สินค้าไมโครโฟนไร้สาย ไมค์ลอยแบบคู่ ไมค์ลอยแบบเดี่ยว อุปกรณ์รับส่งสัญญาณไร้สาย คลื่นความถี่ที่ได้รับการรับรองจาก กสทช. ย่านUHF, VHF, 2.4GHz คลื่นความถี่ดิจิตอล สินค้ามีประกันทุกชิ้น พร้อมให้คำปรึกษาการใช้งานทุกยี่ห้อ
Wireless Microphone คือ ?
Wireless Microphone หรือ ไมโครโฟนไร้สาย
ถ้าพูดถึงไมโครโฟนทุก ๆ ท่านก็คงรู้จักกันแน่นอนครับ แต่ก็ใช่ว่าทุกคนที่จะเคยจับไมโครโฟนกัน ก็ต้องเคยได้ยินผ่านหูหรือเห็นหน้าตาเจ้าไมโครโฟนกันบ้างใช่ไหมครับ ในเรื่องของระบบเสียงนั้นไมโครโฟนก็เป็นอุปกรณ์อย่างหนึ่ง ที่มีความสำคัญเป็นอย่างยิ่งที่จะให้คุณภาพของเสียงที่ได้ออกมา มีคุณภาพที่ดี มีเสียงที่ชัดเจน เมื่อไมโครโฟนรับสัญญาณเสียงที่เข้ามาตั้งแต่แรกไม่ดี สัญญาณเสียงที่ผ่านระบบออกไปก็จะไม่ดีเท่าที่ควรนั่นเอง ดังนั้นเราควรให้ความสำคัญกับไมโครโฟนรวมไปถึงรูปเลือกรูปแบบการรับสัญญาณของไมโครโฟน หรือ Polar Pattern ด้วยเช่นกัน งั้นถึงเวลาแล้วที่เรามาทำความรู้จักไมโครโฟนกันเลยครับ
*** ไมโครโฟน คือ อุปกรณ์ที่แปลงพลังงานเสียงที่รับเข้ามาให้กลายเป็นพลังงานไฟฟ้าหรือที่เรียกว่า Transducer ***
ในไมโครโฟนก็จะมีส่วนประกอบหลัก ๆ ดังนี้
- Body Microphone (ตัวไมโครโฟน)
- Diaphragm (ไดอะแฟรม)
- Voice Coil (วอยซ์คอยล์)
- Windshield (ตัวป้องกันฝุ่นและลม)
ไมโครโฟน (Microphone) นั้นได้มีการพัฒนาและออกแบบหลักการทำงานด้วยเทคโนโลยีต่าง ๆ เพื่อให้เหมาะสมกับการใช้งานในแต่ะประเภทรวมไปถึงมีการดีไซน์ให้ทันสมัยอยู่ตลอดเวลา โดยในปัจจุบันประเภทของไมโครโฟนก็มีดังนี้
- Crystal Microphone (คริสตัลไมโครโฟน)
- Ceramic Microphone (เซรามิคไมโครโฟน)
- Carbon Microphone (คาร์บอนไมโครโฟน)
- Ribbon Microphone (ริบบอนไมโครโฟน)
- Dynamic Microphone (ไดนามิคไมโครโฟน) เป็นไมโครโฟนที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลายมาก มีความทนทานที่สูง ใช้ขดลวดกับแม่เหล็กเป็นตัวกำเนิดไฟฟ้าเมื่อมีสัญญาณเสียงผ่านเข้ามา
- Condenser Microphone (คอนเดนเซอร์ไมโครโฟน) เป็นไมโครโฟนที่ต้องใช้กระแสไฟฟ้าถึงจะทำงานได้ มีการรับสัญญาณที่ไวและตอบสนองย่านความถี่ได้ดี ใช้วงจรอิเล็กทรอนิกส์
*** ในปัจจุบันรูปแบบที่ได้รับความนิยมมากที่สุดก็คือ Dynamic, Condenser และก็ Ribbon ส่วนประเภทอื่น ๆ นั้นก็ยังมีการใช้งานอยู่แต่หาได้ยากมาก ๆ ***
ทิศทางการรับเสียงของไมโครโฟน
เมื่อเราทราบชนิดของไมโครโฟนแล้ว ผมก็จะพาไปรู้จักในเรื่องของทิศทางการรับของเสียง หรือที่เรียกกันว่า Polar Pattern ซึ่งทิศทางกับรับเสียงเป็นเรื่องที่สำคัญอย่างมากเพื่อให้เหมาะสมกับงานที่เราจะใช้ในแต่ละประเภทนั้น ๆ ถ้าเราไม่รู้เรื่อง Polar Pattern เวลาเราจะซื้อมาใช้งานสักหนึ่งตัว แต่พอซื้อมาแล้วกลับผิดวัตถุประสงค์ของการใช้งาน เท่ากับเราจะเสียเงินฟรีเลยนั่นเองครับ Polar Pattern มีดังนี้ครับ
- Cardioid (คาร์ดิออย)
- Supercardioid (ซุปเปอร์คาร์ดิออย)
