ระบบวิดีโอคอนเฟอเรนซ์ (VIDEO CONFERENCE) การประชุมทางไกลผ่านวีดีโอ

บทความ ระบบวิดีโอคอนเฟอเรนซ์ (VIDEO CONFERENCE) การประชุมทางไกลผ่านวีดีโอ

             ก่อนอื่นเราจะมาทำความเข้าใจกันก่อนนะครับว่า VIDEO CONFERENCE (วิดีโอคอนเฟอเรนซ์) หรือ การประชุมทางไกลผ่านวีดีโอคืออะไร?

VIDEO CONFERENCE (วิดีโอคอนเฟอเรนซ์) หรือ การประชุมทางไกลผ่าน VIDEO คือ การสื่อสารผ่านวิดีโอที่ช่วยให้ฝ่ายต่าง ๆ สองฝ่ายหรือมากกว่าสามารถพบปะกันแบบเห็นหน้าผ่านอินเทอร์เน็ต โดยที่แม้ผู้ร่วมประชุมซึ่งอยู่ต่างสถานที่กันสามารถทำการประชุมร่วมกันได้โดยให้ความรู้สึกเหมือนกับนั่งประชุมอยู่ในห้องเดียวกัน

             ด้วยเดสก์ท็อปหรืออุปกรณ์พกพาผ่านซอฟต์แวร์การประชุมทางวิดีโอ ที่ถูกออกแบบมาสำหรับการประชุมทางไกล การเรียนรู้ออนไลน์ และการสตรีมแบบสด โดยซอฟต์แวร์การประชุมทางวิดีโอสามารถเข้าถึงได้ทั้งผ่านแอปการประชุมทางวิดีโอหรือเว็บเบราว์เซอร์

ความเป็นมาของ VIDEO CONFERENCE (วิดีโอคอนเฟอเรนซ์) หรือ การประชุมทางวิดีโอ
             การพัฒนาครั้งแรกในการประชุมผ่านทางวิดีโอ เริ่มจากการคิดค้นของ AT&T Bell Labs และ John Logie Baird ในปี พ.ศ.2463 โดยเทคโนโลยียุคแรกนี้คือโทรศัพท์รูปภาพ (Picture telephone) เป็นการส่งภาพนิ่ง ผ่านทางสายโทรศัพท์ ต่อมาในช่วงต้นทศวรรษ ค.ศ.1970 หรือประมาณปี พ.ศ.2513 AT&T เริ่มใช้การประชุมทางวิดีโอกับบริการ Picturephone แต่ถึงอย่างไรก็ตาม การประชุมทางวิดีโอเพิ่งเริ่มแพร่หลายขึ้นในช่วงทศวรรษ ค.ศ.1980 หรือตรงกับ พ.ศ.2523 เป็นช่วงของการปฏิวัติทางคอมพิวเตอร์ ได้ทำให้เกิดการประดิษฐ์ตัวแปลงสัญญาณรวมไปถึงได้มีการเพิ่มขึ้นของบริการบรอดแบนด์ เช่น Integrated Services Digital Network ทำให้สามารถส่งภาพที่มองเห็นได้เพื่อการใช้งานส่วนบุคคล และการเปิดตัวโทรศัพท์มือถือในภายหลังก็ทำให้ความนิยมของการประชุมทางวิดีโอเพิ่มมากขึ้น

             เว็บแคม เริ่มปรากฏให้เห็นในปี พ.ศ.2523 และต่อมาในเดือนสิงหาคมปี พ.ศ.2537 ได้มีการเปิดตัว QuickCam ซึ่งเป็นเว็บแคมเชิงพาณิชย์เป็นครั้งแรก แต่ยังใช้งานได้กับคอมพิวเตอร์ Mac เท่านั้น ต่อมาจึงได้มีการพัฒนาเวอร์ชั่นที่เข้ากันได้กับระบบปฏิบัติการ Windows และเปิดตัวในปี พ.ศ.2538 ต่อมาในปี พ.ศ.2553 ทางด้านนิตยสาร Time ได้ยกให้ QuickCam เป็นหนึ่งในอุปกรณ์สำหรับคอมพิวเตอร์ที่ดีอันดับต้น ๆ ตลอดกาล

             ในปี พ.ศ.2535 บุคลากรแผนกไอทีของมหาวิทยาลัย Cornell ได้พัฒนาซอฟต์แวร์การประชุมทางวิดีโอ CU-SeeMe สำหรับคอมพิวเตอร์ Mac และพัฒนาซอฟต์แวร์สำหรับระบบปฏิบัติการ Windows ในปี พ.ศ.2537 ซอฟต์แวร์ CU-SeeMe ได้เปิดตัวใช้งานในเชิงพาณิชย์

