เข้าใจปัญหาและวิธีแก้เสียงไมค์หวีดหอน (Feedback) ในห้องประชุม

เสียงไมค์หวีดหอน

เสียงไมค์หวีดหอน คืออะไร ?

เสียงไมค์หวีดหอน หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า Feedback นั้น มักจะเป็นปัญหากวนใจของการใช้งานระบบเสียง ตั้งแต่ห้องขนาดเล็ก ไปจนถึงห้องขนาดใหญ่ ปัญหาเหล่านี้มักจะเกิดจากการออกแบบระบบเสียงที่ไม่ถูกต้อง และการใช้งานไมโครโฟนที่ผิดวิธี ในปัจจุบันนั้นเทคโนโลยีก้าวไกลไปมาก อุปกรณ์ในระบบเสียงบางตัวมีวงจรป้องกันไมค์หอนมาให้ แต่ก็ช่วยได้ไม่ถึง 100% ถ้าอยากให้ระบบทำงานได้สมบูรณ์โดยไม่มีเสียงไมค์หอน ต้องมี Sound Engineer เข้ามาช่วยออกแบบระบบ

เรามาดูกันว่าปัจจัยที่ทำให้ไมค์หอนรวมถึงวิธีการแก้ไมค์หอน นั้นทำอย่างไร ซึ่งต้องแก้ไขด้วยหลักการและวิธีการที่ถูกต้อง

สาเหตุที่เกิดไมค์หอน (FEEDBACK)

ไมค์หอน คือ การที่สัญญาณเสียงของไมโครโฟนที่ออกจากลำโพงวนกลับเข้ามาที่ไมโครโฟนอีกรอบ และก็เป็นแบบนี้ซ้ำกันไปเรื่อยๆ ทำให้เกิดการสะสมของพลังงานไฟฟ้าของความถี่เดิมซ้ำๆ กัน จึงเกิดเสียงหอนได้ยินออกมาจากลำโพง ซึ่งเสียงหอนนี้ นอกจากสร้างความรำคาญแล้ว จะทำให้อุปกรณ์เกิดความเสียหายได้อีกด้วย

ปัจจัยที่ทำให้เกิดไมค์หอนนั้นเกิดจากหลายปัจจัยด้วยกัน เช่น ไมโครโฟนอยู่ใกล้กับลำโพงมากเกินไป การเพิ่มเกนไมโครโฟนมากเกินความพอดี วางลำโพงผิดตำแหน่ง หรือ ปรับแต่งระบบเสียงไม่ถูกต้อง สิ่งต่างๆเหล่านี้ล้วนก่อให้เกิดอาการไมค์หอนได้ทั้งสิ้น

เรามาดูวิธีแก้ไมค์หอนกันดีกว่าว่าจะมีวิธีการแก้ปัญหาได้อย่างไรบ้าง โดยจะแบ่งเป็น 5 ข้อดังต่อไปนี้

การเลือกไมโครโฟน (Micophone)

การเลือกไมโครโฟน ถือเป็นเรื่องสำคัญเป็นอย่างมากในการแก้ไมค์หอน จึงมีความจำเป็นที่ต้องเลือกไมโครโฟนให้เหมาะสมกับการใช้งาน ซึ่งการเลือกไมโครโฟนนั้นต้องดูหลักๆเลยก็คือในเรื่อง รูปแบบการรับเสียงของไมโครโฟน เพราะเป็นตัวชี้วัดว่าไมโครโฟนจะถูกเลือกใช้อย่างถูกต้องและเหมาะสม รูปแบบการรับเสียงของไมโครโฟนที่นิยมใช้ในห้องประชุมหลักๆมีดังนี้

- Cardioid (คาร์ดิออย) รูปแบบการรับเสียงของไมโครโฟนชนิดนี้รับเสียงด้านหน้าเป็นหลัก และด้านข้างก็จะรับเสียงได้น้อยลง ส่วนด้านหลังไมโครโฟนนั้นรับเสียงได้น้อยที่สุด เหมาะสำหรับงานพูดและงานร้องเพลง การใช้ไมโครโฟนชนิดนี้ในห้องประชุมหรือห้องบรรยายสัมมนา ควรใช้กับผู้พูดที่ชอบหันซ้ายหันขวา เพราะตัวไมโครโฟนนั้นจะรับเสียงได้กว้าง เสียงจะไม่วูบวาบเดี๋ยวดังเดี๋ยวเบา ทำให้การบรรยายฟังดูลื่นไหล แต่ก็มีโอกาสเกิดเสียงหวีดหอนได้ง่ายเนื่องจากรับเสียงได้กว้างนั่นเอง

