การออกแบบระบบเสียงประกาศ

การออกแบบระบบเสียงประกาศ

ระบบเสียงประกาศ เป็นส่วนสำคัญในการสื่อสารตั้งแต่พื้นที่ขนาดเล็กไปจนถึงพื้นที่ขนาดใหญ่ หรือบางครั้งเราเรียกระบบนี้ว่า ระบบเสียงตามสาย ซึ่งมาจากคำว่า Public Address System (PA System)  เกือบทุกสถานที่ ไม่ว่าจะเป็นอาคารสำนักงาน โรงพยาบาล โรงเรียนสถานศึกษา ขนส่งมวลชน ห้างสรรพสินค้า สวนสาธารณะ โรงงาน โรงแรม สถานที่ออกกำลังกาย ชุมชนและหมู่บ้าน ล้วนมีความจำเป็นในการใช้งานระบบเสียงประกาศทั้งสิ้น

การออกแบบระบบเสียงประกาศที่ดีนั้น ต้องให้ความดังที่ครอบคลุมพื้นที่ มีความชัดเจน และมีความทนทานทุกสภาพอากาศ การออกแบบระบบเสียงประกาศหรือเสียงตามสายนั้นต้องคำนึงถึงหลาย ๆ ปัจจัย เพื่อประกอบกับการเลือกใช้อุปกรณ์ที่เหมาะสม การออกแบบระบบเสียงประกาศ มีหลักให้คิดคำนึงพื้นฐานดังนี้

ขนาดพื้นที่ในการกระจายเสียง

ขนาดพื้นที่ในการใช้ระบบเสียงประกาศนั้น เป็นสิ่งสำคัญอันดับแรกที่ต้องคำนึงถึง เพราะการที่รู้พื้นที่ ก็จะสามารถนำมาคำนวณหามุมการกระจายเสียงได้ รวมไปถึงการคำนวณความดังของเสียงแต่ละพื้นที่ การแบ่งโซนในการประกาศ การเดินสายสัญญาณไปยังจุดต่าง ๆ หากเรารู้ขนาดพื้นที่แล้วก็จะสามารถทำงานได้ง่ายมากขึ้น แม้กระทั่งความสูงของอาคารแต่ละชั้น ก็มีผลต้องคำนึงถึงด้วยเหมือนกัน

คำนวณความดังให้เหมาะสมกับพื้นที่

การประกาศนั้นนอกจากจะเป็นการสื่อสารให้ผู้รับสารฟังเข้าใจแล้ว บางครั้งเสียงที่ได้ยินนั้นอาจจะกลายเป็นเสียงรบกวนสำหรับคนที่ไม่ต้องการฟัง การออกแบบและคำนวนความดังเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่งในการออกแบบระบบเสียงประกาศ อย่างเช่น ในสถานศึกษา ต้องจัดแบ่งโซนประกาศให้ชัดเจน เพื่อไม่ให้ไปรบกวนนักเรียนที่กำลังเรียนอยู่ และในห้างสรรพสินค้า ในโรงแรม ควรออกแบบความดังให้ใกล้เคียงกันทุกพื้นที่ ไม่ว่าเดินไปส่วนไหนก็จะได้ยินความดังที่ใกล้เคียงกัน จึงจำเป็นต้องมีวิศวกรเสียง หรือ Sound Engineer เข้ามาออกแบบระบบและคำนวณความดัง เพื่อความถูกต้องและแม่นยำ เสียงประกาศที่ได้ยินนั้นก็จะมีประสิทธิภาพ จะได้ไม่เป็นมลพิษทางเสียง

จัดแบ่งพื้นที่ในการประกาศ

การจัดแบ่งโซนพื้นที่ในการประกาศ เพื่อความสะดวกในการประชาสัมพันธ์หรือการแจ้งเตือนต่าง ๆ ยกตัวอย่างเช่น ในสถานศึกษา หากต้องการประกาศเรียกตัวบุคคลเพื่อให้มาอีกสถานที่หนึ่ง เราต้องประกาศเฉพาะเจาะจงไปยังพื้นที่ที่บุคคลที่เราต้องการให้รับสารนั้นอยู่ เพื่อไม่ให้เป็นการรบกวนบุคคลอื่น จึงจำเป็นต้องมีการแบ่งโซนการประกาศให้ชัดเจน

