หูฟัง
หูฟังสำหรับบันทึกเสียง อัดเพลง หูฟังออกกำลังกาย หูฟังสำหรับฟังเพลง หูฟังไร้สาย หูฟังTrue Wireless ยี่ห้อชั้นนำจากทั่วโลก
หูฟังประเภทต่าง ๆ และลักษณะการใช้งาน
หูฟังในท้องตลาดปัจจุบันนี้ มีอยู่หลากหลายรูปแบบ และมีลักษณะการออกแบบที่เหมาะสำหรับการใช้ที่ค่อนข้างจะมีความแตกต่างกันไป หากตอนนี้คุณกำลังจะมองหาหูฟังสำหรับมาใช้งานสักอัน อาจจะเกิดความลังเลอยู่พอสมควรว่าจะเลือกหูฟังแบบไหนที่ตรงกับความต้องการของเรามากที่สุด บทความนี้จึงได้รวบรวมหูฟังประเภทต่าง ๆ รวมถึงประเภทไหนเหมาะกับการใช้งานแบบใด ทั้งนี้ก็เพื่อเป็นแนวทางในการเลือกหูฟังที่ตรงกับจุดประสงค์ในการใช้งานของทุกท่านให้มากที่สุด นั่นเองครับ
ประเภทของหูฟัง
ในบทความนี้จะแบ่งลักษณะหูฟังออกเป็น 4 ประเภทใหญ่ ๆ นะครับ คือ Headphones , Earbuds , Bone Conduction Headphones และประเภทหูฟังชนิดพิเศษ โดยรายละเอียดจะมีดังต่อไปนี้
- Headphones
โดยพื้นฐานแล้ว Headphones เป็นลำโพงสำหรับสวมคาดศีรษะ โครงสร้างประกอบด้วย ลำโพง 2 ตัว แยกจากกันแต่ละข้าง เชื่อมต่อด้วยวัสดุ มีลักษณะเหมือนสะพานสำหรับคาดศีรษะของคุณ โดยยังสามารถแบ่งออกเป็นชนิดย่อย ๆ ได้อีกดังนี้คือ
1.1 Over-Ear Headphones หูฟังแบบครอบใบหู
หูฟังแบบนี้ยังถูกเรียกอีกชื่อก็คือ “Circumaural headphones.” หูฟังชนิดนี้จะครอบทั้งใบหู มีลักษณะเหมือนถ้วยสองใบที่ปิดหูแต่ละข้าง เป็นหูฟังประเภทที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในปัจจุบัน
จุดเด่นของหูฟังแบบ Over-Ear Headphones
- ใส่สบายหู นี่คือจุดเด่นของหูฟังลักษณะนี้ เนื่องจากโครงสร้างทางกายภาพที่ใหญ่ ทำให้ส่วนของฟองน้ำครอบไปทั้งใบหู ไม่มีการกดทับที่ใบหู จึงสามารถใส่ได้นานกว่าปกติ
- ตัดเสียงรบกวนภายนอกได้อย่างดีเยี่ยม ทำให้ไม่ต้องเร่งเสียงเพื่องแข่งกับเสียงภายนอก
เหมาะกับการใช้งานแบบไหน
- เหมาะกับผู้ที่ชื่นชอบการฟังเพลงแบบไม่มีเสียงรบกวน และไม่มีปัญหาเรื่องความสะดวกในการพกพา
1.2 On-Ear Headphones หูฟังแบบครอบหู
หรืออีกชื่อหนึ่งก็คือ หูฟังแบบ supra-aural ลักษณะหูฟังจะคล้ายกับ Over-Ear แต่จะมีขนาดที่เล็กกว่า แทนที่จะครอบทั้งใบหู แต่หูงชนิดนี้จะวางทับใบหูของได้คุณพอดี
จุดเด่นของหูฟังแบบ On-Ear Headphones
- มีความสะดวกในการพกพา เนื่องจากมีน้ำหนักเบากว่าและเล็กกว่าแบบ Over-Ear
