ระบบเครื่องเสียงห้องประชุมขนาดใหญ่ ควรมีอุปกรณ์อะไรบ้าง

เครื่องเสียงห้องประชุมขนาดใหญ่

เครื่องเสียงห้องประชุมขนาดใหญ่

ในระบบเครื่องเสียงห้องประชุมนั้น โดยส่วนใหญ่แล้วอุปกรณ์จะคล้าย ๆ กัน แต่ก็มีแตกต่างกันไปบ้างตามขนาดห้องที่ใช้ ห้องประชุมขนาดเล็กก็จะมีอุปกรณ์ที่เหมาะกับห้องขนาดเล็ก ส่วนในบทความนี้จะแนะนำการเลือกใช้งานอุปกรณ์เครื่องเสียงสำหรับห้องประชุมขนาดใหญ่ ว่าต้องมีอะไรบ้าง ไปดูอุปกรณ์ที่จำเป็นต้องใช้กันดีกว่าครับ

ไมโครโฟนชุดประชุม (Microphone)

ไมโครโฟนประชุมเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับ ห้องประชุมขนาดใหญ่ เพราะผู้ร่วมประชุมจะมีจำนวนที่มากขึ้น การพูดคุยกันก็ต้องใช้เสียงที่ดังขึ้นตามขนาดพื้นที่ หากใช้ไมโครโฟนทั่วไป สิ่งที่จะเจอคือ จำนวนสายที่มากมายมหาศาล และจำนวนช่องสัญญาณของมิกเซอร์ก็จะเยอะเพิ่มมากขึ้นอีกด้วย

การเลือกใช้ไมโครโฟนชุดประชุมจึงเป็นสิ่งที่เหมาะสมเป็นอย่างยิ่ง นอกจากจะช่วยลดเรื่องจำนวนสายไมโครโฟนและช่องสัญญาณของมิกเซอร์แล้ว ยังช่วยลดเรื่องความยุ่งยากในการติดตั้งอีกด้วย เพราะไมโครโฟนชุดประชุมนั้น จะใช้วิธีการต่อพ่วงสัญญาณต่อกันไปไปเรื่อย ๆ จากไมค์ตัวที่ 1 2 3 และไปจบที่ลำดับไมโครโฟนที่เครื่องควบคุมนั้นสามารถจ่ายไฟได้ สำหรับห้องประชุมขนาดใหญ่นั้น จำเป็นต้องใช้ไมโครโฟนเพิ่มมากขึ้น หรือไม่ก็ต้องเดินสายยาวขึ้นก็จำเป็นต้องมีเครื่องจ่ายไฟสำหรับ ไมโครโฟนชุดประชุมเพิ่มเติม

เรามาดูระบบไมโครโฟนชุดประชุมกันว่ามีระบบแบบไหนบ้าง

ระบบไมโครโฟนชุดประชุมแบบอนาล็อค

ระบบไมโครโฟนชุดประชุมแบบอนาล็อคนั้น เป็นระบบที่ใช้กันมาอย่างยาวนาน การทำงานก็มีรูปแบบที่ใช้งานง่าย อุปกรณ์ในระบบจะประกอบไปด้วย

- เครื่องควบคุมไมโครโฟนประชุม (Control Unit) ทำหน้าที่จ่ายไฟให้กับไมโครโฟนชุดประชุมทุกตัวในระบบ และควบคุมฟังก์ชันการประชุม เช่น ควบคุมจำนวนผู้ประชุมว่าให้สามารถพูดพร้อมกันได้กี่คน การเรียงลับดับการพูดของผู้ร่วมประชุมเป็นต้น ซึ่งแต่ละยี่ห้อจะควบคุมจำนวนไมโครโฟนประชุมได้ไม่เท่ากัน

BOSCH รุ่น CCS-CURD Control Unit

- ไมโครโฟนประชุมสำหรับประธาน (Chairman Microphone) เป็นไมโครโฟนที่ขาดไม่ได้ ในระบบจะมีต้องมีจำนวน 1 ตัว ไมโครโฟนจะมีคุณสมบัติพิเศษคือ มีปุ่มตัดเสียงไมโครโฟนผู้ร่วมประชุม และไมค์ประธานสามารถกดพูดได้ตลอดเวลา