การรับเสียงแบบ คาร์ดิออย
รูปแบบการรับเสียงแบบ Cardioid

- Super Cardioid(ซุปเปอร์คาร์ดิออย) รูปแบบการรับเสียงชนิดนี้ จะรับเสียงด้านข้างได้แคบ แต่ตรงกลางสามารถรับเสียงได้ไกลกว่าการรับเสียงแบบ Cardioid แต่ด้านหลังไมโครโฟนนั้นรับเสียงได้มากกว่าแบบ Cardioid ไมโครโฟนรูปแบบการรับเสียง Super Cardioid นี้สามารถป้องกันการเกิดเสียงหอนได้ดี เนื่องจากรับเสียงได้แคบกว่า แต่ข้อเสียคือผู้พูดต้องพูดตรงด้านหน้าไมโครโฟนเท่านั้น ถ้าขยับปากไม่ตรงกับตำแหน่งไมโครโฟนเมื่อไหร่ เสียงจะวูบหายไป

การรับเสียงแบบ Super Cardioid
รูปแบบการรับเสียงแบบ Super Cardioid

- Omnidirectional(ออมนิไดเร็กชั่นนอล) เป็นรูปแบบการรับเสียงรอบทิศทาง 360 องศา ไมโครโฟนชนิดนี้ส่วนมากจะเป็นเป็นโครโฟนหนีบปกเสื้อหรือไมโครโฟนแบบเกี่ยวหูที่ใช้กันทั่วไปในห้องประชุมสัมมนา รูปแบบการรับเสียงแบบ Omnidirectional นี้ค่อนข้างจะควบคุมยากในการไม่ให้มีเสียงหวีดหอน ถ้าหากจะใช้ไมโครโฟนที่มีรูปแบบการรับเสียงชนิดนี้ ควรที่จะออกแบบระบบเสียงโดย SOUND ENGINEER เพราะต้องใช้การคำนวนและประสบการณ์ปรับแต่งเสียงของ Sound Engineer โดยเฉพาะ

รูปแบบการรับเสียง Omnidirectional
รูปแบบการรับเสียงแบบ Omnidirectional

การเลือกไมโครโฟนเพื่อช่วยแก้ไมค์หอนนั้น ค่า Sensitivity ของไมโครโฟนก็มีส่วนสำคัญในการเลือกไมโครโฟนมาใช้งาน ค่า Sensitivity ก็คือความไวในการรับเสียงของไมโครโฟน ค่านี้บางครั้งหน่วยของมันจะเป็น mV/Pa หรือบางครั้งค่าจะเป็น dBV ยกตัวอย่างเช่นถ้าหน่วยเป็น mV/Pa จะดูง่ายเลยก็คือค่าตัวเลขมากจะมีความไวมาก แต่ถ้าหากหน่วยเป็น dBV ตัวเลขติดลบน้อยๆจะมีค่าความไวที่สูงกว่าค่าตัวเลขติดลบมากๆ ยกตัวอย่างเช่น ค่า -50 dBV จะรับเสียงได้ไวกว่าค่า -55dBV ค่าตัวเลขติดลบน้อยๆจะเหมาะสำหรับคนที่พูดเบา และไม่ต้องเพิ่มเกนไมค์เยอะก็ให้เสียงที่มีความดังชัดเจน ลดปัญหาเสียงจากลำโพงเข้าไมค์ ทำให้ลดปัญหาอาการไมค์หวีดหอนได้ดี