- ขนาดที่กะทัดรัดช่วยให้มีความยืดหยุ่นมากขึ้น เหมาะสำหรับการฟังในขณะทำกิจกรรมอื่น
เหมาะกับการใช้งานแบบไหน
- เหมาะกับผู้ที่ต้องเดินทางบ่อย ๆไม่ต้องการหูฟังขนาดใหญ่
1.3 Closed-Back Headphones หูฟังแบบปิดด้านหลัง
หูฟังแบบปิดด้านหลังมีจำหน่ายมากที่สุดในปัจจุบัน มีโครงสร้างที่ครอบหูทำจากวัสดุแข็งแรง ออกแบบมาเพื่อกันเสียงรบกวนจากภายนอกและกันเสียงจากหูฟังเล็ดรอดออกมาภายนอก
จุดเด่นของหูฟังแบบ Closed-Back Headphones
- การตัดเสียงรบกวน จากการที่วัสดุที่ครอบหูทำจากวัสดุที่กันเสียงทะลุผ่านได้ง่าย จึงไม่มีปัญหาเรื่องเสียงรบกวนจากภายนอก ไม่จำเป็นต้องเร่งเสียงก็สามารถได้ยินเสียงในหูฟังอย่างชัดเจน
- ด้วยเหตุผลที่เสียงเบสไม่สามารถทะลุผ่านวัสดุที่ครอบหูที่เป็นของแข็งได้ จึงทำให้ได้ยินเสียงย่านเบสที่ชัดเจน
เหมาะกับการใช้งานแบบไหน
- เหมาะสำหรับซาวด์เอนจิเนียร์ในงาน Live Sound ที่ไม่ต้องการให้เสียงภายนอกเล็ดรอดเข้าไปในหูฟังขณะมิกซ์เสียง
- หูฟังลักษณะนี้เหมาะอย่างยิ่งในงานสตูดิโอ สำหรับศิลปินใช้ในการบันทึกเสียง เพราะป้องกันไม่ให้เสียงเข้าออกในหูให้มีสมาธิในการบันทึกเสียงมากขึ้น
1.4 Open-Back Headphones หูฟังแบบเปิดหลัง
หูฟังแบบ Open-Back ทำในลักษณะที่ตรงกันข้ามกับ Close-Back คือ ที่ครอบหูของหูฟังจะเปิดด้านหลังเพื่อให้อากาศไหลเวียนได้มากขึ้น เพื่อให้เสียงเดินทางได้สองทิศทางคือเข้าไปในหูและออกมาจากหู โดยหูฟัง Open-Back เครื่องแรกที่เปิดตัวในปี 1965 และมีชื่อเสียงมาก คือ Sennheiser HD414
จุดเด่นของหูฟังแบบ Open-Back Headphones
- ให้คุณภาพเสียงที่ดีระดับออดิโอไฟล์ รายละเอียดเสียงที่ดีกว่าแบบ Close-Back
- ฟังต่อเนื่องได้หลายชั่วโมง เนื่องจากหูฟังที่เปิดโล่งทำให้มีการระบายอากาศได้ดี ทำให้ไม่รู้สึกอึดอัด
เหมาะกับการใช้งานแบบไหน
- เหมาะสำหรับโปรดิวเซอร์เพลง หรือซาวด์เอ็นจิเนียร์ ที่กำลังมองหาหูฟังที่ให้เสียงที่เป็นธรรมชาติ แม่นยำ สำหรับการทำมาสเตอริ่งเพลง หรือผู้ฟังที่ต้องการฟังเพลงแบบคุณภาพสูง
- Earbuds
เป็นหูฟังที่ออกแบบให้มีขนาดเล็กสำหรับใส่เข้าไปในหู โดยจะแบ่งเป็นประเภทย่อย ๆดังนี้ คือ
2.1 Earbuds แบบใช้งานทั่วไป
ถูกสร้างให้พอดีกับหูโดยอยู่นอกช่องหูพอดี มีลำโพงขนาดใหญ่กว่าแบบ In Ear ซึ่งหูฟังแบบ Earbuds ถูกพัฒนาขึ้นก่อนฟังชนิดครอบหูราวสองทศวรรษ โดย Ernest Mercadier จดสิทธิบัตรหูฟังEarbudsในปี 1891