             ในปี พ.ศ.2538 ต่อมาจนถึงในปี พ.ศ.2547 ธุรกิจจำนวนมากเริ่มนำระบบการประชุมทางวิดีโอมาใช้เป็นครั้งแรก โดยใช้เครื่อข่ายโทรคมนาคม เช่น เครือข่ายโทรศัพท์ เครือข่ายบริการสื่อสารร่วมระบบดิจิทัลหรือไอเอสดีเอ็น (Integrated Services Digital Network, ISDN), เครือข่าย Over Internet Protocol (IP) หรือที่เรียกว่า (IP Network), เครือข่ายคอมพิวเตอร์ภายในองค์กรหรือแลน (Local Area Network, LAN) เครือข่ายอินเทอร์เน็ต ต่าง ๆ เหล่านี้
เป็นตัวเชื่อม จึงเริ่มได้รับความนิยมมากขึ้นเรื่อย ๆ

ประโยชน์ของการ ประชุมทางวิดีโอ

             ประโยชน์ที่สำคัญของการประชุมทางไกลผ่านวิดีโอที่จะนำมาสู่ธุรกิจของคุณ เมื่อใช้การประชุมทางวิดีโอ หรือระบบ VIDEO CONFERENCE ก็คือ

  1. ไม่ต้องเสียเวลาเดินทางไปประชุม ทำให้พนักงานมีสุขภาพจิตดี มีเวลาทุ่มเทให้กับบริษัทมากขึ้น
  2. ลดค่าใช้จ่ายในการเดินทาง
  3. ผู้เข้าร่วมประชุมทุกคนสามารถเข้าร่วมการประชุมได้โดยไม่มีข้อจำกัดในเรื่องของสถานที่
  4. การเชื่อมต่อแบบเห็นหน้ากันช่วยให้ผู้เข้าร่วมประชุมพัฒนาความรู้สึกคุ้นเคยกับบุคคลที่พวกเขาอาจไม่เคยพบหน้ากันจริง ๆ
  5. ได้ทำงานร่วมกันแบบเรียลไทม์
  6. บริษัทสามารถจ้างพนักงานที่มีความสามารถโดยไม่มีข้อจำกัดทางภูมิศาสตร์ เช่น บริษัทที่รามอินทรา กรุงเทพ สามารถจ้างพนักงานที่โคราชได้ โดยที่พนักงานไม่ต้องเดินทางมาที่กรุงเทพ เป็นต้น
  7. เมื่อไม่มีข้อจำกัดเรื่องเวลาในการเดิน ก็จะเรียกประชุมได้ทุกเวลา ทำให้สามารถตัดสินใจทางธุรกิจ
    ได้อย่างรวดเร็ว

อุปกรณ์เบื้องต้นที่ใช้ในระบบการประชุม Video Conference

1. เครือข่ายสำหรับการถ่ายโอนข้อมูลเช่นสาย/ไร้สายเครือข่ายท้องถิ่น, เครือข่ายไร้สายโทรศัพท์มือถือและบรอดแบนด์ อินเตอร์เน็ต
2. MCU (Multipoint Control Unit), Video Conference Endpoint เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่ในการผสม (multiplexing) ข้อมูล ไม่ว่าจะเป็นภาพ เสียง เพื่อส่งต่อเข้าระบบเชื่อมต่อสัญญาณจากจุดต่าง ๆ เข้าด้วยกัน

3. ไมโครโฟน ไม่ว่าจะเป็นไมโครโฟนภายนอกหรือไมโครโฟนในตัวอุปกรณ์เอง ข้อแนะนำเพิ่มเติมคือ ควรจะเป็นไมโครโฟนที่มีความไวในการรับเสียงที่ดี ปรับระดับความดังของเสียงได้โดยอัตโนมัติ เพื่อให้รับเสียงที่มาจากทิศทางต่าง ๆ รอบห้องได้

4. กล้องวิดีโอหรือเว็บแคมที่มีอินพุตวิดีโอ สำหรับจับภาพและตำแหน่งของผู้พูด

5. เครื่องฉายภาพวีดิทัศน์ (Video Projector)
6. หน้าจอคอมพิวเตอร์ จอภาพ ทีวี หรือโปรเจ็กเตอร์ที่สามารถแพร่ภาพวิดีโอออกได้
7. หูฟัง ลำโพงแล็ปท็อป หรือลำโพงภายนอกที่สามารถใช้เป็นเอาต์พุตเสียงได้
8. อุปกรณ์เพิ่มอย่างอื่นตามการใช้งาน เช่น คอมพิวเตอร์, เครื่องเล่นและบันทึกเทปวีดิทัศน์ (Video Cassette Recorder, VCR)