เลือกลำโพงให้เหมาะสม

การเลือกลำโพงให้เหมาะสมกับการใช้งานนั้น เป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่งในการออกแบบระบบเสียง นอกจากจะให้เสียงที่ดีและถูกต้องแล้ว ยังช่วยแก้ไมค์หอนได้ดีอีกด้วย
ลำโพงแต่ละชนิดนั้นใช้งานแตกต่างกัน ต่อให้ลำโพงทุกชนิดจะทำหน้าที่ปล่อยสัญญาณเสียงให้ได้ยินเหมือนกัน แต่จุดประสงค์การทำงานนั้นแตกต่างกันโดยสิ้นเชิง ยกตัวอย่างลำโพงที่เป็นแบบตู้ทรงสี่เหลี่ยม กับลำโพงที่ฝั่งเพดานรูปทรงกลม

บางครั้งทำไมห้องประชุมต้องมีลำโพงทั้ง 2 ชนิดนี้ติดตั้งไว้ในห้องประชุม นั่นก็เพราะว่าการใช้งานที่แตกต่างกันนั่นเอง ถ้าเป็นห้องประชุมเล็กๆ ที่มีขนาดความลึกของห้องไม่เกิน 5 เมตร ก็สามารถใช้ลำโพงตู้ธรรมดาร่วมกับไมค์ประชุมได้ เพราะระยะไม่ไกลมาก เสียงที่ได้ยินจากลำโพงตู้ที่ติดตั้งอยู่ด้านหน้า มีความดังชัดเจนเพียงพอทำให้ผู้ฟังที่อยู่ด้านหลังได้ยินเพราะตามทฤษฎีการลดลงของเสียงนั้น ความดังจะลดลง 6dB ทุกระยะทางที่เพิ่มขึ้นเท่าตัว ห้องที่มีขนาดเล็กจะไม่ค่อยจเอปัญหาเหล่านี้ส่วนห้องที่มีขนาดใหญ่ขึ้น การออกแบบก็จะมีลำโพง 2 รูปแบบใน 1 ห้องนั่นก็คือ ลำโพงตู้ที่อยู่ด้านหน้า กับลำโพงเพดาน

ทำไมถึงต้องมีลำโพงทั้ง 2 ชนิด? เพราะเราจะแยกเสียงพูดกับเสียงที่มาจากวิดีโอออกจากกัน เสียงพูดให้ออกที่ลำโพงเพดาน ส่วนเสียงวิดีโอให้ออกจากลำโพงตู้ ที่เป็นเช่นนี้เพราะเสียงใช้เวลาในการเดินทางในอากาศกว่าจะถึงหูที่เราได้ยินนั้น เวลาของเสียงที่เดินทางจากลำโพงคู่หน้า กับเสียงจากลำโพงไมค์ประชุม จะเดินทางไม่เท่ากัน

หากเรานั่งห่างจากลำโพงมากๆ ความชัดเจนของเสียงก็จะลดลง เพราะเกิดการหักล้างกันของคลื่นเสียงตามหลักฟิสิกส์นั่นเอง หากให้เสียงพูดมาจากลำโพงเพดาน เสียงก็จะเดินทางมาได้เร็วกว่าลำโพงตู้ด้านหน้า และได้ความดังที่เยอะกว่าเพราะระยะทางใกล้กว่า จึงเป็นผลให้เสียงยังคงมีความชัดเจน ไม่ต้องกลัวเรื่องไมค์หอน เพราะเมื่อความดังชัดเจน เราก็ไม่จำเป็นต้องเพิ่มเกนไมโครโฟน

บริการติดตั้งระบบเสียงห้องประชุม

– บริการออกแบบและติดตั้งระบบเสียงห้องประชุมขนาดเล็กไปจนถึงขนาดใหญ่
– ออกแบบโดยผู้ชำนาญเฉพาะด้านวิศวกรเสียง (Sound Engineer)
– รับประกันงานติดตั้งนานสูงสุด 3 ปี
– มั่นใจกับอุปกรณ์แบรนด์ชั้นนำระดับสากล
– บริการ onsite service ภายใน24ชม. ไม่เว้นวันหยุดราชการ