จุดเด่นของหูฟังแบบ Earbuds
- ราคาไม่แพง หาซื้อง่าย
- เพราะ Earbuds ใส่อยู่ด้านนอกช่องหู จึงช่วยให้ไม่มีปัญหาเรื่องความไม่สบายหูหรือล้าหูจากการใช้งาน
เหมาะกับการใช้งานแบบไหน
- เหมาะสำหรับผู้ที่มีงบจำกัดในการซื้อหูฟัง และไม่ได้ให้ความสำคัญกับคุณภาพเสียงมากนัก เพราะหาซื้อได้ง่าย มีให้เลือกมากมาย
2.2 Ear Clips หูฟังแบบเกี่ยวหู
- มีลักษณะแบบเดียวกับ Earbuds แต่มีที่การออกแบบให้สามารถใช้เกี่ยวกับใบหู เพื่อให้มีความแน่น กระชับ และหลุดยาก
จุดเด่นของหูฟังแบบ Ear Clips
- ราคาไม่สูง คุณภาพเสียงระดับปานกลาง กระชับแน่นกับใบหู
เหมาะกับการใช้งานแบบไหน
- เป็นหูฟังที่เหมาะสำหรับผู้ออกกำลังกายหรือมีการเคลื่อนไหวขณะใช้หูฟัง
2.3 In-Ear Monitor หูฟังชนิดใส่ในหู
หูฟังชนิดนี้ เป็น Earbuds ชนิดใส่ในหู มีโครงสร้างยาวและมีปลายซิลิโคนที่ทำให้ใส่ในหูได้ลึกขึ้น ออกแบบให้รูปทรงเข้ากันกับรูปของช่องหู จึงได้เปรียบกว่าหูฟังชนิดอื่นในเรื่องของความกระชับ
จุดเด่นของหูฟังแบบ In-Ear Monitor
- ความพอดีกับรูปของช่องใบหู
- ตัดเสียงรบกวนได้ดี เนื่องจากหูฟัง In-Ear อยู่ห่างจากช่องหู เพียงเล็กน้อย โดยพื้นฐานจึงเหมือนการใส่ที่อุดหู
- คุณภาพเสียงที่ดี ชัดเจน ยิ่งเสียงอยู่ใกล้หูเท่าไหร่ คุณก็ยิ่งได้ยินเสียงมากขึ้นเท่านั้น
เหมาะกับการใช้งานแบบไหน
- เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องเดินทางตลอดเลา หรือนักกีฬา และด้วยรูปทรงที่กลมกลืนไปกับใบหูจึงเหมาะมากสำหรับนักแสดงหรือนักดนตรีใช้สำหรับเป็นมอนิเตอร์ส่วนตัว
- Bone Conduction หูฟังแบบจับการสั่นของกระดูก
หูฟังชนิดนี้จะใช้กระดูกบางส่วนของคุณเป็นตัวนำสำหรับการสั่นสะเทือนของคลื่นเสียง โดยจะสร้างคลื่นเสียงที่ทะลุผ่านหูชั้นนอกและหูชั้นกลางและโหนกแก้มของคุณโดยตรง
จุดเด่นของหูฟังแบบ Bone Conduction
- หูฟังชนิดนี้ไม่ใช่แบบใส่ในหูหรือครอบหู คุณจึงไม่มีปัญหาในการได้ยินเสียงรอบข้างขณะใช้งาน
- เทคโนโลยีนี้เหมาะสำหรับผู้ที่มีปัญหาทางด้านการได้ยิน สามารถใช้เป็นเครื่องช่วยฟังได้
เหมาะกับการใช้งานแบบไหน
- เป็นหูฟังที่ให้รายละเอียดเสียงที่ไม่ดีนักสำหรับคนภาวะปกติ แต่สำหรับผู้มีปัญหาทางการได้ยิน หูฟังแบบจับการสั่นสะเทือนของกระดูกจะช่วยปรับปรุงคุณภาพชีวิตของพวกเขาได้มาก