การใช้งานการประชุมทางวิดีโอเติบโตขึ้นตลอดช่วงปี พ.ศ.2553 และได้ขยายตัวเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว เมื่อมีการระบาดของเชื้อ COVID-19 ทำให้พนักงานส่วนใหญ่ต้องทำงานที่บ้าน และมีการประชุมงานผ่านทาง VIDEO CONFERENCE (วิดีโอคอนเฟอเรนซ์) หรือ การประชุมทางไกลผ่าน VIDEO แทน

             และด้วยเทคโนโลยีในปัจจุบัน เราสามารถประชุมได้ผ่านอุปกรณ์ Multimedia ต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นคอมพิวเตอร์โน๊ตบุ๊คหรือคอมพิวเตอร์แบบตั้งโต๊ะ ตลอดไปจนถึงสมาร์ทโฟนและแท็บเล็ตต่าง ๆ ทั้งระบบปฎิบัติการ Windows, IOS, หรือ Android โดยเรายังสามารถประชุมในระบบ Video Conference ได้ด้วยภาพที่คมชัดระดับ 1080p เพราะใช้เทคโนโลยีการบีบอัดข้อมูล ทำให้ได้ภาพและเสียงที่คมชัดสมจริง

             ในช่วงเวลาที่การระบาดของ COVID-19 ยังไม่สิ้นสุด การทำงานทางไกลได้กลายเป็นวิถีการทำงานใหม่ของหลาย ๆ บริษัท และบริษัทต่าง ๆ ก็ต้องมองหาเทคโนโลยีการประชุมทางวิดีโอเพื่อรักษาการดำเนินธุรกิจนอกเหนือจากการใช้สำหรับการประชุมภายในองค์กรแล้ว การประชุมทางวิดีโอยังถูกนำมาใช้ในการสัมภาษณ์ผู้สมัครงานแทนการสัมภาษณ์ในสถานที่อีกด้วย ดังนั้น เพื่อการพัฒนาองค์กรและธุรกิจต่าง ๆ ให้เข้มแข็งก้าวหน้าได้อย่างรวดเร็ว การประชุมทางวิดีโอจึงยังคงเป็นวิธีการสื่อสารที่จำเป็นสำหรับธุรกิจยุคใหม่ต่อไป

สรุป :

             ในปัจจุบันนี้ อุปกรณ์การประชุมทางไกล (Video Conference) มีให้ใช้สามารถเลือกได้ตรงตามความต้องการและตามงบประมาณมากมายหลายรุ่นหลายแบบ การประชุมทางไกลระหว่างองค์กรจึงเป็นเรื่องที่ไม่ยุ่งยากอีกต่อไป และหากหน่วยงานหรือองค์กรณ์ของคุณ กำลังมองหาชุดประชุม Video Conference สามารถขอรับคำแนะนำ เพิ่มเติมได้ที่ Live For Sound เรามีทีมงานที่มีความเชี่ยวชาญเรื่องผลิตภัณฑ์คอยแนะนำผลิตภัณฑ์ ที่ตรงกับความต้องการและงบประมาณของท่าน พร้อมทั้งยังมีทีมงานติดตั้งที่มีประสบการณ์ในการติดตั้ง มาอย่างยาวนานพร้อมให้บริการครับ

นอกจากนี้ทาง Live For Sound ยังมีคอร์สเรียนเกี่ยวกับระบบเสียงที่น่าสนใจ เช่น คอร์สเรียนวิศวกรระบบเสียง คอร์สเรียนการมิกซ์เสียงงานแสดงสด 

Live For Sound รับออกแบบ ติดตั้ง จำหน่าย ระบบเครื่องเสียงห้องประชุมพร้อมบริการหลังการขายแบบครบวงจร ด้วยทีมงานระดับมืออาชีพ มาตรฐานสากล

โทรศัพท์ 02-550-6340, 064-198-2499
Line : @liveforsound
Email : [email protected]

บทความโดย: อาทิตย์ พรหมทองมี

รับติดตั้งระบบเสียง ห้องประชุม ร้านอาหาร ผับบาร์ ห้องคาราโอเกะ ห้องจัดเลี้ยง ระบบเสียงสนามกีฬา ระบบเสียงร้านกาแฟ สามารถปรึกษาทางทีมงาน LIVE FOR SOUND ได้ พร้อมรับตรวจเช็ค แก้ไขปัญหาระบบเสียงทุกรูปแบบ โดย ทรงพล แจ่มแจ้ง และทีมงานมืออาชีพ ที่มีประสบการณ์มากกว่า 15 ปี

สอบถามข้อมูลการติดตั้งได้ทาง