- ไมโครโฟนสำหรับผู้ร่วมประชุม (Delegate Microphone) ไมโครโฟนสำหรับผู้ร่วมประชุม ในระบบจะมีได้กี่ตัวนั้น ขึ้นอยู่กับเครื่องควบคุมว่าสามารถจ่ายไฟให้กับไมโครโฟนได้กี่ตัว ไมโครโฟนชุดประชุมแบบอนาล็อคที่นิยมใช้ในประเทศไทยคือ
Bosch CCS900

BOSCH รุ่น CCS-DL Delegate Unit

ระบบไมโครโฟนชุดประชุมแบบดิจิตอล

ระบบไมโครโฟนชุดประชุมแบบดิจิตอลนั้น พัฒนาขึ้นมาจากไมโครโฟนแบบอนาล็อค มีฟังก์ชันต่าง ๆ ที่เพิ่มมากขึ้น เช่น การใช้ร่วมกับกล้องเพื่อติดตามคนที่กำลังพูด หรือการโหวตลงคะแนน การเสียบบัตรแสดงตัวในการเข้าประชุม การเชื่อมต่อกับระบบแปลภาษา อุปกรณ์ก็จะเหมือนกับชุดไมโครโฟนประชุมแบบอนาล็อค ไมโครโฟนชุดประชุมแบบดิจิตอลที่นิยมใช้ในประเทศไทยคือ
Bosch CCSD-1000D
TOA TS-D1000
Shure DIS DC5980P
Soundvision DCS 990-PRO

SHURE รุ่น DIS DC5980P DU

ระบบไมโครโฟนชุดประชุมแบบไร้สาย

ระบบไมโครโฟนชุดประชุมแบบไร้สาย ถือเป็นอุปกรณ์ที่ได้รับความนิยมมากขึ้นเรื่อย ๆ เนื่องจากการติดตั้งที่ง่าย แค่ยกไปวางตามตำแหน่งก็สามารถใช้งานได้เลยไม่ต้องเดินสายให้ยุ่งยากดูเกะกะ และยิ่งห้องที่ปรับปรุงระบบเสียงใหม่ การเดินสายให้ดูสวยงามต้องฝังสายไปตามกำแพงหรือพื้น ค่าติดตั้งก็จะเพิ่มมากขึ้น หลายบริษัทและหน่วยงานต่าง ๆ มักจะเลือกใช้งานระบบไมโครโฟนไร้สาย อุปกรณ์ระบบไมโครโฟนไร้สายสำหรับห้องประชุมขนาดใหญ่นั้น ตัวเครื่องควบคุมและตัวไมโครโฟนจะใช้เหมือนกับระบบแบบมีสาย สิ่งที่ต้องเพิ่มเข้าไปคือ ระบบรับส่งสัญญาณไร้สาย ซึ่งจะมีทั้งการส่งคลื่นสัญญาณ UHF, WIFI และ คลื่นรังสีอินฟราเรด (Infrared) โดยจะต้องคำนวณจากขนาดความกว้าง ความลึก และความสูงของห้องเป็นหลัก ไมโครโฟนชุดประชุมแบบไร้สายที่นิยมใช้ในประเทศไทย คือ
BOSCH DICENTIS
TOA TS-820
Soundvision DCW-9900

SOUNDVISION รุ่น DCW-9900D

มิกเซอร์ (Mixer)

เป็นอุปกรณ์ผสมสัญญาณเสียงที่มีให้เลือกทั้งแบบอนาล็อกและดิจิตอล จำนวนช่องสัญญาณนั้นขึ้นอยู่กับจำนวนสัญญาณเสียงที่เข้ามา การเลือกใช้มิกเซอร์นั้น ต้องดูจากจำนวนสัญญาณที่เข้ามาและออกไปเป็นหลัก เช่น สัญญาณเสียงที่เข้ามามีอะไรบ้าง จำนวนเท่าไหร่ และควรเผื่อไว้อีกจากจำนวนที่นับได้ อีกอย่างน้อย 8 ช่อง เพื่อความยืดหยุ่นการทำงานในอนาคต เพราะหากไม่เผื่อไว้ เวลาจะเพิ่มช่องสัญญาณจะไม่สามารถทำได้ ต้องเปลี่ยนตัวใหม่อย่างเดียว

