SOUND ENGINEER (วิศวกรเสียง)เริ่มต้นอย่างไร? ต้องมีความรู้มาก่อนไหม? หรือต้องเรียนอะไรมาเป็นพิเศษบ้าง

ซาวด์เอ็นจิเนียร์เรียนอะไร

อยากเป็น SOUND ENGINEER วิศวกรเสียง เริ่มต้นอย่างไร?

ในหลายปีที่ผ่านมา มีคำถามเยอะแยะมากมายถึงเรื่องการอยากเป็น SOUND ENGINEER ว่าเริ่มต้นอย่างไร? ต้องมีความรู้มาก่อนไหม? หรือต้องเรียนอะไรมาเป็นพิเศษบ้าง และ SOUND ENGINEER มีหน้าที่อะไร? หากจะแบ่งจำแนกในเรื่องของการเรียนนั้น ก็จะมีหลากหลายสาขา และแตกย่อยออกไปเป็นหลากหลายหน้าที่การทำงาน ทั้งในส่วนของ LIVE SOUND ENGINEER, STUDIO SOUND ENGINEER, BROADCASTING SOUND ENGINEER  หากคุณเป็นคนหนึ่งที่สนในเรื่องของ SOUND ENGINEER เรามาเรียนรู้ไปพร้อม ๆ กันครับ

SOUND ENGINEER วิศวกรเสียง คืออะไร?

เคยสงสัยหรือเปล่าครับว่า เพลงที่เราฟังอยู่ทุกวันคอนเสิร์ตที่เราไปดู หรือรายการทีวีเกมส์โชว์ต่างๆนั้น กว่าจะเป็นผลงานออกมาต้องผ่านคนทำงานด้านไหนมาบ้าง หลายคนอาจจะคิดว่าศิลปินแต่งเพลงเสร็จก็นำเพลงนั้นออกมาให้เราฟังได้เลย หรือศิลปินไปเล่นคอนเสิร์ตมีเครื่องเสียงขนาดใหญ่ ก็แค่มีคนเอาลำโพงมาวางเรียงกัน ก็สามารถเล่นได้เลย แท้ที่จริงแล้วมีกลุ่มคนที่อยู่เบื้องหลังของศิลปินต่าง ๆ เหล่านี้ กว่าจะเป็นเพลง 1 เพลง หรือคอนเสิร์ต 1 คอนเสิร์ต ต้องมีกลุ่มคนที่เรียกว่า SOUND ENGINEER เป็นผู้รังสรรค์ผลงานให้กับศิลปินผู้อยู่เบื้องหน้า

คำว่า SOUND ENGINEER หรือ วิศวกรเสียง คือผู้ที่เข้าใจและมีความชำนาญในเรื่องของเสียง ทั้งในส่วนของการปรับแต่งและการใช้งานอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับทางด้านเสียงทั้งหมด ไม่ว่าอุปกรณ์ตัวนั้นจะอยู่ในรูปแบบดิจิตอลหรืออะนาล็อก SOUND ENGINEER ก็จะมีหน้าที่จัดการให้เสียงออกมาได้ตรงตามจุดประสงค์ของการฟัง

ซึ่ง SOUND ENGINEER นั้นมีหลากหลายหน้าที่หลากหลายตำแหน่ง และแต่ละหน้าที่ก็จะต้องมีหลักความรู้แตกย่อยลงไปอีก ซึ่งโดยพื้นฐานแล้วคนที่จะมาทำหน้าที่ SOUND ENGINEER แต่ละตำแหน่งนั้น ต้องรู้พื้นฐานทฤษฎีทางด้านเสียง ซึ่งเป็นหลักฟิสิกส์เดียวกันทั้งหมด ขึ้นอยู่กับว่าตำแหน่งไหน ต้องใช้หลักทฤษฎีมากน้อยขนาดไหนนั่นเอง คราวนี้เรามาคุยกันต่อว่า SOUND ENGINEER ต้องเรียนเกี่ยวกับอะไรกันบ้าง

SOUND ENGINEER ต้องเรียนเกี่ยวกับอะไร?

