5 เทคนิคมิกซ์เสียงกีต้าร์ในงานแสดงสด

บทความ 5 เทคนิคมิกซ์เสียงกีต้าร์ในงานแสดงสด

เรียนรู้ 5 เทคนิคมิกซ์เสียงกีต้าร์ในงานแสดงสดให้เสียงออกมาไพเราะ

กีต้าร์ถือเป็นเครื่องดนตรีชิ้นสำคัญลำดับต้นๆในวงดนตรี เพราะเป็นเครื่องดนตรีที่เป็นทั้งริทึ่มและโซโล อย่างน้อยในวงดนตรีหรือเพลง ต้องมีเครื่องดนตรีประเภทกีต้าร์เข้ามาเกี่ยวข้อง และการมิกซ์เสียงกีต้าร์ในงานแสดงสดนั้น ต้องใช้ความชำนาญและเทคนิคต่างๆ เพื่อให้ได้เสียงกีต้าร์ที่เหมือนต้นฉบับมากที่สุด ในบทความนี้เรามาดู 5  เทคนิคในการมิกซ์เสียงกีต้าร์ในงานแสดงสดของคุณให้เจ๋งกันไปเลยครับ

นอกจากเทคนิคการมิกซ์จาก SOUND ENGINEER สำคัญที่สุดคือ เทคนิคการเล่นและปรับเสียงของมือกีต้าร์ก็มีส่วนสำคัญเช่นเดียวกัน

การเลือกอุปกรณ์

การเลือกอุปกรณ์นั้น เป็นส่วนสำคัญลำดับแรก เพราะต้นกำเนิดเสียงนั้นสำคัญที่สุด มือกีต้าร์ทุกคนจะต้องเลือกเลือกอุปกรณ์ที่เหมาะสมกับแนวเพลงที่จะเล่นมาเป็นอับดับแรก ไม่ว่าจะเป็นตัวกีต้าร์ที่จะเล่น เอฟเฟค ตู้แอมป์ขยายเสียง รวมไปถึงสายสัญญาณที่ต่อพ่วงกับอุปกรณ์ต่างๆในการเล่น ล้วนมีส่วนต่อคุณภาพเสียงที่ได้ยินทั้งสิ้น SOUND ENGINEER ควรทำความคุ้นเคยทักษะและเทคนิคการเล่น การปรับแต่งเสียงของมือกีต้าร์ และควรให้คำแนะนำพูดคุยแนวทางในการเลือกใช้อุปกรณ์ เพื่อให้ได้เสียงที่ต้องการและมิกซ์ออกมาได้เจ๋งที่สุด สร้างความประทับใจให้แก่ผู้ชมและนักแสดง

ทำความคุ้นเคยกับมือกีตาร์

นอกจากจะต้องใช้เทคนิคในการปรับแต่งเสียงของเราแล้ว การทำความคุ้นเคยกับมือกีต้าร์นั้นเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่ง เพราะหากขาดความไว้วางใจแล้ว ต่อให้เรามีฝีมือเก่งกาจขนาดไหน ก็ไม่สามารถปรับเสียงให้เป็นที่ถูกใจของมือกีต้าร์ได้ แต่ถ้าได้รับความไว้วางใจเมื่อไหร่ งานมิกซ์เสียงของคุณก็จะสบายหายห่วงขึ้นมาทันที และสิ่งที่ต้องระวังคือ ในเอฟเฟคที่มือกีต้าร์ใช้นั้น มักจะมี EQ อยู่ด้วย ต้องพูดคุยถึงโทนเสียงที่ควรจะเป็น พราะหากเมื่อเหยียบเสียงเพิ่ม EQ เมื่อไหร่ โทนเสียงทุกอย่างก็จะเปลี่ยนไปในทันที อีกอย่างที่สำคัญเลยก็คือ การปรับเกนของเอฟเฟคต่างๆ ควรจะอยู่ที่ระดับเสียงใกล้เคียงกัน ไม่มีตัวไหนดังไปหรือเบา ไม่เช่นนั้น การบาลานซ์เสียงจะกลายเป็นเรื่องยากทันที หากให้เป็นการดี ควรที่จะให้มือกีต้าร์มายืนฟังเสียงที่ด้านหน้าพร้อมกับเราไปด้วย จะได้เกิดควมสบายใจและไว้วางใจซึ่งกันและกัน

