Gain คืออะไร? และต่างจาก Volume อย่างไร

Gain & Volume

Gain และ Volume  นั้น เป็นปุ่มที่เอาไว้ใช้ลดหรือเพิ่มความดังของเสียงเหมือนกัน แต่ก็เชื่อว่าหลาย ๆ คนยังมีความเข้าใจผิด หรือตั้งคำถามกันอยู่ว่าปุ่มปรับ Gain และ Volume บนอุปกรณ์หรือระบบเสียงต่าง ๆ เช่น Mixer หรือ Audio Interface นั้นต่างกันอย่างไร ทั้งที่หลักการทำงานของ Gain และ Volume นั้นก็ล้วนส่งผลต่อความดังของเสียงเหมือนกัน แต่จริง ๆ แล้วระหว่าง Gain กับ Volume นั้นมีความแตกต่างที่เห็นได้ชัดอยู่นั่นเองครับ

วันนี้เราจะมาอธิบายให้คนที่เข้ามาอ่านบทความนี้ได้มีความเข้าใจที่ตรงกัน และยังสามารถนำไปต่อยอด ช่วยในการใช้งานระบบเสียงให้มีความถูกต้อง และไม่ให้เกิดข้อผิดพลาดกับงาน จากการที่ใช้ปุ่ม Gain กับ Volume ผิดวิธี ไม่ว่าจะเป็นงาน Live Sound หรือแม้กระทั่งงานบันทึกเสียงในสตูดิโอ เนื้อหาของบทความในวันนี้ก็จะเป็นการพูดถึง หน้าที่ของปุ่มปรับ Gain และ Volume รวมไปถึงวิธีการปรับให้เหมาะสมครับ

หน้าที่ และความแตกต่างของ Gain และ Volume

Gain นั้นมีหน้าที่ในการปรับขยายสัญญาณในลักษณะของ Input ให้มีความแรงของสัญญาณที่เหมาะสม ก่อนที่สัญญาณนั้นจะถูกส่งไปยังอุปกรณ์โปรเซสเซอร์ต่าง ๆ เพื่อปรุงแต่งเสียง ดังนั้น การปรับที่ Gain นั้น ไม่ได้มีหน้าที่ในการเพิ่ม หรือลดความดังของเสียง อย่างที่หลาย ๆ คนได้เข้าใจกัน ถึงแม้ว่าการปรับขยายสัญญาณจะมีผลต่อความดังของเสียงด้วย เช่น ในกรณีที่เราทำการบันทึกเสียงด้วยไมโครโฟน จะเกิดกระบวนการแปลงสัญญาณเสียง ให้เป็นสัญญาณไฟฟ้าผ่านสายสัญญาณเข้าสู่อุปกรณ์ที่ใช้ในการบันทึกเสียง แต่สัญญาณที่ได้จะเบามาก ๆ เราจึงจำเป็นที่ต้องใช้วงจรเพื่อขยายสัญญาณให้แรงขึ้น ซึ่งวงจรนี้เราเรียกง่ายๆว่า Gain (เกน) และการปรับ Gain นั้น ยังส่งผลต่อคาแร็คเตอร์ของเสียงอีกด้วย เช่น Gain เบา เสียงความถี่บางย่านก็จะขาดหายไป แต่ถ้าปรับ Gain แรง เสียงก็จะมีความหนาขึ้นและได้รายละเอียดของย่านความถี่เพิ่มมากขึ้นอย่างเห็นได้ชัดครับ

Volume นั้น จะมีหน้าที่ตรงกันข้ามกับ Gain อย่างเห็นได้ชัดเลยก็คือ การควบคุมความดังของเสียงโดยรวมที่ Output หลังจากที่สัญญาณเสียงผ่านอุปกรณ์โปรเซสเซอร์ หรือผ่านการปรุงแต่งเสียงมาแล้วนั่นเอง แต่ทางที่ดีการที่เราปรับทั้ง Gain และ Volume ก็ควรจะปรับให้มีความเหมาะสม สอดคล้อง และบาลานซ์กันทั้ง 2 อย่าง

อีกหนึ่งปัจจัยสำคัญในการปรับ Gain และ Volume ก็คือ Headroom โดยปกติแล้วอุปกรณ์ระบบเสียง จะมีเพดานความดังสูงสุดของเสียงที่อุปกรณ์แต่ละอันสามารถรับได้ ถ้าความแรงสัญญาณมีความดังเกินเพดานนี้ จะทำให้เสียงเกิดการ Cliping หรือ Distortion (เสียงแตกพร่า) ดังนั้นในการปรับ Gain ควรจะเผื่อพื้นที่สำหรับความดังของเสียง ที่อาจเกิดขึ้นโดยไม่คาดคิดได้นั่นเองครับ ซึ่ง Headroom ก็คือ พื้นที่ ๆ เราควรเผื่อเอาไว้นั่นเองครับ อุปกรณ์ระดับ Pro Audio ส่วนใหญ่จะมี Headroom ที่สูง เพื่อให้ได้ความดังที่มากที่สุด แต่ราคาก็จะสูงขึ้นตามไปด้วย