ลำโพงติดเพดาน

หากเรามีแค่ลำโพงตู้คู่หน้า เสียงก็จะเบาลงตามระยะทาง และก็เกิดการหักล้างกันของคลื่นเสียง 2 คลื่นจากลำโพงคู่หน้าและลำโพงจากไมค์ประชุม เพราะเสียงเดินทางมาไม่พร้อมกัน เมื่อเสียงเบาลงจากการที่คลื่นเสียงของลำโพงคู่หน้าและลำโพงไมค์ประชุมหักล้างกัน เราก็จะพยายามเพิ่มความดังของเสียงลำโพง หรือเพิ่มเกนไมโครโฟนเพื่อให้รับพลังงานเสียงได้มากขึ้น ทำให้ไมโครโฟนเกิดอาการหวีดหอนได้ง่ายขึ้นอีกด้วย ดังนั้นการเลือกลำโพงไปใช้งานเพื่อให้เหมาะสมและไม่เกิดปัญหาไมค์หวีดหอนนั้น ควรจะมี Sound Engineer เป็นผู้ออกแบบและเลือกลำโพง

การออกแบบวางตำแหน่งลำโพง

ถ้าหากว่าวางตำแหน่งลำโพงไม่ดีและวางผิดจากตำแหน่งที่ควรจะเป็น ก็จะทำให้เกิดการหักล้างและเสริมกันของเสียงที่ออกมาจากลำโพงทั้งหมดในห้องประชุม จะทำให้เสียงบางความถี่ดังเกินไป เสียงบางความถี่หายไป โดยการออกแบบตำแหน่งการวางลำโพงนี้ ต้องอาศัย Sound Engineer ที่มีความเชี่ยวชาญโดยเฉพาะ เพราะต้องใช้หลักของฟิสิกส์ที่เกี่ยวกับเสียง มาคำนวณระยะห่างของลำโพง

นอกจากการคำนวณระยะห่างของลำโพงแล้ว ยังต้องคำนวนความดังที่เหมาะสมในห้องประชุมนั้นๆอีกด้วย ต้องนำค่าทางไฟฟ้าที่ป้อนเข้าไป มาคำนวณหาอัตราการขยายของเครื่องขยายเสียง ว่าต้องขยายเท่าไหร่ถึงจะได้ความดังที่ต้องการ ไม่ทำให้เสียงหวีดหอนขณะไปยืนพูดหน้าลำโพง เพราะเราปฏิเสธไม่ได้ที่ผู้บรรยายต้องไปยืนใกล้ลำโพง

และอีกอย่างที่จะเจอในห้องประชุมคือ ลำโพงเพดาน ที่อยู่ในห้องประชุมนั้น จะอยู่เหนือตำแหน่งของไมโครโฟนประชุม ถ้าหากไมโครโฟนประชุมนั้นไม่มีวงจรป้องกันเสียงหวีดหอน ก็จะเป็นเรื่องยากที่จะจัดการเสียงหวีดหอนเหล่านี้ จึงต้องให้วิศวกรเสียงหรือ Sound Engineer เป็นผู้คำนวณระยะห่างของลำโพงกับไมโครโฟนและระยะห่างของผู้พูดกับไมโครโฟน นำตัวเลขมาคำนวณก็จะได้เกนขยายของไมโครโฟนที่เหมาะสมและได้ความดังที่พอดีจนไม่เกิดไมค์หวีดหอนขณะประชุม

ระบบเสียงห้องสัมนา

ใช้อุปกรณ์ป้องกันเสียงไมค์หวีดหอน

อุปกรณ์เหล่านี้สร้างมาเพื่อช่วยแก้ไมค์หอนโดยเฉพาะ เป็นอุปกรณ์ที่มักจะอยู่ในลำโพง หรือเป็นเครื่องประมวลผลสัญญาณที่เรียกว่า ANTI FEEDBACK ในไมค์ประชุมบางยี่ห้อก็จะมีตัวนี้ติดตั้งมาให้เลย ทำให้ทำงานได้ง่ายไร้กังวลเรื่องเสียงไมค์หวีดหอน แต่สิ่งที่จะต้องสูญเสียไปจากอุปกรณ์พวกนี้ก็คือ คุณภาพของเสียง เพราะตัว ANTI FEEDBACK นี้จะทำหน้าที่เหมือน EQ ที่ไว้ลดย่านความถี่ที่ก่อให้เกิดเสียงไมค์หวีดหอนโดยเฉพาะ เมื่อได้อย่างมักจะเสียอย่างเสมอ การออกแบบระบบเสียงที่ถูกต้องถือเป็นเรื่องสำคัญที่สุด