ในส่วนของช่องสัญญาณเข้า ต้องดูว่าสัญญาณเราจะส่งออกไปที่ไหนบ้าง เช่นลำโพงหลัก ลำโพงดีเลย์ เครื่องบันทึกเสียง โซเชี่ยลมีเดีย

เครื่องประมวลผลสัญญาณเสียง (Processor)

เครื่องประมวลผลสัญญาณเสียงหรือโปรเซสเซอร์ (Processor) จะทำหน้าที่จัดการปรับแต่งสัญญาณเสียงหลังจากที่รับสัญญาณมาจากมิกเซอร์ ซึ่งบางฟังก์ชันที่ใช้งานจะไม่มีอยู่ในมิกเซอร์ เช่น การหน่วงค่าเวลาสัญญาณเสียง (Delay) หรือการปรับแต่งจุดตัดความถี่ของลำโพง ก็ต้องใช้โปรเซสเซอร์ (Processor) ในการประมวลผลทั้งสิ้น จึงเป็นอุปกรณ์ที่มีความจำเป็นต้องมีในอุปกรณ์เครื่องเสียงห้องประชุมขนาดใหญ่

ลำโพงและเครื่องขยายเสียง (SPK & AMP)

เมื่อห้องมีขนาดใหญ่ขึ้นและคนจำนวนมากขึ้น ลำโพงและเครื่องขยายเสียงนั้นเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องมีการติดตั้งเข้าไปในห้องประชุม และลำโพงที่จะเลือกใช้งานนั้นก็ขึ้นอยู่กับรูปแบบของห้องประชุม ต้องนำขนาดพื้นที่ กว้างลึก สูง มาคำนวณหาตำแหน่งการติดตั้งลำโพง เพื่อให้มุมกระจายเสียงครอบคลุมที่นั่งผู้นั่งฟังทุกพื้นที่

การออกแบบอีกส่วนหนึ่งก็คือการคำนวณความดังของเสียง ตามกฎของฟิสิกส์นั้น ความดังเสียงจะลดลง 6dB ตามระยะทางที่เพิ่มขึ้น 2 เท่า เช่น หากเสียงจากลำโพงมีความดัง 100dB ถ้าเรานั่งห่างจากลำโพงเป็นระยะ 2 เมตร ความดังที่ได้ยินจากลดลง 6dB เหลือ 94dB ถ้ายิ่งห่างออกไปอีกเท่าตัวคือ 4 เมตรก็จะลดลงเหลือ 88dB ถ้าห้องมีความลึก 16 เมตร ก็จะลดลงเหลือ 76dB ซึ่งมีความดังไม่เพียงพอที่จะได้ยินเสียงชัดเจน

ดังนั้นการเลือกลำโพงรวมถึงการจัดวางลำโพงนั้นควรให้วิศวกรเสียง หรือ Sound Engineer (ซาวด์เอ็นจิเนียร์) เป็นคนคำนวณตำแหน่งการติดตั้งลำโพง จะได้ประสิทธิภาพมากกว่าการไปเลือกซื้อและมาติดตั้งกันเอง

อุปกรณ์ระบบภาพ (Visual System)

สำหรับอุปกรณ์ระบบภาพในห้องประชุมขนาดใหญ่นั้นสามารถแบ่งออกได้ดังนี้ครับ

จอรับภาพและเครื่องฉายโปรเจคเตอร์

เป็นอุปกรณ์ฉายภาพที่ได้รับความนิยมตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ด้วยความที่เป็นอุปกรณ์ที่สามารถฉายภาพให้มีขนาดใหญ่ การติดตั้งไม่ยุ่งยาก เหมาะกับห้องประชุมที่เน้นการใช้ตัวหนังสือ เพราะจะไร้รอยต่อ ทำให้ตัวหนังสือเป็นลายเส้นที่ชัดเจน ส่วนจำนวน ANSI ความสว่างขึ้นอยู่กับความสว่างของแสงภายในห้อง

Epson รุ่น EB-G7000WNL

จอ LED Wall

เป็นอุปกรณ์ระบบภาพที่เริ่มนิยมใช้มากขึ้นในปัจจุบัน เหมาะสำหรับห้องประชุมที่มีขนาดใหญ่มาก ๆ สามารถใส่ลูกเล่นเข้าไปในการนำเสนองาน ราคาขึ้นอยู่ความความละเอียดระยะห่างของหลอดภาพ ยิ่งชิดกันมากเท่าไหร่ราคาจะยิ่งสูงเพิ่มมากขึ้น เพราะจะได้ภาพที่ละเอียดเรียบเนียนมากยิ่งขึ้นนั่นเอง

