ระดับเสียงที่เป็นอันตราย

บทความ ฟังเสียงดังนาน ๆ อันตรายแค่ไหน

             เคยสังเกตุไหมว่าบางครั้งเราอยากรีบออกไปให้พ้นจากท้องถนนที่วุ่นวาย ไปหลบอยู่ในร้านกาแฟเงียบ ๆ สักที่ หรือบางทีเราก็อยากเดินหลีกหนีจากการล้อมวงสนทนาอย่างออกรสชาติของกลุ่มเพื่อน ๆ หรือแม้กระทั่งในการดูคอนเสิร์ตก็ยังมีบางจังหวะที่เราอยากเดินออกจากคอนเสิร์ตร็อค ออกมาพักหู ให้คลาย เสียงดังอื้ออึงที่กระหึ่มหรือดังก้องในหูอย่างต่อเนื่อง สิ่งนี้เป็นปฏิกิริยาอัตโนมัติที่ร่างกายกำลังพยายามให้เราออกจากแหล่งกำเนิดที่มีระดับเสียงที่ไม่ปลอดภัยนั่นเอง

เสียงดัง

             โดยสัญญาณที่บ่งบอกว่าเสียงดังเกินไปก็คือ เราต้องเพิ่มเสียงของตัวเองเพื่อที่จะได้ยินเสียงพูด หรือไม่สามารถได้ยินหรือเข้าใจใครซักคนที่อยู่ห่างจากคุณ 3 ฟุต หรือคำพูดรอบตัวคุณฟังดูอู้อี้หรืออื้ออึงหลังจากที่คุณออกจากบริเวณที่มีเสียงดัง หรือบางครั้งคุณมีอาการปวดหรือหูอื้อหลังจากได้ยินเสียงที่ดังมาก ๆเป็นเวลานาน ซึ่งกว่าจะหายได้ อาจใช้เวลาสองสามนาทีหรือสองสามวัน
             หูของเราไวต่อความรู้สึกอย่างมาก เสียงรบกวนทำให้เกิดความจดจ่อสิ่งใดสิ่งหนึ่งได้ยากขึ้น เราอาจจะไม่ปลอดภัยในการทำงาน เสียงรบกวนอาจทำให้การทำงานของเรามีประสิทธิภาพน้อยลง ห้องเรียนที่มีเสียงดังอาจทำให้เด็กเรียนรู้ได้ยากขึ้น เด็กไม่มีสมาธิในการเรียนหนังสือ เราอาจจะยากที่จะเข้าใจสิ่งที่คนอื่นพูดเมื่อมีเสียงดัง เราอาจต้องใช้สมาธิมากขึ้นและใช้พลังงานมากขึ้นในการฟังและคนพูดต้องพูดดังหรือตะโกน ซึ่งจะทำให้การสนทนานั้นยากยิ่งขึ้นไปอีก จนอาจทำให้เราเลิกพยายามพูดหรือฟังสิ่งนั้นไปเลย
             เราจะเห็นแล้วว่าเสียงดังนั้นทำให้สูญเสียการได้ยิน มันสามารถส่งผลกระทบต่อสุขภาพ การทำงาน การเรียนรู้ และชีวิตทางสังคม สิ่งสำคัญคือต้องลดเสียงรบกวนในชีวิตออกไปด้วยเหตุผลทั้งหมดเหล่านี้เอง

ความดังระดับไหนบ้างที่ไม่ปลอดภัย

เสียงดัง

"นักวิทยาศาสตร์ได้ทำการวัดเสียงที่แหล่งกำเนิดเสียงโดยใช้หน่วยที่เรียกว่าเดซิเบล (Decibel) การเพิ่ม 1 เดซิเบล แต่ละครั้งจะเท่ากับความเข้มของเสียงที่เพิ่มขึ้น 10 เท่า ความดังที่ระดับ 0 เดซิเบลเป็นระดับเสียงที่เงียบที่สุดที่คนหนุ่มสาวที่มีการได้ยินปกติสามารถรับรู้ได้"

             หูของมนุษย์เริ่มพัฒนาขึ้นเพื่อตรวจจับเสียงกระซิบและเสียงกระหึ่มเบา ๆ ที่มีความดัง 10 เดซิเบล ในป่าที่เงียบสงบซึ่งอาจเตือนถึงอันตรายที่ย่างกรายเข้ามา ทว่าทุกวันนี้ มีเพียงไม่กี่คนเท่านั้นที่อาศัยอยู่ในสภาพแวดล้อมที่เงียบสงบเช่นนี้

