วิธีการออกแบบการติดตั้งระบบเสียงสำหรับผับบาร์หรือร้านอาหาร

บทความ วิธีการออกแบบการติดตั้งระบบเสียงสำหรับผับบาร์หรือร้านอาหาร

ติดตั้งระบบเครื่องเสียงในร้านอาหาร ผับ อย่างไรให้เสียงออกมาไพเราะ

คำถามที่เราพบบ่อยที่สุดตลอดการบริการ 20 ปี เกี่ยวกับการติดตั้งเครื่องเสียงในร้านอาหาร หรือ สถานบันเทิงต่างๆ คือจะติดตั้งอย่างไรให้ระบบเสียงออกมามีความไพเราะ เสียงดังฟังชัด  หากเป็นร้านอาหารนั่งชิลก็อยากได้เสียงที่มีความนุ่มลึกฟังสบาย หากเป็นผับก็ขอเสียงแบบสนุกเร้าใจ แต่ยังคงฟังได้อย่างรื่นหู ได้ยินถึงกับกลืนน้ำลายเลยทีเดียวกับโจทน์ยากแบบนี้ วันนี้ทีมงาน Live for Sound มีคำตอบมาให้เจ้าของร้าน หรือผู้ที่ต้องการจะติดตั้งเครื่องเสียงได้พิจารณาถึง 7 ข้อหลักในการติดตั้งเครื่องเสียงภายในร้านอาหารชนิดต่างๆ ดังนี้

สถานที่ (THE VENUE)

ขนาดของสถานที่จะเป็นปัจจัยสำคัญในการพิจารณาติดตั้งระบบเสียงใหม่ แต่ควรคำนึงถึงโครงสร้างของสถานที่เป็นพิเศษเสมอ ผับ บาร์ หรือร้านอาหารที่มีพื้นผิวกระจกหรือโลหะขนาดใหญ่ ที่อาจทำให้เกิดเสียงสะท้อนและบิดเบือนเสียง เสียงรั่วออกนอกอาคาร สิ่งเหล่านี้เป็นเสียงที่กวนใจและไล่ลูกค้าเราเลยก็ว่าได้ หรือปัญหาการรั่วไหลของเสียง ที่ดังจนไปรบกวนชุมชนบ้านเรือนคนอื่น ก่อนติดตั้งเครื่องเสียง ต้องวางแผนแก้ไขเรื่องเหล่านี้โดยผู้ชำนาญเพื่อให้ปัญหาดังกล่าวนั้นหมดไป

ลำโพง และ ตำแหน่งการติดตั้ง

สำหรับผับ บาร์ หรือร้านอาหารแบบห้องเดี่ยวขนาดเล็กที่ต้องการเสียงพื้นหลังในเวลากลางวัน รวมถึงการเชื่อมต่อกับดีเจ และดนตรีสด โดยทั่วไปเราจะติดตั้งลำโพงเสียงกลางให้ได้ยินโทนที่ชัดเจนและไพเราะก่อนอันดับแรก เพราะหัวใจคือเสียงพูดของดีเจ หรือเสียงร้องของนักร้องเป็นหัวใจสำคัญที่ห้ามมองข้ามเป็นอันขาด

การติดลำโพง
- กลางสูงที่ 4 - 6 ตัว และ ตู้เบสขนาดเล็กสองตู้ set ลำโพงเสียงกลาง
- ให้มีหน้าที่ในการถ่ายทอดเสียงเพลงและเสียงร้องคมชัด และจะติดตั้งบนเพดานหรือผนังเสมอโดยมีความสูง 2.6 - 2.8 เมตร
- พิจาณาให้แหล่งกำเนิด (Sound Source) ของเรา ควรห่างจากที่สาธารณะ หรือบ้านเรือนโดยรอบ เพื่อไม่ให้ออกไปรบกวนภายนอกบริเวณร้าน อันนี้จะต้องใช้เทคนิคและออกแบบโดยผู้ชำนาญการ ไม่งั้นอาจจะแก้ไขปัญหานี้ได้ไม่ดีเท่าที่ควร หรือแก้ไขไปแล้วปัญหาไม่จบนั่นเอง
- จบท้ายด้วย Sub Bass ตู้ลำโพงซับวูฟเฟอร์บนพื้น เพิ่มความอุ่นและหนาแน่นของเสียงในร้านคุณ ซึ่งจะเป็นเสียงที่วิเศษเลยทีเดียว

การเว้นความห่างของพื้นที่ (SPACE)

การจัดวางพื้นที่โต๊ะนั่งของลูกค้า ตามจุดต่างๆ เป็นปัจจัยสำคัญในการกำหนดตำแหน่ง ที่ลำโพงจะส่งเสียงได้อย่างทั่วถึง หากพื้นที่ของร้านมีจุดอับ จุดแคบ จุดบอดจำนวนมาก ปัญหาที่จะตามมาคือ เสียงเพลง หรือเสียงนักดนตรีที่เล่นบนเวที จะมาไม่พร้อมกันทำให้เกิดเสียงที่ดีเลย์ในพื้นที่ดังกล่าว สิ่งเหล่านี้ต้องแก้ไขโดยผู้ชำนาญเฉพาะด้าน ในการคำนวณ และเพิ่มเติมอุปกรณ์ที่จำเป็นเพื่อแก้ไขปัญหาให้หมดไป