โดยหลักแล้ว SOUND ENGINEER ไม่จำเป็นต้องเรียนจบวิทยาศาสตร์มาโดยตรง เพราะหลักฟิสิกส์ที่เราใช้กันมีแค่เรื่องของเสียงเท่านั้น และก็ไม่จำเป็นต้องจบปริญญาตรี หรือเรียนจบสูงๆ ก็สามารถมาทำอาชีพ SOUND ENGINEER ได้ เพราะโดยมาก เราจะวุ่นวายอยู่แค่เรื่องของอุปกรณ์ซะเป็นส่วนใหญ่ ขอแค่มีพื้นฐานดังต่อไปนี้

1.สามารถอ่านออกเขียนภาษาอังกฤษพื้นฐานได้
2.มีความสนใจในด้านของดนตรีและเสียงเพลงและมีหูที่ดีแยกแยะความถี่เสียงได้
3.มีความอดทน สามารถทำงานภายใต้ความกดดันได้ดี
4.มีความอ่อนน้อมถ่อมตน รับฟังความคิดเห็นผู้อื่น
5.มีความกระตือรือร้นในการหาความรู้ใหม่ๆใส่ตัวอยู่เสมอ

คุณสมบัติเหล่านี้คือคุณสมบัติเบื้องต้นของผู้ที่จะมาเริ่มเรียนรู้และทำงานในอาชีพทางด้าน SOUND ENGINEER บางคนอาจจะถามว่าหากขาดข้อหนึ่งข้อใดสามารถทำงานได้หรือไม่ ข้อ 1–4 นั้นเราสามารถมารถฝึกฝนกันได้ แต่หากขาดข้อ 5 แล้ว ข้อ 1-4 ก็ไม่สามารถทำได้เลย เมื่ออ่านมาถึงตรงนี้หากเราคิดว่าเราอยากเป็น SOUND ENGINEER ที่เก่งและได้อยู่เบื้องหลังความสำเร็จของศิลปิน สิ่งที่เราต้องศึกษาเป็นลำดับสำคัญก็คือ ทฤษฎีฟิสิกส์ทางด้านเสียง ทฤษฎีฟิสิกส์เกี่ยวกับไฟฟ้า การใช้งานอุปกรณ์ต่าง ๆ ให้คล่องแคล้ว และก็รู้จักฝึกฝนทักษะ วางระบบการทำงานให้ตัวเองอย่างเป็นขั้นเป็นตอน และควรทำความเข้าใจเรื่องศัพย์เทคนิคพื้นฐานอย่างเช่น Sound Pressure Level, Balance, Unbalance, Decibel, Frequency, Volumn, Level, Watt, Impedance เป็นต้น แค่นี้เราก็สามารถก้าวเข้าสู่ความเป็นมืออาชีพในการทำงานได้ คราวนี้เรามาดูกันว่าตำแหน่งหน้าที่ของ SOUND ENGINEER มีตำแหน่งอะไรบ้าง

ตำแหน่งหน้าที่ของ LIVE SOUND ENGINEER

ในงานคอนเสิร์ตสำหรับการแสดงสดนั้น SOUND ENGINEER จะมีหลากหลายตำแหน่งมาก ใครที่อยากทำงานในส่วนของคอนเสิร์ตนั้นต้องเข้าใจในตำแหน่งหน้าที่ว่าทำอะไรและต้องเรียนรู้เรื่องอะไรบ้าง เรามาเริ่มที่ตำแหน่งแรกกันเลยดีกว่า

FRONT OF HOUSE(FOH) ENGINEER ตำแหน่งนี้หลายๆคนอาจจะงงว่าทำหน้าที่อะไรทำไมชื่อจะไม่คุ้นหู แต่ถ้าเราบอกว่า ตำแหน่ง FOH คือคนมิกซ์เสียงหรือคนผสมเสียง หรืออาจจะเรียกว่า MIXING ENGINEER โดยรวมคือคนที่อยู่ท่ามกลางคนดูและก็ควบคุมเสียงทั้งหมดบนเวทีให้ผู้ฟังได้ยิน มันก็เปรียบเสมือนนักดนตรีคนสุดท้ายนั่นเอง เสียงจะดีหรือไม่ดีขึ้นอยู่กับ FOH ENGINEER เท่านั้น เพราะคือคนที่ควบคุมเสียงขั้นตอนสุดท้ายที่จะทำให้คนดูได้ยิน