             ความดังของเสียงเมื่อมีคนกระซิบ เสียงหยิบหนังสือ หรือสับเปลี่ยนหน้าหนังสือ แม้แต่ในห้องสมุดก็อาจมีเสียงถึง 35 เดซิเบล ในห้องนอนเองบางครั้งอาจมีระดับเสียงถึง 40 เดซิเบล ส่วนห้องครัว เมื่อเราทิ้งขยะ เครื่องอุปกรณ์ที่ใช้ผสมอาหาร ใช้งานเครื่องปั่นอาหาร หรือเครื่องล้างจานที่กำลังทำงาน ระดับเสียงอาจสูงถึง 80 หรือ 90 เดซิเบล เครื่องดูดฝุ่นอาจมีเสียงดังถึง 80 เดซิเบล โทรทัศน์ อุปกรณ์เครื่องเสียงภายในบ้าน และหูฟังอาจทำให้หูของวัยรุ่นอย่างเราได้รับเสียงเกิน 100 เดซิเบลก็เป็นได้

             ในส่วนของพื้นที่กลางแจ้งนั้น เสียงรบกวนมักจะดังขึ้นจากการจราจรหนาแน่นปานกลางในเมืองที่รถสามารถวิ่งได้ ความดังเสียงจะอยู่ที่ประมาณ 70 เดซิเบล รถไฟวางผ่านและฟ้าร้องอาจจะมีความดังสูงถึง 100 เดซิเบล

             ห้องซ้อมดนตรีหรือเครื่องบินเจ็ทที่บินขึ้นจากระยะไกล 610 เมตร (2,000 ฟุต) ความดังสามารถไต่ขึ้นไปได้สูงถึง 120 เดซิเบล ความดังขนาดนี้ อาจจะทำให้แก้วหูระเบิดได้ และบนดาดฟ้าของเรือบรรทุกเครื่องบินของกองทัพเรือสามารถมีความดังสูงถึง 140 เดซิเบลเมื่อเครื่องบินเจ็ตกำลังทะยานขึ้นจากดาดฟ้าของเรือบรรทุกเครื่องบิน

             ในระดับระดับเสียงดังเกิน 70 – 75 เดซิเบล เอ (dBA) ขึ้นไป หากฟังอยู่นาน ๆ ความรู้สึกต่อการได้ยินจะลดความไวลง องค์การอนามัยโลก ได้กำหนดไว้ว่าเสียงที่เริ่มมีอันตรายต่อหู คือเสียงที่มีความดังระดับ 80 – 90 เดซิเบล ขึ้นไป ส่วนช่วงเวลาก็มีความสำคัญเช่นกันเพราะพบว่า ถ้าต้องทำงานในที่มีเสียงดังระดับ 80 – 90dB จะต้องทำงานนั้นไม่เกิน วันละ 7 – 8 ชม. เพราะถ้าเกินกว่านี้จะเกิดอาการหูอื้อ ยิ่งนานไปจะทำให้ประสาทหูถูกทำลายจากเสียงดังได้

โดยในส่วนของเกณฑ์กำหนดของระดับเสียงที่เป็นอันตรายในประเทศไทยนั้น กรมแรงงาน กระทรวง มหาดไทยได้กำหนดมาตรฐานของระดับเสียงในสถานประกอบการต่าง ๆ ไว้ดังนี้คือ

  1. ได้รับเสียงไม่เกินวันละ 7 ชั่วโมง ต้องมีระดับเสียงติดต่อกันไม่เกิน 91 เดซิเบล
  2. ได้รับเสียงวันละ 7 – 8 ชั่วโมง ต้องมีระดับเสียง ติดต่อกันไม่เกิน 90 เดซิเบล
  3. ได้รับเสียงเกินวันละ 8 ชั่วโมง ต้องมีระดับเสียง ติดต่อกันไม่เกิน 80 เดซิเบล
  4. นายจ้างให้ลูกจ้างทำงานในที่ ๆ มีระดับเสียงเกิน 140 เดซิเบล ไม่ได้

เราจะป้องกันอันตรายที่เกิดจากเสียงดังรบกวนได้อย่างไร ?

