


การจัดโต๊ะประชุม ทำไมถึงสำคัญ ?
การจัดรูปแบบของโต๊ะสำหรับห้องประชุม การเตรียมการสำหรับการประชุมในแต่ละครั้งการจัดองค์ประกอบเพื่อเตรียมพร้อมการประชุมในแต่ละครั้ง การกำหนดรูปแบบของการจัดห้องประชุมควรพิจารณาโดยใช้วัตถุประสงค์ของการประชุม รูปแบบของการประชุม และจำนวนผู้ที่เข้าร่วมการประชุมเป็นหลักสำคัญ ในการเลือกรูปแบบการจัดวางโต๊ะประชุม จะมีรูปแบบไหนบ้างและแต่ละแบบเหมาะกับการประชุมแบบไหน เรามาดู รูปแบบการจัดวางโต๊ะประชุมทั้ง 8 รูปแบบกันเลย

U Shape (การจัดแบบตัว U)

การจัดวางในลักษณะนี้เป็นการจัดวางที่นิยมมากในการประชุมอภิปรายที่ผู้บรรยายต้องการมีส่วนร่วมกับผู้เข้าประชุม เพราะการจัดแบบนี้จะทำให้ผู้บรรยายนั้นสามารถเดินถือไมค์ไปมาระหว่างการบรรยายได้ทำให้ผู้บรรยายกับผู้เข้าประชุมนั้นเกิดการมีส่วนร่วมกันระหว่างประชุมและยังทำให้ผู้ที่เข้าประชุมมีความรู้สึกว่าตำแหน่งเสมอกันในห้องประชุม และข้อดีก็คือง่ายต่อการที่ผู้บรรยายสามารถนำเสนอภาพที่ด้านหน้าของโต๊ะประชุมได้อีกด้วยจะไม่มีการที่ผู้เข้าประชุมมานั่งบังสิ่งที่ผู้บรรยายจะนำเสนออย่างแน่นอน

Clusters (กลุ่มหรือหมู่คณะ)

การจัดโต๊ะในรูปแบบนี้เราจะจัดเป็นโต๊ะกลมใน 1 โต๊ะสามารถนั่งได้ 6 -10 ที่นั่ง การจัดแบบนี้ก็เพื่อให้มีการสนทนาที่สามารถโต้ตอบกันระหว่างการอภิปรายได้ เหมาะกับการประชุมขนาดใหญ่ และยังสามารถแบ่งกลุ่มประชุมย่อยในห้องก็สามารถทำได้เหมาะสำหรับผู้เข้าประชุมประมาน 60 – 100 คน

Cabaret (คาบาเรต์)

การจัดวางโต๊ะประชุมแบบนี้เป็นการจัดโดยปรับจากการจัดแบบกลุ่ม โดยลดที่นั่งลงให้เหลือโต๊ะละ 4 – 5 ที่นั่ง โดยจัดวางเพียงแค่ครึ่งหนึ่งของโต๊ะกลม ซึ่งต้องมีการเว้นด้านหน้าไว้เพื่อให้ผู้เข้าร่วมประชุมสามารถมองเห็นด้านหน้าระหว่างการนำเสนอได้อย่างชัดเจน การจัดรูปแบบนี้จะเหมาะสำหรับการประชุมขนาดเล็ก

Classroom (ห้องเรียน)

รูปแบบนี้เป็นมาตรฐานที่ใช้กันทั่วไปสามารถเจอได้บ่อย ๆ การจัดในรูปแบบนี้ก็เพราะจะเน้นผู้เข้าร่วมจำนวนมาก แต่วิธีนี้จะมีประสิทธิภาพในการสื่อสารทางเดียวเนื่องจากมีผู้เข้าร่วมจำนวนมากทำให้ผู้เข้าร่วมจะเกิดการโต้ตอบกับผู้บรรยายได้ยากมาก ๆ การจัดแบบนี้จะเหมาะสำหรับการจดบันทึกสำหรับการอภิปรายขนาดใหญ่

Boardroom (ประชุมคณะกรรมการ)