การเลือกไมโครโฟนและ DI BOX

การเลือกไมโครโฟนมีส่วนสำคัญอย่างยิ่งในการมิกซ์เสียง กีต้าร์ เพราะเป็นตัวรับสัญญาณเสียงมาจากหน้าตู้แอมป์กีต้าร์ การเลือกไมโครโฟนที่ดีนั้น ควรเลือกไมโครโฟนที่ให้เสียงกลางที่ราบเรียบ เพราะโดยปกติแล้ว โทนเสียงกีต้าร์นั้นมักจะอยู่ในย่านเสียงกลางเป็นหลัก และควรรองรับความดังได้สูง ไม่เช่นนั้นไมโครโฟนจะมีเสียงแตกอันเนื่องมาจากรับเสียงที่ดังเกินไป ไมโครโฟนสำหรับงาน Live ที่แนะนำได้แก่ Shure SM57 ถือว่าเป็นไมโครโฟนระดับโลกไปแล้ว สำหรับรุ่นนี้ เป็นไมโครโฟนที่นิยมใช้กันเยอะที่สุด หรือจะใช้ไมโครโฟนยี่ห้ออื่นก็ได้ อยู่ที่ว่า อยากได้เสียงออกมาแบบไหน นอกจากไมโครโฟนแล้ว อุปกรณ์ที่สำคัญอีกชิ้นนั่นก็คือ DI BOX เป็นอุปกรณ์แปลงสัญญาณเสียง เพราะบางครั้ง มือกีต้าร์ได้ต้องการใช้เสียงจากหน้าตู้ อยากได้เสียงที่ออกจาก EFX เขาโดยตรง จำเป็นต้องมี DI BOX คุณภาพดีไว้ใช้งาน เพราะคือด่านสำคัญที่นำเสียงกีต้าร์ออกไปเข้าสู่มิกเซอร์ หรืออาจจะใช้ Amp Simulator ตัวจำลองแอมป์กีต้าร์ ก็จะได้เสียงที่ใกล้เคียงกับตู้แอมป์จริง แถมได้เสียงบนเวทีที่สะอาด ไม่มีเสียงดังจากตู้แอมป์ไปรบกวนผู้ฟัง ทำให้การบาลานซ์เสียงกีต้าร์ทำได้ง่ายขึ้นอีกด้วย

ดีไอบ๊อกซ์ KlarkTeknik-DI20P

ครอสเรียนมิกซ์เสียงการแสดงสด

– เรียนรู้เกี่ยวกับทฤษฎีของเสียง
– เรียนรู้การใช้งานอุปกรณ์ในงานแสดงสด
– ฝึกปฏิบัติจริงกับอุปกรณ์ที่ได้มาตรฐานระดับสากล
– มีใบ certificate มอบให้หลังจบหลักสูตร

วางตำแหน่งไมโครโฟนให้รับเสียงได้ดีที่สุด

นอกจากเลือกใช้ไมโครโฟนให้ตอบโจทย์ต่อเสียงที่ต้องการแล้ว ตำแหน่งการวางไมโครโฟนก็สำคัญยิ่ง ไมโครโฟนไม่ใช่วางจะวางตำแหน่งไหนก็ได้ เสียงที่ได้จะแตกต่างกันมาก เทคนิคเล็กๆน้อยในการวางไมโครโฟนคือ
- วางตรงกลางดอกลำโพง การวางตำแหน่งนี้ทำให้ได้เสียงกลางที่ชัดเจนและเสียงเบสที่คมชัดไม่เบลอ
- ขยับออกมาด้านข้าง ตำแหน่งนี้จะได้เสียงที่ขุ่นมัว เหมาะกับการวางในขณะที่มือกีต้าร์ปรับหน้าตู้มาแหลมมากจนเกินพอดี ใช้วิธีวางไมโครโฟนหลบเสียงแทน จะช่วยให้ลดเสียงแหลมลงก่อนที่จะทำการ EQ ได้

จัดการโทนและความดังด้วย EQ และ Compressor

โทนเสียงที่ต้องการนั้น บางครั้งไม่สามารถทำมาจากต้นกำเนิดได้ จะด้วยปัจจัยใดๆก็แล้วแต่ การใช้งาน EQ ให้มีความแม่นยำ จะช่วยให้เราได้โทนเสียงที่ต้องการได้มากขึ้น แต่สิ่งหนึ่งที่ต้องพึงระวังคือ อย่าทำให้โทนเสียงนั้นผิดเพี้ยนจากความเป็นจริงมากเกินไปจนมือกีต้าร์รู้สึกได้ มือกีต้าร์หลายคนนั้นค่อนข้างจะซีเรียสในเรื่องของโทนเสียงกีต้าร์ เราควรจะต้องทำให้มีความไว้วางใจด้วยการ เชิญมือกีต้าร์ลงมาเล่นข้างล่างและฟังเสียงโทนกีต้าร์ที่ออกมาจากลำโพงด้วยตัวเอง ปรับ EQ ให้ถูกใจที่สุด แล้วหลังจากนั้นค่อยว่ากันขณะโชว์จริง ในส่วนของ Compressor นั้น เป็นอุปกรณ์ที่ช่วยเสริมสร้างความชัดเจนของตัวโน้ต ในขณะที่มือกีต้าร์บรรเลงเพลงท่อนโซโล่ อีกทั้งยังช่วยควบคุมไดนามิกความดังเบาของเสียงให้อยู่ในบาลานซ์ที่ต้องการ ช่วยให้มือกีต้าร์ที่เทคนิคการเล่นยังไม่เก่งมากพอดูเป็นมือกีต้าร์ระดับโปรได้