- Hypercarioid (ไฮเปอร์คาร์ดิออย)
- Omnidirectional (ออมนิไดเรคชั่นนอล)
- Shotgun (ช็อตกัน)
- Subcardioid (ซับคาร์ดิออย)
- Bi – Directional หรือ Figure 8 (ไบ - ไดเรคชั่นนอล หรือ ฟิคเกอร์ 8)
นี่ก็จะเป็น Polar Pattern ทั้งหมดที่จะช่วยให้หลาย ๆ คนเลือกซื้อไมค์ได้ตอบโจทย์ตัวเองมากยิ่งขึ้น ไม่เสียเงินฟรีแน่นอนครับ
ประเภทของไมโครโฟน
เมื่อเราเรารู้จักทั้งชนิดของไมค์ และทิศทางการรับเสียงแล้ว ต่อไปเรามาดูประเภทของไมโครโฟนกันดีกว่าครับ ว่ามีแบบไหนบ้างเพื่อเป็นตัวเลือกในการใช้งาน และเหมาะสมกับการใช้งานของแต่ละคนกันนะครับ ประเภทของไมโครโฟน มีดังนี้
- Wired Microphone (ไมค์แบบมีสาย)
- Wireless Microphone (ไมค์ไร้สายหรือไมค์ลอย)
- Gooseneck Microphone (ไมค์ก้านยาว)
- Boundary Microphone (ไมค์วางบนโต๊ะ)
- Studio Microphone (ไมค์สตูดิโอ)
นี่ก็เป็นประเภทของไมโครโฟนทั้งหมดเมื่อเรารู้ประเภทแล้วการเลือกใช้งานให้เหมาะสมที่สุดก็จะเป็นเรื่องที่ง่ายมากเลยล่ะครับ
แต่ในวันนี้เราจะมาพูดถึง " Wireless Microphone " กันครับ
Wireless Microphone ก็เป็นไมโครโฟนทั่ว ๆ ไปที่เราเห็นกันตามงานต่าง ๆ นั่นแหละครับ แต่มีการพัฒนาโดยการเอาวงจรเครื่องสัญญาณเข้ามามีส่วนร่วมในตัวของไมโครโฟน ทำการขยายและผสมสัญญาณกระจายแล้วส่งออกมาเป็นคลื่นวิทยุ โดยมีตัวรับสัญญาณอีกเครื่องทำหน้าที่เป็นตัวรับสัญญาณของย่านความถี่นั้น ๆ ที่ได้เข้ามา แล้วทำการแปลงสัญญาณเสียงเข้ามาในระบบ โดยไม่มีสายเข้ามาเกี่ยวข้องในการใช้ รับ - ส่ง เลยนี่ก็เป็นเหตุผลที่เราเรียกว่า “ ไมค์ไร้สาย ” นั่นเองครับ มีการใช้และพัฒนากันมาอย่างต่อเนื่อง เพื่อแก้ปัญหาการรบกวนของสัญญาณในแต่ละย่านความถี่ โดยมีการแบ่งย่านความถี่ดังนี้
- ย่านความถี่ VHF (Very High Frequency) อยู่ในช่วง 30 – 300 MHz
- ย่านความถี่ UHF (Ultra High Frequency) อยู่ในช่วง 300 – 3000 MHz
โดยย่านความถี่วิทยุในแต่ละย่านที่ได้กล่าวมาจะต้องได้รับการอนุญาตจาก กสทช.ก่อน และในประเทศไทยนั้นคลื่นความถี่ที่ กสทช.อนุญาตให้ใช้งาน แบ่งออกได้เป็น 3 ช่วงความถี่ ได้แก่
- ย่านความถี่ UHF (Ultra High Frequency) อยู่ในช่วง 694MHz – 703MHz
- ย่านความถี่ UHF (Ultra High Frequency) อยู่ในช่วง 748MHz – 758MHz
- ย่านความถี่ UHF (Ultra High Frequency) อยู่ในช่วง 803MHz – 806MHz
นอกจากนี้ได้มีการพัฒนาโดยนำย่านความถี่ดิจิตอล 2.4 GHz ISM Band (Industrial Sciences Medicine) มาใช้งานด้วย ซึ่งเป็นย่านความถี่สามารถใช้ได้เลย ไม่ต้องขออนุญาตเนื่องจากเป็นคลื่นความถี่สาธารณะ ไมค์ไร้สายก็ยังมีประเภทให้เลือกใช้งานอีกไม่ว่าจะเป็น ไมค์แบบมือถือ ไมค์หนีบปกเสื้อ และไมค์ชนิดคล้องศีรษะ เพื่อการใช้งานให้เหมาะตามแต่ละประเภท นั่นเองครับ
สรุป
ในการเลือกใช้งานนั้นก็ตามแต่ละท่านเลยครับว่าต้องการนำไปใช้กับงานในลักษณะไหน ถ้าได้อ่านบทความนี้จะทำให้หลาย ๆ ท่านตัดสินใจการซื้อไมค์ได้ง่ายขึ้นกว่าเดิมแน่นอนครับ