MAXHUB รุ่น LM120M03

เครื่องสลับสัญญาณภาพ

หากในระบบภาพที่ใช้ในห้องประชุมมีอุปกรณ์หลากหลายเครื่อง ก็จำเป็นต้องมีเครื่องสลับสัญญาณภาพหรือที่เรียกกันว่า สวิตซ์เชอร์ (Switcher) เพื่อสลับสัญญาณภาพที่ขึ้นฉายบนจอ

เครื่องสลับสัญญาณภาพ
BLUSTREAM รุ่น HMXL88ARC

กล้องบันทึกภาพ

การบันภาพในการประชุมนั้น บางครั้งเป็นสิ่งจำเป็น เพื่อเก็บเอาไว้เป็นหลักฐานในการย้อนกลับมาดูก่อนการประชุมครั้งต่อไปว่าได้ประชุมเรื่องอะไรไปแล้วบ้าง เสมือนเป็นบันทึกการประชุม แต่เป็นในรูปแบบของวีดีโอ ลักษณะกล้องที่ใช้มักจะเป็นกล้องแบบ PTZ (Pan Tilt Zoom) จำนวนขึ้นอยู่กับความต้องการในการบันทึก

กล้อง Lumens
Lumens รุ่น VC-B30U Full HD USB PTZ Camera

สรุป :

ทั้ง 5 อุปกรณ์ที่กล่าวมา คืออุปกรณ์ที่จำเป็นทั้งสิ้น สำหรับห้องประชุมขนาดใหญ่ ส่วนจะใช้จำนวนเท่าไหร่นั้น ให้ทางผู้เชี่ยวชาญในด้านการออกแบบห้องประชุมเป็นผู้คำนวณอุปกรณ์ที่ใช้งานจะเป็นการดีที่สุด ซึ่งทาง Live For Sound นั้นเป็นผู้เชี่ยวชาญในเรื่องของการออกแบบระบบเครื่องเสียงห้องประชุม หากไม่มั่นใจว่าต้องใช้อุปกรณ์อะไรเพิ่มเติมสำหรับระบบเครื่องเสียงห้องประชุม สามารถปรึกษากับทาง Live For Sound ได้ฟรี

นอกจากนี้ทาง Live For Sound ยังมีบริการออกแบบและติดตั้งระบบเสียงร้านอาหารอีกด้วย บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ เช่น เทคนิคการมิกซ์เสียงกลอง หรือ เทคนิคการมิกซ์เสียงกีต้าร์ และยังมีคอร์สเรียนเกี่ยวกับระบบเสียงที่น่าสนใจ เช่น คอร์สเรียนวิศวกรระบบเสียง หากอยากทราบว่า วิศวกรระบบเสียงคืออะไร เริ่มต้นอย่างไร ทำงานที่ไหนได้บ้าง

         ใครที่สนใจอยากทำอาชีพด้าน SOUND ENGINEER สามารถเข้าไปดูรายละเอียดเพิ่มเติมตามนี้ได้เลย หลักสูตรเรียน SOUND ENGINEER นอกจากนี้เรายังเปิดสอน หลักสูตรการมิกซ์เสียงในงานแสดงสด อีกด้วย

หรือสนใจสอบถามคอร์สเรียนและหลักสูตรต่าง ๆ สามารถสอบถามได้ที่
โทรศัพท์ 02-550-6340, 064-198-2499
Line : @liveforsound
Email : [email protected]

บทความโดย: ทรงพล แจ่มแจ้ง (SOUND ENGINEER)

         รับติดตั้งระบบเสียง ห้องประชุม ร้านอาหาร ผับบาร์ ห้องคาราโอเกะ ห้องจัดเลี้ยง ระบบเสียงสนามกีฬา ระบบเสียงร้านกาแฟ สามารถปรึกษาทางทีมงาน LIVE FOR SOUND ได้ พร้อมรับตรวจเช็ค แก้ไขปัญหาระบบเสียงทุกรูปแบบ โดย ทรงพล แจ่มแจ้ง และทีมงานมืออาชีพ ที่มีประสบการณ์มากกว่า 15 ปี

สอบถามข้อมูลการติดตั้งได้ทาง