คนที่ทำหน้าที่ FOH ENGINEER นั้น ต้องเป็นคนที่ทางศิลปินไว้วางใจเป็นอย่างมาก รู้จักตัวตนของวง รู้จักแนวเพลงของวงเป็นอย่างดี และถือได้ว่าเป็นตำแหน่งที่มีความกดดันสูงอีกด้วย เพราะแต่ละวินาทีที่โชว์อยู่นั้นต้องใช้สมาธิสูงมากเพราะมันไม่สามารถพลาดได้เลย ตำแหน่งนี้ต้องใช้หูเป็นหลัก และต้องเป็นคนที่มีจินตนาการใช้เครื่องมือปรับแต่งเสียงได้อย่างคล่องแคล่ว และไม่จำเป็นต้องรู้ทฤษฎีเยอะแยะมากมายเท่าไหร่ ตำแหน่งนี้คือตำแหน่งที่หลายคนที่เริ่มต้นอยากเป็น SOUND ENGINEER ไฝ่ฝัน เพราะมันดูเท่มาก เวลาที่เราได้ยืนควบคุมมิกเซอร์ขนาดใหญ่

อยากเป็น FOH ENGINEER ต้องเรียนอะไรบ้าง คลิกดูหลักสูตรที่นี่

MONITOR ENGINEER นี่คือตำแหน่งที่ทุกคนที่มีอาชีพเป็น SOUND ENGINEER ต้องผ่านการทำหน้าที่นี้มาก่อน เพราะคือตำแหน่งที่ใกล้ชิดนักดนตรีที่สุด ตำแหน่งนี้จะมีหน้าที่ควบคุมเสียงของลำโพงบนเวที และหูฟังของนักดนตรีบนเวทีทั้งหมด ผสมเสียงตามที่นักดนตรีต้องการ และต้องคอนดูแลเหตุการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นบนเวที ซึ่งในคอนเสิร์ตใหญ่ๆนั้น จะมีตำแหน่งนี้ขึ้นมา เพื่อแบ่งเบาภาระหน้าที่ของ FOH ENGINEER ไม่อยางนั้น FOH ENGINEER จะรับบทบาทหน้าที่หนักทั้งในส่วนของผสมเสียงให้ดูฟัง และต้องผสมเสียงให้นักดนตรีฟัง งานก็จะยิ่งยากขึ้นไปอีก

Sound Monitor

SOUND SYSTEM ENGINEER ตำแหน่งนี้คือคนที่จัดการระบบเสียงและปรับแต่งเสียงลำโพงทั้งหมดในงานคอนเสิร์ตให้สามารถทำงานร่วมกันได้ทั้งหมดเป็นหนึ่งเดียวกัน ก่อนที่จะส่งมอบระบบให้กับคนที่เป็น FOH ENGINEER และ MONITOR ENGINEER ตำแหน่งนี้ต้องใช้หลักการทางฟิสิกส์เข้ามาเกี่ยวข้องมากกว่า 80% ต้องเป็นคนที่รู้จักอุปกรณ์ระบบเสียงและเข้าใจทฤษฎีฟิสิกส์ทางด้านเสียงเป็นอย่างดีเยี่ยม อยากเป็น SOUND SYSTEM ENGINEER คลิกดูหลักสูตรได้ตามนี้ครับ

SOUND SYSTEM DESIGN นี่คือตำแหน่งนักออกแบบระบบเสียง คือคนที่ออกแบบวางตำแหน่งลำโพงในงานคอนเสิร์ต งานแสดงสินค้า งานประชุม โดยใช้การคำนวณพื้นฐานทางด้านเสียงต่าง ๆ ตำแหน่งนี้ใช้หลักการทางฟิสิกส์ 100% เพราะเรื่องเสียงเป็นเรื่องของวิทยาศาสตร์ ไม่สามารถนำลำโพงไปวางตามใจตัวเอง หรือตามความสวยงามได้ ตำแหน่งนักออกแบบระบบเสียงจึงมีความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง หลักสูตร SOUND SYSTEM DESIGN เรียนอะไรบ้าง คลิกดูได้ที่นี่ครับ