การใช้งานไมโครโฟนที่ถูกต้อง

เมื่อเรามีการใช้อุปกรณ์ที่ดี มีการออกแบบที่ถูกต้อง แต่หากใช้งานไม่ถูกต้องก็จะมีปัญหาตามมาเสมอ ปัญหาที่พบบ่อนในเรื่องของไมค์หวีดหอนก็คือ การใช้ไมโครโฟนที่ไม่ถูกต้อง การใช้ไมโครโฟนที่ถูกต้องนั้น ควรศึกษาคู่มือของไมโครโฟนแต่ละรุ่นให้เข้าใจ เพราะระยะในการรับเสียงของไมโครโฟนแต่ละรุ่นนั้นมีระยะที่ไม่เท่ากัน จะเป็นเหตุให้การปรับแต่งเสียงนั้นเป็นไปได้ยากหากไม่เข้าใจวิธีใช้งาน อีกทั้งควรหลีกเลี่ยงการกำหัวไมค์ขณะใช้งาน เพราะจะทำให้รูปแบบการรับเสียงของไมโครโฟนเปลี่ยนไป จากที่รับเสียงแค่ด้านหน้ากลายเป็นรับเสียงรอบทิศทางแทน ทำให้เสียงจากลำโพงมาเข้าไมค์ได้ง่ายกว่าเดิม

ติดตั้งลำโพงไลน์อาเรย์ NEXO
การติดตั้งลำโพงแบบมาตรฐานแขวนลอยโดยการคำนวณระยะเสียงและพื้นที่คนฟัง

สรุป :

การแก้ปัญหาไมค์หวีดหอนที่ง่ายที่สุดคือ การออกแบบที่ถูกต้องจาก Sound Engineer ที่มีความรู้และความเชี่ยวชาญด้านฟิสิกส์ เพราะเสียงนั้นเป็นสิ่งที่มองไม่เห็น ทุกอย่างต้องมีการคำนวณที่ถูกต้อง ลำโพงไม่สามารถวางตำแหน่งตามที่ชอบได้ หากไม่ออกแบบระบบเสียงให้ถูกต้องตั้งแต่เริ่มต้น ก็จะเกิดปัญหาใหญ่ตามมาในอนาคต การแก้ไขก็อาจจะยากและต้องรื้อระบบเดิมทิ้งทั้งหมดเลยก็เป็นได้ ฉะนั้นการแก้ไมค์หอน จึงต้องเลือกออกแบบระบบเสียงและอุปกรณ์ให้ถูกต้องตั้งแต่เริ่มต้นจะเป็นการดีที่สุด

หากต้องการรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับการเป็น Sound Engineer อาชีพที่ต้องมีในงานเสียง งานแสดงสด สามารถเรียนรู้เพิ่มเติมได้ที่ Sound Engineer เริ่มต้นอย่างไร ? 

LIVE FOR SOUND ภายใต้การบริหารโดย บริษัท ทริปเปิ้ล อินโนเวชั่น จำกัด เป็นผู้เชี่ยวชาญด้านการออกแบบระบบเสียงห้องประชุม มี Sound Engineer ที่มีความรู้ ความเชี่ยวชาญพร้อมด้วยประสบการณ์ในการ ออกแบบระบบเสียงห้องประชุม ให้กับภาครัฐและเอกชน มาอย่างมากมาย ให้เราเป็นผู้ดูห้องประชุมของท่านด้วยความรู้ความสามารถของบุคลกรที่เรามี เพื่อให้ระบบการประชุมมีความสมบูรณ์ไม่ก่อปัญหา และแก้ไขได้ถูกต้องตามหลักวิทยาศาสตร์ที่แท้จริง หากอยากรู้เพิ่มเกี่ยวกับห้องประชุม สามารถดูเพิ่มได้ที่ เครื่องเสียงห้องประชุม ควรมีอะไรบ้าง

บทความโดย: ทรงพล แจ่มแจ้ง (SOUND ENGINEER)

ติดต่อขอรับข้อมูลและบริการออกแบบระบบห้องประชุมได้ที่ [email protected]

โทร 02-550-6340 หรือ 064-198-2499

สินค้าระบบประชุม

จัดโปรโมชั่นลดราคากว่า 30%

สอบถามข้อมูลการติดตั้งได้ทาง