             เมื่อเราได้ทราบถึงอันตรายจากการที่เราได้รับเสียงที่ดังเกินไปแล้ว แต่ในชีวิตบางครั้งเราอาจหลีกเลี่ยงสถานการณ์ที่ต้องอยู่ในที่ ๆ มีเสียงได้ อันเนื่องมาจากการประกอบอาชีพ โดยอาจเป็นอาชีพที่ต้องอยู่ในที่ ๆ มีเสียงดังนาน ๆ เช่น อาชีพนักดนตรี ดีเจ ซาวด์เอนจิเนียร์ คนขับรถเมล์ หรือช่างก่อสร้าง เป็นต้น เราก็ควรมีวิธีป้องกันดังต่อไปนี้ คือ

  • สวมอุปกรณ์ป้องกันการได้ยิน เช่น ที่อุดหูหรือที่ปิดหู โดยที่อุดหูที่ดีนั้นสามารถลดเสียงรบกวนได้ 15 ถึง 30 เดซิเบล เลยทีเดียว
  • อย่าฟังเสียงดังนานเกินไป ถอยห่างจากเสียงดังหากคุณไม่มีอุปกรณ์ป้องกันการได้ยิน ให้หูของคุณหยุดพัก ใช้นิ้วอุดหูขณะรถฉุกเฉินวิ่งผ่าน
  • ลดระดับเสียง ตั้งค่าอุปกรณ์ฟังส่วนตัวไว้ที่ระดับเสียงไม่เกินครึ่ง องค์การอนามัยโลกแนะนำให้เปิดเสียงสัปดาห์ละ 40 ชั่วโมงในระดับเสียงไม่เกิน 80 เดซิเบลสำหรับผู้ใหญ่และ 75 เดซิเบลสำหรับเด็กโดยใช้อุปกรณ์ฟังส่วนตัว
  • เลือกใช้อุปกรณ์ไฟฟ้า อุปกรณ์กีฬา เครื่องมือไฟฟ้า และเครื่องเป่าผม ที่มีเสียงที่เบาที่สุด รวมไปจนถึงการซื้อของเล่นสำหรับเด็ก
  • หลีกเลี่ยงการอยู่ในสถานที่ ๆ มีกิจกรรมการใช้เสียงดังมาก ๆ เป็นเวลานาน ๆ เช่น เทศกาลงานวัด งานคอนเสิร์ต เป็นต้น

สรุป :

             จะเห็นได้ว่าการอยู่ในที่ ๆ มีระดับเสียงดังนาน ๆ นั้นสามารถก่อให้เกิดอันตรายกับหูของเราได้ แต่ในขณะเดียวกัน เราเองก็ได้ทราบวิธีป้องกันหรือลดอันตรายจากเสียงที่ดัง ต่อไปขอเพียงใส่ใจป้องกัน เมื่อต้องอยู่ในที่เสียงดังและหลีกเลี่ยงไม่ได้ เพียงแค่นี้ก็จะเป็นการช่วยรักษาให้หูที่เรารัก ให้ปลอดภัยอยู่กับเราไปได้อีกนานแสนนานครับ

             Live For Sound เรายังมีคอร์สเรียนเกี่ยวกับระบบเสียงที่น่าสนใจ คอร์สเรียนวิศวกรระบบเสียง หากอยากทราบว่า วิศวกรระบบเสียงคืออะไร เริ่มต้นอย่างไร ทำงานที่ไหนได้บ้าง

หรือ สนใจสอบถาม คอร์สเรียนและหลักสูตรต่าง ๆ สามารถสอบถามได้ที่

     โทรศัพท์ 02-550-6340, 064-198-2499

      Line : @liveforsound

      Email : [email protected]

บทความโดย: อาทิตย์ พรหมทองมี

รับติดตั้งระบบเสียง ห้องประชุม ร้านอาหาร ผับบาร์ ห้องคาราโอเกะ ห้องจัดเลี้ยง ระบบเสียงสนามกีฬา ระบบเสียงร้านกาแฟ สามารถปรึกษาทางทีมงาน LIVE FOR SOUND ได้ พร้อมรับตรวจเช็ค แก้ไขปัญหาระบบเสียงทุกรูปแบบ โดยทีมงานมืออาชีพ ที่มีประสบการณ์มากกว่า 15 ปี

สอบถามข้อมูลการเรียนได้ทาง