ตอนนี้เรารู้กันแล้วว่าตำแหน่ง SOUND ENGINEER ในส่วนของ LIVE SOUND นั้นมีอะไรบ้าง คราวนี้เราทำความรู้จักกับตำแหน่งหน้าที่ของ SOUND ENGINEER ในส่วนของ STUDIO กันบ้าง

ตำแหน่งหน้าที่ของ STUDIO SOUND ENGINEER

ตำแหน่งหน้าที่ของ STUDIO SOUND ENGINEER นั้นหลักๆจะแบ่งออกเป็น 4 ตำแหน่งหลักๆสำคัญ ได้แก่ RECORDING ENGINEER, MIXING ENGINEER, MASTERING ENGINEER และ SOUND DESIGN แต่ละหน้าที่ทำงานอย่างไรกันบ้าง

RECODING ENGINEER ตำแหน่งนี้มีหน้าที่บันทึกเสียงต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นเสียงเครื่องดนตรี เสียงร้อง ตำแหน่ง RECORDING ENGINEER ต้องมีทักษะความชำนาญในส่วนของการใช้งานไมโครโฟนเป็นพิเศษ เพราะต้องวางไมโครโฟนเพื่อรับเสียงให้ได้อย่างถูกต้องตามที่ PRODUCER และศิลปินต้องการ และต้องใช้อุปกรณ์ปรับแต่งเสียง เช่น Pre Mic, EQ, COMPRESSOR ได้อย่างชำนาญอีกด้วย

สตูดิโอ Sound engineer

MIXING ENGINEER ตำแหน่งที่ทุกคนใฝ่ฝันอยากทำงานมากที่สุด เพราะเป็นผู้ผสมเสียงให้กับเพลง หรือเปรียบเสมือนพ่อครัวใหญ่ในการปรุงอาหาร เพลงจะเพราะหรือไม่เพราะขึ้นอยู่กับตำแหน่งนี้เป็นส่วนสำคัญ ต้องมีความเชี่ยวชาญในการใช้อุปกรณ์ผสมเสียงต่าง ๆ เช่น MIXER, EQ, COMPRESSOR, NOISE GATE, EFFECT ต่าง ๆ ต้องเป็นคนที่มีจินตนาการ ที่จะผสมเสียงออกมาได้ตรงตามที่ PRODUCER และศิลปินต้องการ

MASTERING ENGINEER ตำแหน่งนี้ คือคนที่คอยจัดการเพลงที่มิกซ์มาจาก MIXING ENGINEER มาจัดการระดับความดังให้เหมาะสมกับ FORMAT ต่าง ๆ ที่จะนำเพลงไปเปิด และเป็นคนคอยควบคุมโทนเสียงของเพลงและระดับเสียงที่มิกซ์มาให้เป็นไปในทางเดียวกันทั้งอัลบั้ม เช่นเพลงที่ 1 มิกซ์มาเบากว่าเพลงที่ 2 ถ้าเราปล่อยแบบนี้ออกไปผู้ฟังก็ต้องคอยมาปรับระดับเสียงของเครื่องเล่นไปมาทุกเพลง คนที่ทำหน้าที่ MASTERING ENGINEER ต้องเป็นคนจัดการในเรื่องต่างๆเหล่านี้

SOUND DESIGN เวลาเราดูหนังหรือดูละคร เราจะได้ยินเสียงประกอบต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น EFFECT ที่ใส่เข้าไปหรือเพลงประกอบ สิ่งที่ได้ยินนั้นเป็นผลงานของคนที่ทำหน้าที่ SOUND DESIGN ต้องเป็นคนที่มีจินตนาการสูงมาก ๆ ตำแหน่งนี้ใช้งานศิลปะล้วน ๆ เช่น เราต้องการเสียงของไดโนเสาร์ ซึ่งเราไม่ได้เกิดในยุคไดโนเสาร์ เราไม่เคยได้ยินเสียงของมัน SOUND DESIGN มีหน้าที่ออกแบบเสียงให้คนดูสามารถจินตนาการตามสิ่งที่เห็นได้

SOUND ENGINEER ทำงานที่ไหนได้บ้าง

คนที่ทำหน้าที่ SOUND ENGINEER หรือวิศวกรเสียงนั้น เมื่อเรียนจบแล้ว สามารถไปทำงานตามที่ต่างๆเหล่านี้ได้

