7 เทคนิคการมิกซ์เสียงกลองในงานแสดงสด

บทความ 7 เทคนิคการมิกซ์เสียงกลองในงานแสดงสด

เทคนิคการมิกซ์เสียงกลองในงานแสดงสดอย่างมืออาชีพ

เสียงกลองที่ทรงพลัง มันเริ่มต้นจากปัจจัยหลายอย่าง หลายคนพยายามมิกซ์เสียงกลอง แต่มิกซ์เท่าไหร่เสียงกลองก็ไม่มีพลังที่จะไปสู้เสียงเครื่องดนตรีอื่นได้ ถ้าเสียงกลองไร้ซึ่งพลังแล้ว เพลงก็จะหมดความสนุกขึ้นมาทันที เพราะกลองนั้นเป็นตัวให้จังหวะและควบคุมควบดังเบาอารมณ์ของเพลง ทาง Live For Sound มีเทคนิคง่ายๆในการที่จะทำให้เสียงกลองที่มิกซ์ออกมานั้นทรงพลัง เรามาดูเทคนิคที่ว่านั้นกันดีกว่า

จูนกลองจนได้เสียงที่ต้องการ

เสียงกลองที่ดีนั้น เราจำเป็นต้อง Tune เสียงกลองก่อนเป็นอันดับแรก เพราะถ้าเสียงต้นฉบับไม่ได้ก็อย่าหวังว่าจะได้เสียงดั่งใจต้องการ เราต้องตรวจเช็คสภาพความพร้อมของหนังกลองว่าอยู่ในสภาพใช้งานได้หรือไม่ ไม่ใช่ว่าเอาหนังกลองที่ผ่านสมรภูมิรบมาหลายปี แล้วมาตั้งเสียงให้ใสกังวาลดั่งหนังกลองใหม่อย่างนี้ก็เป็นไปไม่ได้ ลงทุนกับหนังกลองใหม่ซักหน่อย แล้วเสียงดีที่ต้องการจะทำได้ง่ายขึ้น

ไมโครโฟนและตำแหน่งที่ถูกต้อง

การเลือกไมโครโฟนมาใช้งานก็ถือได้ว่าเป็นปัจจัยหลักขั้นพื้นฐานในการมิกซ์เสียงกลอง เพราะไมโครโฟนแต่ละรุ่น แต่ละยี่ห้อนั้นให้เสียงที่แตกต่างกันอยางสิ้นเชิง หากเราพยายาม EQ ไมโครโฟนอีกตัว ให้เหมือนกับไมโครโฟนอีกตัวนั้นค่อนข้างเป็นเรื่องที่ยาก เราควรที่จะเลือกไมโครโฟนให้เหมาะสมกับแนวเพลงที่เราจะมิกซ์เลยดีกว่า

การวางไมโครโฟนนั้นก็เป็นส่วนที่สำคัญเช่นเดียวกัน เพราะเสียงที่ออกมาจากหนังกลองแต่ละตำแหน่งนั้น ให้เสียงที่แตกต่างกัน หากต้องการเสียงที่คมทะลุทะลวง การเอาไมโครโฟนไปวางที่ขอบหนังกลองก็คงไม่ใช่สิ่งที่ถูกต้อง ฉะนั้นควรที่จะเรียนรู้และฝึกฝนการวางตำแหน่งไมโครโฟน จะทำให้ได้เสียงที่ต้องการ