อีกตัวอย่างคือระบบเสียงประกาศภายในโรงแรม โดยโรงแรมแต่ละที่ มักจะมีรูปแบบการใช้งานที่ไม่เหมือนกัน บางโรงแรมใช้เป็นแค่ระบบประกาศเมื่อมีเหตุฉุกเฉิน เช่น ไฟไหม้ แผ่นดินไหว หรือโรงแรมบางแห่งต้องการมากกว่าประกาศฉุกเฉิน เช่น เปิดเพลงคลอเป็น Background Music บางครั้งแต่ละชั้นก็ใช้เพลงไม่เหมือนกัน การออกแบบก็ต้องแบ่งย่อยลงรายละเอียดเรื่องของโซนแต่ละโซน

เลือกใช้อุปกรณ์ให้เหมาะสมกับระบบเสียงประกาศ

อุปกรณ์ที่ใช้ในระบบเสียงประกาศนั้น โดยส่วนใหญ่มักจะเป็นอุปกรณ์เฉพาะ มีความทนทานและเชื่อถือได้สูง การเลือกใช้อุปกรณ์ก็จะมาจากความต้องการในการใช้งาน อุปกรณ์หลัก ๆ ในระบบเสียงประกาศมีดังนี้

4.1 ไมโครโฟนประกาศ (Paging Mic) ในระบบเสียงประกาศนั้นจะมีไมโครโฟนให้เลือกใช้อยู่ 2 แบบ คือแบบไมโครโฟนทั่วไปที่วางบนฐานแล้วมีปุ่มกด เปิด/ปิด กับไมโครโฟนมีปุ่มสามารถเลือกโซนประกาศได้

4.2 เครื่องผสมสัญญาณเสียง (Mixer) การเลือกเครื่องผสมสัญญาณเสียงในระบบประกาศนั้น ต้องดูจากจำนวนสัญญาณที่นำมาเข้าระบบ เช่น ไมโครโฟน เครื่องเล่นเพลงต่าง ๆ เครื่องผสมสัญญาณเสียงในระบบเสียงประกาศนั้น บางรุ่นจะมีปุ่มเลือกโซนและเครื่องขยายเสียงในตัว หากเป็นระบบที่ไม่มีความสลับซับซ้อนก็สามารถใช้แบบมีโซนและเครื่องขยายเสียงในตัวได้เลย ถ้าเป็นระบบที่ซับซ้อนและพื้นที่ขนาดใหญ่ ก็ต้องใช้เครื่องผสมสัญญาณกับเครื่องขยายเสียงแยกออกจากกัน เพื่อให้ง่ายต่อการทำระบบ

4.3 เครื่องขยายเสียง (Amplifier) ในระบบเสียงประกาศนั้น เครื่องขยายเสียงจะไม่ใช้เครื่องขยายเสียงเหมือนกับระบบเสียงทั่วไป เช่นระบบเสียงห้องประชุม หรือระบบเสียงกลางแจ้ง เครื่องขยายเสียงระบบเสียงประกาศนั้นโดยส่วนใหญ่สัญญาณขาออกจะเป็นแรงดันไฟฟ้า 70V และ 100V เพราะสายลำโพงที่ใช้ในระบบนั้นต้องเดินสายเป็นระยะทางที่ไกลมาก เมื่อสายลำโพงมีความต้านทาน การที่ต้องเดินสายระยะทางไกล ๆ นั้นย่อมส่งผลต่อระดับของสัญญาณเสียง การรักษาระดับแรงดันให้คงที่จึงเป็นสิ่งจำเป็น ส่วนกำลังวัตต์ที่ใช้งานก็ขึ้นอยู่กับจำนวนลำโพงที่ใช้ในระบบ แต่เมื่อนำลำโพงในระบบมารวมกัน ต้องไม่เกินกำลังวัตต์ของเครื่องขยายเสียง ความพิเศษของเครื่องขยายเสียงระบบเสียงประกาศคือสามารถรับสัญญาณที่เป็นสัญญาณฉุกเฉินต่างหากได้ กรณีที่เครื่องขยายเสียงปิดอยู่เมื่อมีสัญญาณฉุกเฉินเข้ามา ก็จะทำให้เครื่องเปิดการทำงานอัตโนมัติ แตกต่างจากเครื่องขยายเสียงโดยทั่วไปที่จะไม่มีในส่วนตรงนี้