การต่อสัญญาณผ่าน DI BOX จะช่วยให้ได้สัญญาณเสียงที่ดียิ่งขึ้น

เทคนิคเล็กน้อยในการมิกซ์เสียงกีต้าร์ในพื้นที่ขนาดเล็ก

เสียงคำรามที่ดังของหน้าตู้กีต้าร์บางครั้ง สร้างความรำคาญมากกว่าความไพเราะ สาเหตุของเสียงหน้าตู้กีต้าร์ที่ดังนั้น มักจะมาจากการที่มือกีต้าร์ไม่ได้ยินเสียงกีต้าร์ตัวเอง เพราะการเล่นในสถานที่ขนาดเล็กนั้น มักจะยืนกระจุกกันเป็นส่วนใหญ่ ทำให้เสียงกลองนั้นดังกลบเสียงอื่นทั้งหมด ถ้าหากเป็นไปได้ให้นักดนตรีใช้ IN EAR MONITOR แทนการฟังเสียงจากลำโพงมอนิเตอร์บนเวที นอกจากจะสามารถได้ยินเสียงเครื่องดนตรีตัวเองที่ชัดเจนแล้ว ยังสามารถลดเสียงดังรอบข้าง ช่วยถนอมหูเราได้เป็นอน่างดีอีกด้วย

สรุป :

การมิกซ์เสียงกีต้าร์ให้ได้โทนเสียงที่ดีนั้น ต้องเริ่มจากความสามารถในการเล่นของนักดนตรี การเลือกอุปกรณ์และการปรับโทนเสียงของ SOUND ENGINEER ความเข้าใจในดนตรีก็เป็นส่วนสำคัญที่ทำให้เสียงออกมาสมบูรณ์ เหนือสิ่งอื่นใด การได้พูดคุยกับเจ้าของผลงานหรือศิลปินที่เล่นบนเวทีเป็นสิ่งสำคัญยิ่ง ที่ทำให้งานราบรื่นและได้ผลตอบรับที่ดีจากทั้งตัวศิลปินเองและกับผู้ชมที่ฟังผลงานของศิลปินที่ตนเองชื่นชอบ SOUND ENGINEER เป็นแค่ผู้อยู่เบื้องหลังคอยผลักดันผลงานให้ออกมาดีที่สุด

“เทคนิคที่ยอดเยี่ยม ไม่สำคัญเท่าความเข้าใจที่เยี่ยมยอด”

อีกเรื่องที่สำคัญกับวงดนตรี ก็คือ การมิกซ์เสียงกลอง และสำหรับใครที่สนใจอยากทำอาชีพด้าน SOUND ENGINEER สามารถเข้าไปดูรายละเอียดเพิ่มเติมตามนี้ได้เลย หลักสูตร SOUND ENGINEER หรือ อ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับ SOUND ENGINEER เช่น  SOUND ENGINEER เริ่มต้นอย่างไร หรือ  เรียน SOUND ENGINEER มาทำงานอะไรได้บ้าง รวมถึงบทความดี ๆ ที่เกี่ยวกับห้องประชุม เช่น อุปกรณ์ห้องประชุมควรมีอะไรบ้าง

หรือสนใจสอบถามคอร์สเรียนและหลักสูตรต่าง ๆ สามารถสอบถามได้ที่
โทรศัพท์ 02-550-6340, 064-198-2499
Line : @liveforsound
Email : [email protected]

บทความโดย: ทรงพล แจ่มแจ้ง (SOUND ENGINEER)

         รับติดตั้งระบบเสียง ห้องประชุม ร้านอาหาร ผับบาร์ ห้องคาราโอเกะ ห้องจัดเลี้ยง ระบบเสียงสนามกีฬา ระบบเสียงร้านกาแฟ สามารถปรึกษาทางทีมงาน LIVE FOR SOUND ได้ พร้อมรับตรวจเช็ค แก้ไขปัญหาระบบเสียงทุกรูปแบบ โดย ทรงพล แจ่มแจ้ง และทีมงานมืออาชีพ ที่มีประสบการณ์มากกว่า 15 ปี

สอบถามข้อมูลการเรียนได้ทาง