High-Pass เอาเสียงต่ำที่ไม่ต้องการออก

การทำการเอาเสียงต่ำที่ไม่ต้องการออกบ้างนั้น เป็นสิ่งที่ควรทำเป็นอย่างยิ่ง เนื่องจากย่านความถี่ต่ำ เป็นย่านความถี่ให้รับรู้สึกถึงพลังงานของเสียง การที่มีเสียงต่ำเข้าไปกวนในไมโครโฟนแต่ละตัว จะทำให้ความดังของเสียงกลองบางชิ้นลดลง เพราะสัญญาณเสียงเกิดอาการ Phase Cancelation อันมีผลทำให้เสียงบางย่านความถี่ลดลงและไม่มีพลัง ยกตัวอย่างเช่น เสียงกลอง TOM รั่วเข้าไปในไมโครโฟนตำแหน่ง Overhead ทำให้เสียงที่มาจากไมโครโฟนตำแหน่ง TOM กับ เสียงที่มาจากตำแหน่ง Overhead ออกลำโพงไม่พร้อมกัน จึงทำให้น้ำหนักเสียงของ TOM นั้นหายไป ไม่มีพลัง การเอาย่านความถี่ต่ำของเสียง TOM ในตำแหน่งไมโครโฟน Overhead ออกนั้นเป็นเรื่องที่ดีมากๆ ทำให้เสียง TOM กลับมามีพลังและชัดเจนมากยิ่งขึ้น แต่ไม่ควรเอาออกทั้งหมด เพราะมันจะทำให้เสียง TOM ขาดหางเสียงที่มีเสน่ห์ไป

Reverb Effect

เพิ่มความคมชัดของเสียงด้วย Reverb Effect นอกจากเสียงกลองที่ต้องการมีพลังแล้ว ต้องมีความคมชัดร่วมด้วย การเพิ่มเสียงรีเวิร์บ หรือเสียงก้องเข้าไป จะทำให้เสียงกลองของเราฟังดูคมชัดและมีมิติเพิ่มขึ้น บางครั้งใส่รีเวิร์บแค่ตัวเดียว มันอาจจะฟังดูแข็งกระด้าง ลองใส่ซัก 2 – 3 ตัวที่แตกต่างดู จะให้ความรู้สึกมิติกลองที่กว้าง และมีความคมชัดเพิ่มขึ้น อีกทั้งยังทำให้เสียงน่าฟังเพิ่มขึ้นอีกด้วย

EQ จนได้โทนที่ใช่

การใช้ EQ นั้น เป็นการทำให้เสียงกลองดูมีตัวตนที่ชัดเจนเพิ่มขึ้น แต่บางครั้งการใช้ EQ ที่เกินความพอดี ก็จะทำให้เสียงกลองฟังดูผิดเพี้ยนไม่มีพลัง รควร EQ เสียงกลองให้อยู่ในความเหมาะสมพอดี หากอยากให้เสียงกลองดูใหญ่ขึ้น ลองเพิ่มพวกความถี่ 150Hz – 300Hz ดู จะรู้สึกเสียงกลองมีพลังเพิ่มขึ้น แต่หากเราเพิ่มจนเกินความพอดี เสียงกลองก็จะฟังดูเบลอขาดความชัดเจน ถ้าเพิ่มความถี่ 500Hz – 1kHz เราก็จะได้เสียงกลองที่แข็งแรง แต่ก็ต้องแลกมาด้วยเสียงที่มันกระด้างขึ้น หากอยากได้ความชัดเจน ก็ต้องเพิ่มความถี่ 2kHz – 4kHz เข้าไป แต่ก็ต้องแลกมาด้วยเสียงที่บาดหูหากเพิ่มมาจนเกินไป

ใช้ GATE ตัดเสียงกวน

ไมโครโฟนที่จ่อกลองอยู่นั้น มีหลายตัวมาก จึงเป็นสิ่งที่เลี้ยงไม่ได้ที่เสียงกลองแต่ละใบจะเข้าไปในไมโครโฟนทุกตัวที่จับเสียงกลองอยู่ การตัดย่านเสียงต่ำที่เข้าไปกวนของกลองแต่ละใบนั้นเราสามารถใช้ HPF ได้ แต่ก็ยังหลงเหลือเสียงกลางและเสียงแหลมอยู่ การทำให้เสียงกลองมีความสะอาดไม่มีเสียรบกวนซึ่งกันและกันของกลองแต่ละใบนั้น เราใช้ Noise Gate ในการตัดเสียงรบกวนได้ ซึ่งเป็นเรื่องที่ง่ายมากๆในการตัดเสียงรบกวนได้หมดจด จนทำให้ย่านความถี่ต่างๆมีความคมชัดยิ่งขึ้นไปอีก

