง
  • ให้เสียงที่ดี DSP โพรเซสเซอร์หลายแบรนด์ในปัจจุบันมีการพัฒนาเรื่องเสียงขึ้นมาก สามารถปรับโทนเสียง ได้ตามความต้องการของผู้ใช้งาน
  • ประหยัดงบประมาณได้มาก จากการที่ไม่ต้องซื้ออุปกรณ์ปรับเสียงหลายตัวแยกกันเช่น ปรีแอมป์ อีคิว ครอส ไทม์ดีเลย์ คอนเวิร์ทเตอร์ ดีทูเอ และอื่น ๆ
  • สะดวกในการพกพา เพราะพก DSP เพียงเครื่องเดียวก็ใช้งานได้ โดยไม่ต้องใช้อุปกรณ์ปรับแต่งเพิ่ม

สรุป :

       DSP หรือ Digital Signal Processor เป็นเครื่องมือปรับแต่งเสียงและประมวลผลระบบดิจิตอลที่ออกแบบมา เพื่ออำนวยความสะดวกในการทำงานระบบเสียง เป็นเครื่องมือที่รวมฟังก์ชั่นต่าง ๆ ไว้ด้วยกันในเครื่องเดียว ทำให้ตอบโจทย์การใช้งานที่ค่อนข้างครอบคลุม และในท้องตลาดเอง ปัจจุบันนี้ก็มี Digital Signal Processor ให้เลือกใช้อย่างหลากหลาย แนวคิดในการเลือกใช้คือ ควรเลือก DSP ที่ตรงกับความต้องการและเหมาะกับระบบของผู้ใช้งาน เลือกแบรนด์ที่มีบริการหลังการขายที่ดี และหากท่านกำลังมองหา Digital Signal Processor สามารถโทรเข้ามาขอคำแนะนำเพิ่มเติมได้ที่ Live For Sound เรามีทีมงานซาวด์เอ็นจิเนียที่มีประสบการณ์ คอยให้ คำแนะนำและช่วยเลือกผลิตภัณฑ์สำหรับทุกท่านครับ

หรือ สนใจสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่

     โทรศัพท์ 02-550-6340, 064-198-2499

      Line : @liveforsound

      Email : [email protected]

บทความโดย: อาทิตย์ พรหมทองมี

สอบถามข้อมูลสินค้าได้ทาง

สินค้า DSP ทั้งหมด

เครื่องปรับแต่งสัญญาณระบบห้องประชุม Conference DSP (25)

เครื่องปรับแต่งสัญญาณระบบเสียงประกาศ PA DSP

เครื่องปรับแต่งเสียงลำโพง Speaker DSP (21)

author-avatar

About อาทิตย์ พรหมทองมี

ผู้ที่หลงไหลในระบบเสียงและชื่นชอบในการศึกษาประวัติศาสตร์เครื่องเสียงแต่ละแบรนด์