- หูฟังชนิดพิเศษ
เป็นหูฟังที่มีลักษณะการออกแบบที่มีคุณสมบัติเป็นเอกลักษณ์ โดยทางเทคนิคแล้วสามารถจัดรวมเข้ากับกลุ่มที่กล่าวมาก่อนหน้านี้ได้หมด แต่บทความขออนุญาตแยกออกมาเพื่อให้มีความชัดเจนขึ้น
4.1 Wireless Headphones หูฟังไร้สาย
เป็นหูฟังสมัยใหม่ที่สามารถเชื่อมต่อผ่านเทคโนโลยีบลูทูธ , คลื่นความถี่วิทยุ(RF)โดยเชื่อมต่อผ่านสัญญาณไร้สายตั้งแต่ 3kHz ถึง300GHz และเชื่อมต่อเทคโนโลยีผ่านอินฟาเรดเชื่อมต่อกันโดยไดโอดเปล่งแสง
จุดเด่นของหูฟังแบบ Wireless Headphones
- สามารถพกพาไปในสถานที่ต่าง ๆได้ เนื่องจากไม่มีสายไฟให้เกะกะ
- ความสะดวกในการใช้งาน เพียงแค่คุณเปิดหูฟังแล้วเชื่อมต่อโดยกับจับคู่กับ Wireless ก็พร้อมสำหรับการใช้งานแล้ว
เหมาะกับการใช้งานแบบไหน
- เหมาะสำหรับทุกคนที่ต้องการหูฟังที่ใช้งานสะดวก และสามารถพกพาไปได้ในทุกที ไม่ว่าจะเป็นการฟังขณะทำงาน หรือแม้กระทั่งขณะกำลังออกกำลังกาย
4.2 Noise-Cancelling Headphones หูฟังแบบตัดเสียงรบกวน
เป็นหูฟังเทคโนโลยีล่าสุด ที่สามารถป้องกันเสียงรบกวนเข้าไปในที่ครอบของหูฟัง โดยใช้ชิปประมวลผลที่จะวิเคราะห์เสียงรอบนอกและสร้างเสียงที่สลับเฟสกันขึ้นเพื่อให้เกิดการหักล้างของเสียงเหล่านั้น
ข้อดีของหูฟังตัดเสียงรบกวน
- ช่วยให้การได้ยินที่ชัดเจนมากขึ้น แม้อยู่ในสภาพแวดล้อมทางเสียงที่วุ่นวาย
- บรรเทาอาการเครียด ช่วยให้คุณมีสมาธิในการทำงาน เพราะคุณสามารถใช้การตัดเสียงของหูฟัง เพื่อแก้ไขปัญหาสภาพแวดล้อมในการทำงานที่เต็มไปด้วยเสียงดังได้
เหมาะกับการใช้งานแบบไหน
- เหมาะสำหรับผู้ทีมีความละเอียดอ่อนทางการได้ยิน ที่ต้องเดินทางบ่อย ๆ ใช้ฟังเพลงเพื่อบรรเทาอาคารเครียด หรือใช้เพื่อตัดเสียงรบกวนเพื่อการพักผ่อน และอื่น ๆอีกมากที่คุณจะประยุกต์มาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด
สรุป
หูฟังทุกชนิดออกแบบมาเพื่อการใช้งานที่แตกต่างกัน บางชนิดก็สามารถใช้ได้หลายรูปแบบ ในขณะที่บางชนิดก็มีคุณสมบัติเฉพาะ ก่อนซื้อผู้ซื้อจึงควรกำหนดความต้องการ ว่าสิ่งใดที่เราต้องการนำมาใช้ ทั้งนี้ทั้งนั้นก็รวมไปถึงข้อจำกัดเรื่องงบประมาณ พิจารณาถึงข้อดีของหูฟังแต่ละชนิด แล้วคุณจะได้หูฟังที่ตรงกับความต้องการของคุณมากที่สุด เสียเงินทั้งทีต้องได้เสียงที่ดีกลับมานะครับ