สร้างเสียงกลองทรงพลังด้วย COMPRESSOR

ในบางครั้งเราหลีกเลี่ยงไม่ได้ที่จะเจอนักดนตรีเล่นออกมาไร้ซึ่งพลัง Sound Engineer มีหน้าที่จัดการปัญหาเหล่านี้ การใช้ Compressor ถือได้ว่าเป็นทางเลือกที่ดีที่สุด ในการควบคุมความดังในการเล่นของนักดนตรี ให้อยู่ในไดนามิคที่ถูกต้อง อีกทั้งยังช่วยให้ความดังโดยรวมอยู่ในระดับที่สม่ำเสมออีกด้วย ให้เรารู้สึกว่าเสียงกลองยังคงมีพลังตลอดการแสดงอีกด้วย

Compressor นั้นมีให้เลือกใช้หลากหลายมาก หากใช้ Plugin ในการมิกซ์เสียง ก็จะมีหลักๆที่น่าใช้ดังนี้ API 2500 ตัวนี้ถือว่าโด่งดังมาก ให้เสียงที่กระแทกกระทั้น พุ่งแรง เหมาะสำหรับเพลงที่ต้องการจังหวะดนตรีที่เร้าใจหนักหน่วง

CLA 7A เป็น Plugin ที่จำลองมาจาก 1176 ชื่อดังของค่าย Universal ให้เสียงที่ดุดัน พุ่งทะยาน นำมาใส่กับเสียงกระเดื่องและสแนร์จะทำให้ได้จังหวะที่กระชับชัดชัดมากขึ้น

สรุป :

สำหรับ 7 เทคนิคในการมิกซ์เสียงกลองนั้น เป็นสิ่งที่ผู้อ่านต้องลองฝึกทำ สำหรับใครสนใจคอร์สเรียน สามารถเข้าไปดูรายละเอียดได้“การมิกซ์เสียงสำหรับงานแสดงสด” 

อีกเทคนิคที่ขาดไม่ได้ก็คือ การมิกซ์เสียงกีต้า สำหรับใครที่สนใจอยากทำอาชีพด้าน SOUND ENGINEER สามารถเข้าไปดูรายละเอียดเพิ่มเติมตามนี้ได้เลย หลักสูตร SOUND ENGINEER หรือ อ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับ SOUND ENGINEER เช่น  SOUND ENGINEER เริ่มต้นอย่างไร หรือ  เรียน SOUND ENGINEER มาทำงานอะไรได้บ้าง 

หรือสนใจสอบถามคอร์สเรียนและหลักสูตรต่าง ๆ สามารถสอบถามได้ที่
โทรศัพท์ 02-550-6340, 064-198-2499
Line : @liveforsound
Email : [email protected]

บทความโดย: ทรงพล แจ่มแจ้ง (SOUND ENGINEER)

         รับติดตั้งระบบเสียง ห้องประชุม ร้านอาหาร ผับบาร์ ห้องคาราโอเกะ ห้องจัดเลี้ยง ระบบเสียงสนามกีฬา ระบบเสียงร้านกาแฟ สามารถปรึกษาทางทีมงาน LIVE FOR SOUND ได้ พร้อมรับตรวจเช็ค แก้ไขปัญหาระบบเสียงทุกรูปแบบ โดย ทรงพล แจ่มแจ้ง และทีมงานมืออาชีพ ที่มีประสบการณ์มากกว่า 15 ปี

บทความโดย: ทรงพล แจ่มแจ้ง (SOUND ENGINEER)

ติดต่อขอรับข้อมูลและบริการได้ที่ [email protected]

โทร 02-550-6340 หรือ 064-198-2499

สอบถามข้อมูลการเรียนได้ทาง