4.4 ลำโพง (Speaker) ระบบเสียงประกาศมีลำโพงให้เลือกใช้งานมากมาย ทั้งการใช้งานภายในอาคารและภายนอกอาคารที่ต้องโดนแดดโดนฝน ชนิดของลำโพงก็จะมี ลำโพงเพดาน ลำโพงตู้ ลำโพงฮอร์น ลำโพงแบบโปรเจคเตอร์ หากใช้ภายนอกอาคาร ลำโพงที่ใช้งานต้องได้มาตรฐาน IP Version เช่น IP44 หรือ IP66

ออกแบบให้ได้ตามมาตรฐานสากล

สิ่งที่ควรคำนึงในการออกแบบระบบเสียงประกาศหรือเสียงตามสาย คือการออกแบบที่ต้องได้ตามมาตรฐานสากลที่นานาชาติยอมรับ เช่น ต้องได้มาตรฐาน NFPA 72 หรือ Nation Fire Alarm Code เป็นต้น เพราะหากระบบไม่ได้มาตรฐานแล้ว ในยามที่ต้องการใช้งาน เกิดระบบใช้งานไม่ได้ขึ้นมา ย่อมจะมีความสูญเสียเกิดขึ้นตามมาอันประเมิณค่าไม่ได้ การออกแบบโดยมี Sound Engineer เป็นผู้ออกแบบนั้นจึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งในการออกแบบระบบเสียงประกาศที่ได้มาตรฐาน

สรุป :

การออกแบบระบบเสียงประกาศหรือเสียงตามสายนั้น ควรให้ผู้เชี่ยวชาญที่มีความรู้มีประสบการณ์เป็นผู้ออกแบบ เพื่อให้ใช้อุปกรณ์ที่เหมาะสม ตรงตามการใช้งานและได้มาตรฐานสากล ช่วยประหยัดงบประมาณ ลดค่าบำรุงรักษา และสามารถใช้งานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ

ทาง Live For Sound มีผู้เชี่ยวชาญด้านการออกแบบระบบเสียงประกาศ มีประสบการณ์มากกว่า 15 ปี ทั้งในการออกแบบระบบเสียงประกาศภายในอาคาร ระบบเสียงตามสายภายในโรงเรียนสถานศึกษา ระบบเสียง Background Music ภายในโรงแรม ระบบเสียงประกาศภายในสนามกีฬา หรือระบบเสียงประกาศภายในหมู่บ้านและชุมชน

นอกจากนี้ทาง Live For Sound ยังมีบริการออกแบบและติดตั้งระบบเสียงห้องประชุมอีกด้วย ลองอ่านบทความ เกียวกับห้องประชุม เช่น

เรายังมีคอร์สเรียนเกี่ยวกับระบบเสียงที่น่าสนใจ คอร์สเรียนวิศวกรระบบเสียง หากอยากทราบว่า วิศวกรระบบเสียงคืออะไร เริ่มต้นอย่างไร ทำงานที่ไหนได้บ้าง

โทรศัพท์ 02-550-6340, 064-198-2499
Line : @liveforsound
Email : [email protected]

สอบถามข้อมูลการติดตั้งได้ทาง