การจัดแบบนี้เหมาะสำหรับการประชุมเป็นกลุ่มเล็ก ๆ ที่ผู้บรรยายต้องการมีส่วนร่วมกับผู้เข้าประชุม และคาดหวังผลลัพธ์จากการประชุม โดยผู้เข้าร่วมประชุมจะสามารถมองเห็นและได้ยินอย่างชัดเจน ผู้บรรยายก็สามารถมองเห็นผู้เข้าร่วมประชุมได้อย่างชัดเจนเหมือนกัน และการจัดในรูปแบบนี้ยังสามารถนำไปใช้ในกิจกรรมอื่น ๆ ได้อีก เหมาะสำหรับการประชุมที่มีคนน้อยกว่า 20 คน

Chevron Classroom (จัดแบบตัว V)

การจัดลักษณะนี้นั้นจะคล้าย ๆ กับการจัดแบบห้องเรียน แต่จะมีความแตกต่างกันตรงที่โต๊ะประชุมจะเอียงขึ้นไปทางด้านหน้า และในแต่ละแถวของโต๊ะให้มีระยะห่างที่เท่ากันและอยู่ในระดับเดียวกัน การจัดรูปแบบนี้จะช่วยจำนวนแถวของโต๊ะในแถวกลางและทำให้ผู้เข้าร่วมมองเห็นด้านหน้าได้อย่างชัดเจน

Theater (โรงละคร/โรงหนัง)

ในการจัดห้องประชุมในลักษณะของโรงละคร หรือโรงหนัง จะเน้นไปที่การสื่อสารแบบทางเดียวซึ่งเหมาะสำหรับการประชุมที่ต้องการจะเน้นการนำเสนอภาพและเสียง รวมถึงการบรรยายแบบอื่น ๆ ที่เน้นการใช้ภาพและเสียง ทำให้การประชุมแบบนี้มีเรื่องของระบบเสียงของห้องประชุมเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย รูปแบบนี้เหมาะกับการประชุมที่มีผู้เข้าร่วมประชุมจำนวนมาก

Circle Of Chairs (แบบเก้าอี้วงกลม)

ก็เป็นอีกหนึ่งลักษณะที่เราเห็นกันได้บ่อย ๆ ในการประชุมเนื่องจากการจัดประชุมในลักษณะนี้ผู้ที่เข้าร่วมประชุมจะมีส่วนร่วมอย่างเต็มรูปแบบ โดยไม่มีโต๊ะและไม่มีผู้นำประชุม เหมาะสำหรับผู้เข้าร่วมประมาณ 20 คน
สรุป :
ในการเลือกรูปแบบจัดโต๊ะประชุมนั้นก็ขึ้นอยู่กับจำนวนผู้เข้าร่วมประชุมและตัวผู้จัดเองว่าอยากให้การประชุมไปในทางลักษณะไหนนั่นเองครับ การจัดโต๊ะการประชุมทั้ง 8 แบบนั้นจะต้องมีประโยชน์ไม่มากก็น้อยกับผู้ที่กำลังหาวิธีการจัดโต๊ะประชุมอยู่แน่นอนครับ
3 เหตุผล ทำไมต้องติดตั้งเครื่องเสียงห้องประชุม
ทรงพล แจ่มแจ้ง
รวม 5 โปรแกรม Video Conference ที่นิยมสูงสุด
ทรงพล แจ่มแจ้ง
Live For Sound รับออกแบบ ติดตั้ง จำหน่าย ระบบเครื่องเสียงห้องประชุมพร้อมบริการหลังการขายแบบครบวงจร ด้วยทีมงานระดับมืออาชีพ มาตรฐานสากล
โทรศัพท์ 02-550-6340, 064-198-2499
Line : @liveforsound
Email : sale@liveforsound.com
บทความโดย: วิชยุตม์ เตชะเกิดกมล (Content Creator)
รับติดตั้งระบบเสียง ห้องประชุม ร้านอาหาร ผับบาร์ ห้องคาราโอเกะ ห้องจัดเลี้ยง ระบบเสียงสนามกีฬา ระบบเสียงร้านกาแฟ สามารถปรึกษาทางทีมงาน LIVE FOR SOUND ได้ พร้อมรับตรวจเช็ค แก้ไขปัญหาระบบเสียงทุกรูปแบบ โดย ทรงพล แจ่มแจ้ง และทีมงานมืออาชีพ ที่มีประสบการณ์มากกว่า 15 ปี
ใครที่สนใจอยากทำอาชีพด้าน SOUND ENGINEER สามารถเข้าไปดูรายละเอียดเพิ่มเติมตามหลักสูตรด้านล่างนี้ได้เลยครับ