โปรเซสเซอร์เสียงดิจิทัล (DSP)

DSP (Digital Signal Processor) หากพูดให้เข้าใจใน 2 นาที คือ ตัวอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์เปรียบดังหัวใจหรือสมองเลยก็ว่าได้ ที่จะทำให้ระบบเสียงของเรานั้นออกมาดีหรือแย่ เจ้า DSP ยังสามารถปรับแต่งแก้ไขปัญหาต่างๆ ได้อีก 108 เพื่อที่กระบวนการสุดท้ายจะมั่นใจว่า ได้ปรับแต่งปัญหาต่างๆ เรียบร้อยแล้ว จึงค่อยปล่อยเสียงออกสู่ลำโพง (PA) นั่นเอง ไว้ครั้งหน้าแอดมิน จะมาเล่าถึงเจ้า DSP แบบละเอียดเลยว่ามันคืออะไรทำงานอย่างไร

ตัวอย่าง
Limiter : เราสามารถตั้งค่าOutput ระดับเสียงสูงสุดสำหรับระบบเสียงในร้านของเราได้ ดังนั้นไม่ว่า DJ Dave หรือวงดนตรีสด จะปรับระดับเสียงบนมิกเซอร์ของเขาให้ดังแค่ไหนลำโพงก็จะไม่พังนั่นเอง

Equalization : เปิดใช้งานการปรับแต่งเสียงในย่านความถี่ตามที่ต้องการ สามารถปรับแต่งระบบเสียงแก้ไขย่านความถี่ ที่ทำให้เกิดความสั่นสะเทือนของห้องและโครงสร้างในร้าน และลดความถี่ที่ทำให้หูของเราฟังแล้วรู้สึกล้าอึดอัดได้อีกด้วย

การควบคุมโซน (Zone control) : ช่วยให้ระบบเสียงของร้านเรานั้นสามารถสลับไปมา และ ควบคุมระดับเสียงของแหล่งเครื่องเล่นต่างๆ ได้อย่างง่ายดาย และดูมีความเป็นมืออาชีพอีกด้วย (ทีวี ดีเจ ดนตรีสด เครื่องเล่นซีดี ฯลฯ )

ครอสโอเวอร์ (Crossover) : การตรวจสอบให้แน่ใจว่าสัญญาณหรือย่านความถี่ ที่ถูกต้องก่อนถูกส่งไปยังลำโพง PA (แก้ไขปัญหาย่านความถี่เพี้ยนทำให้ระบบเสียงของเราฟังออกมาดูแย่เลยก็ว่าได้)

ตัวจำกัดเอาต์พุต (Output limiters) : กำหนดการตั้งค่าการควบคุมระดับเสียงตามความถี่ของตู้ลำโพงแต่ละตัวซึ่งจะช่วยให้สามารถตั้งระดับเสียงที่แตกต่างกัน สำหรับลำโพงที่แตกต่างกันภายในตู้เดียวกันได้แบบมืออาชีพเลยทีเดียว

บริการตรวจสอบระบบเสียง

– ตรวจเช็คคุณภาพของลำโพง การตอบสนองความถี่ มีความผิดเพี้ยนจากโรงงานหรือไม่
– ตรวจสอบความถูกต้องและคุณภาพของสายสัญญาณ
– ตรวจสอบตำแหน่งการติดตั้งลำโพง
– ตรวจสอบการทำงานของอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ เช่น เพาเวอร์แอมป์ มิกเซอร์ อุปกรณ์ปรุงแต่งเสียง ว่าอยู่ในสภาพสมบูรณ์หรือไม่
– ตรวจสอบแก้ไขระบบไฟฟ้าสำหรับอุปกรณ์ระบบเสียง

เครื่องขยายสัญญาณ (AMPLIFICATION)

เครื่องขยายเสียง เป็นอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์ที่จำเป็นสำหรับการติดตั้งระบบเสียงทั้งหมด ในรูปแบบที่ง่ายที่สุด แอมพลิฟายเออร์จะรับสัญญาณเสียงจาก DSP เพื่อขยายสัญญาณแล้วค่อยส่งสัญญาณที่ขยายนั้นไปยังลำโพง (PA) แอมพลิฟายเออร์มีหลายรูปแบบ โดยทั่วไปขึ้นอยู่กับปริมาณพลังงานที่สามารถส่งไปยังลำโพงได้
- กำลังสัญญาณของเครื่องขยายเสียงมีหน่วยเป็นวัตต์ (W)
- ประเภทของแอมพลิฟายเออร์และกำลังวัตต์ที่จำเป็นสำหรับระบบเสียงจะถูกควบคุมโดยประเภท ปริมาณ และความจุกำลังไฟฟ้า ของลำโพงที่ใช้ จะต้องมีการพิจารณาอย่างรอบคอบเมื่อเลือกเครื่องขยายเสียงและต้องปรึกษาวิศวกรมืออาชีพเสมอ ตามกฎทั่วไปเรามักจะพยายามค้นหาเครื่องขยายเสียงสามารถควบคุมความร้อนได้ดี ควรมีระบบระบายความร้อนด้วยอากาศอย่างยอดเยี่ยม เมื่อติดตั้งเครื่องขยายเสียงแล้ว โดยเทคโนโลยีสมัยนี้เรามักจะจัดเตรียมชุดปรับระดับเสียงด้วยรีโมทคอนโทรลให้พนักงานหรือ Sound Engineer สะดวกและปรับระบบเสียงดังกล่าวได้โดยง่าย
ส่วนใหญ่มักนิยม วางแอบไว้ด้านหลังเพื่อไม่ให้ไปกระทบความสวยงามภายในร้าน หรือบริเวณต้อนรับลูกค้า เป็นต้น