1.ผับ บาร์ ร้านอาหาร สถาบันเทิง
2.ห้องประชุม ห้องจัดเลี้ยง ห้องสัมมนาตามโรงแรม
3.บริษัทผู้ให้บริการระบบเสียงงานคอนเสิร์ต งานอีเว้นท์ งานแสดงสินค้า
4.SOUND ENGINEER ประจำวงดนตรี
5.บริษัทออกแบบระบบเสียงในสถานที่ต่าง ๆ
6.สตูดิโอบันทึกเสียง สตูดิโอถ่ายรายการ

นี่คือสถานที่ต่าง ๆ ที่คนเรียนจบ SOUND ENGINEER สามารถทำงานมีรายได้ไม่แพ้สายงานอาชีพอื่นเลย

Sound Engineer คอนเสิร์ต โอห์มชาตรี 2017
FOH Engineer คอนเสิร์ต Ohm Chatree Live Rewat Forever 2017

สรุป :

ตำแหน่ง SOUND ENGINEER หรือ วิศวกรเสียง นั้นเป็นตำแหน่งที่สำคัญมาก ๆ และการเริ่มต้นอยากเป็น SOUND ENGINEER วิศวกรเสียง นั้นไม่ได้ยากอย่างที่คิด ในต่างประเทศมีสถาบันที่เปิดสอนด้าน SOUND ENGINEER ดัง ๆ มากมาย เช่น

  • POINT BLANK MUSIC SCHOOL อยู่ที่เมืองลอนดอน ประเทศอังกฤษ
  • dBS The Sound & Music Intitude อยู่ที่เมือง Plymouth ประเทศอังกฤษ
  • BERKLEE COLLEGE OF MUSIC อยู่ที่เมืองบอสตัล รัฐแมสซาซูเซตส์ ประเทศสหรัฐอเมริกา
  • FULL SAIL UNIVERSITY อยู่ที่ รัฐฟลอริดา ประเทศสหรัฐอเมริกา

ส่วนในประเทศไทยนั้น ทาง LIVE FOR SOUND ได้ออกแบบและพัฒนาหลักสูตรการเรียน SOUND ENGINEER ให้มีความทันสมัยทัดเทียมของต่างประเทศ ทั้งในส่วนของวิชาการและในส่วนของอุปกรณ์การเรียนการสอน ที่มีความทันสมัยและเพียงพอต่อความต้องการของผู้เรียน

แต่หากใครต้องการเรียนต่อระดับปริญญาตรีด้าน “วิศวกรเสียง” สามารถมาเรียนปรับพื้นฐานกับทาง Live For Sound เพื่อเรียนต่อในมหาวิทยาลัยในประเทศไทยได้ดังนี้

ใครที่สนใจอยากทำอาชีพด้าน SOUND ENGINEER สามารถเข้าไปดูรายละเอียดเพิ่มเติมตามนี้ได้เลย หลักสูตรเรียน SOUND ENGINEER หรือ อ่านบทความเพิ่มเติม เรียน SOUND ENGINEER จะสามารถไปทำงานที่ไหนได้บ้าง ? หรือบทความเกี่ยวกับห้องประชุม ห้องประชุม ควรมีอะไรบ้าง

หรือสนใจสอบถามคอร์สเรียนและหลักสูตรต่าง ๆ สามารถสอบถามได้ที่

โทรศัพท์ 02-550-6340, 064-198-2499

Line : @liveforsound

Email : [email protected]

บทความโดย: ทรงพล แจ่มแจ้ง (SOUND ENGINEER)

รับติดตั้งระบบเสียง ห้องประชุม ร้านอาหาร ผับบาร์ ห้องคาราโอเกะ ห้องจัดเลี้ยง ระบบเสียงสนามกีฬา ระบบเสียงร้านกาแฟ สามารถปรึกษาทางทีมงาน LIVE FOR SOUND ได้ พร้อมรับตรวจเช็ค แก้ไขปัญหาระบบเสียงทุกรูปแบบ โดยทีมงานมืออาชีพ ที่มีประสบการณ์มากกว่า 15 ปีสถาบันเทคโนสาขาเทคโนโลยี

สอบถามข้อมูลการเรียนได้ทาง