ระบบการเชื่อมต่อ (CONNECTIVITY)

จุดเชื่อมต่อหรือซ็อกเก็ตปลั๊ก Sound Engineer ต้องวางระบบเป็นอย่างดีให้สามารถเสียบอุปกรณ์ภายนอกเข้ากับระบบเสียงได้ สำหรับสถานที่ ที่มีการเปิดเพลงทั่วไปในระหว่างวันจากอุปกรณ์เครื่องเล่นเช่น iPod แล็ปท็อป ซีดี หรือโทรศัพท์ เป็นต้น Sound Engineer จะออกแบบและวางระบบโดยไม่ทำให้สายต่างๆ มีความเกะกะหรือจัดเรียงไม่เป็นระเบียบเรียบร้อย

สายสัญญาณ (CABLING)

การเลือกสายสัญญาณต่างๆ จะต้องถูกออกแบบมาให้สามารถใช้งานได้กับอุปกรณ์ต่างๆ อย่างเต็มประสิทธิภาพ ในงานแสดงสดภายในร้านอาหาร หรืองานเปิดเพลงด้วยอุปกรณ์นั้น สายสัญญาณจะต้องเหมาะกับอุปกรณ์ รวมไปถึงการคำนวณกำลังไฟฟ้าในระบบเครื่องเสียง โดย SOUND ENGINEER ผู้ชำนาญ เพื่อให้เสียงออกมาดีเยี่ยม ไม่มีเสียงรบกวนหรือสัญญาณรบกวน เช่น เสียงจี่ เสียงฮัม (HUM) และเสียงอื่นๆ ที่เราไม่ต้องการ เป็นต้น

การติดตั้งลำโพงแบบมาตรฐานแขวนลอยโดยการคำนวณระยะเสียงและพื้นที่คนฟัง

สรุป :

การออกแบบระบบเครื่องเสียงในร้านอาหาร ผับ บาร์ นั้น จะต้องได้รับการออกแบบวางรากฐานตั้งแต่สถานที่ไปจนถึงการวางระบบอุปกรณ์ โดยผู้ชำนาญเฉพาะด้าน เพื่อให้ระบบเสียงในร้านของเรานั้น สามารถทำงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ และเป็นไปตามงบประมาณที่เราตั้งไว้ โดยไม่ทำให้งบบานปลาย หากต้องมาแก้ไขทีหลังก็จะเกิดการสิ้นเปลือง Sound Engineer ผู้ออกแบบจะต้องมีความชำนาญ รู้ถึงปัญหาและเหตุผลที่เลือกใช้เทคนิคต่างๆ เข้ามาแก้ปัญหาของลูกค้าได้อย่างตรงจุด และเป็นไปตามความต้องการ

  ใครที่สนใจอยากทำอาชีพด้าน SOUND ENGINEER สามารถเข้าไปดูรายละเอียดเพิ่มเติมตามนี้ได้เลย หลักสูตร SOUND ENGINEER หรือ อ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับ SOUND ENGINEER เช่น  SOUND ENGINEER เริ่มต้นอย่างไร หรือ  เรียน SOUND ENGINEER มาทำงานอะไรได้บ้าง รวมถึงบทความดี ๆ ที่เกี่ยวกับห้องประชุม เช่น อุปกรณ์ห้องประชุมควรมีอะไรบ้าง

หรือสนใจสอบถามคอร์สเรียนและหลักสูตรต่าง ๆ สามารถสอบถามได้ที่
โทรศัพท์ 02-550-6340, 064-198-2499
Line : @liveforsound
Email : [email protected]

         รับติดตั้งระบบเสียง ห้องประชุม ร้านอาหาร ผับบาร์ ห้องคาราโอเกะ ห้องจัดเลี้ยง ระบบเสียงสนามกีฬา ระบบเสียงร้านกาแฟ สามารถปรึกษาทางทีมงาน LIVE FOR SOUND ได้ พร้อมรับตรวจเช็ค แก้ไขปัญหาระบบเสียงทุกรูปแบบ โดย ทรงพล แจ่มแจ้ง และทีมงานมืออาชีพ ที่มีประสบการณ์มากกว่า 15 ปี

สอบถามข้อมูลการติดตั้งได้ทาง