วิธีการปรับ Gain และ Volume ให้เหมาะสม

อย่างที่รู้กัน Gain นั้นคือการขยายความละเอียดของสัญญาณ ยิ่งขยายมากยิ่งได้รายละเอียดมากและรายละเอียดเสียงรอบข้างก็มากขึ้นตามมาด้วย แต่กลับกัน หากขยายมากเกินไป สัญญาณที่ได้ก็จะผิดเพี้ยนจากต้นฉบับและเกิดอาการเสียงแตกพร่าได้ง่าย โดยส่วนใหญ่แล้วจะอยู่ที่ภาคสัญญาณขาเข้า (Input)

ส่วน Volume นั้นคือการขยายความดังของสัญญาณ อยากได้ความดังเท่าไหร่ ให้เพิ่ม Volume แต่หากเพิ่มมากเกินไปก็อาจจะเกิดความเสียหายต่อระบบเสียงได้ ซึ่ง Volume จะมีผลต่อสัญญาณขาออก (Output)

คราวนี้เรามาดูตัวอย่างการใช้งานกันดีกว่า ยกตัวอย่างเช่น หากว่าเราต้องการความละเอียดของเสียงเครื่องดนตรีหรือเสียงร้อง การเพิ่ม Gain ก็จะได้รายละเอียดของความถี่พวกเสียง Harmonic ตามมา แต่ต้องระวังในเรื่องของเสียงรอบข้างที่จะโดนขยายตามมาทำให้เสียงที่ได้นั้นไม่สะอาด หากเป็นในส่วนของงานบันทึกเสียงนั้น ทาง Sound Engineer จะเน้นเรื่องของรายละเอียดของเสียงมากกว่าความดัง จึงให้ความสำคัญกับ Gain เป็นหลัก แต่ต้องดูด้วยว่าอุปกรณ์ที่บันทึกนั้นสามารถรองรับความแรงของสัญญาณได้ขนาดไหน

ในส่วนของงาน Live Sound การปรับ Gain นั้น ต้องอยู่ในระดับที่เหมาะสมไม่ก่อให้เกิดเสียงหอน และการเพิ่ม Volume ก็เพื่อให้ได้ความดังที่ต้องการ การออกแบบวางระบบเสียงจึงเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่ง หากวางระบบไม่ดี การเพิ่ม Gain เพื่อให้ได้ความดังก็จะทำให้การปรับเสียงนั้นยากยิ่งขึ้น และเสี่ยงที่จะก่อให้เกิดความเสียหายของระบบได้

เทคนิคการปรับ Gain และ Volume

หากเป็นระบบบันทึกเสียง ให้ปรับ Gain ขยายสัญญาณแล้วฟังรายละเอียดของเสียงที่ต้องโดยให้ Volume อยู่ที่ตำแหน่ง 0dB หากมีความดังมากเกินไปแต่ยังไม่ได้รายละเอียดของเสียงก็ให้ลด Volume ลงมาเพื่อให้ได้รายละเอียดเสียงและความดังที่ต้องการ

การใช้ Gain ที่เกินพอดีจนเกิดเสียงแตกพร่า บางครั้งก็มีประโยชน์ในแง่การสร้างความแตกต่างของเสียง เช่นเสียงแตกของกีต้าร์ ก็เกิดมาจากการป้อนสัญญาณที่เกินความพอดี จนทำให้เกิดเสียงแตก แต่ก็สามารถนำมาใช้สร้างสีสันของเพลงได้เช่นเดียวกัน

สิ่งที่ Sound Engineer ควรฝึกฝนก็คือ การฝึกฟังเสียงให้ออก เสียงที่แตกพร่านั้นเกิดจากการปรับ Gain ที่มากเกินไปหรือการเพิ่ม Volume ที่มากเกินความจำเป็น การฝึกฝนการฟังจะทำให้สามารถวิเคราะห์เสียงและแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นได้รวดเร็ว

สรุป :

ปุ่ม Gain มีหน้าที่ปรับขยายสัญญาณ Input

ปุ่ม Volume มีหน้าที่ควบคุมความดังของเสียงโดยรวมหลังจากผ่านการปรับแต่งเสียงเสร็จหมดแล้วเป็น Output

แล้วจะย้ำอีกทีนะครับย้ำเลยว่า Gain นั้นไม่ใช่ Volume ทำหน้าที่คล้ายกันแต่มีความต่างในด้านการใช้งานจริงครับ ระวังการใช้ Gain และ Volume ผิดวัตถุประสงค์เพราะมันจะทำให้เกิดผลเสียกับคุณภาพเสียงในงานของคุณได้ครับ แล้วที่สำคัญในการปรับ Gain และ Volume อย่าลืมที่จะเผื่อ Headroom ไว้เสมอด้วยนะครับ

ทาง Live For Sound มีผู้เชี่ยวชาญด้านการออกแบบระบบเสียงประกาศ มีประสบการณ์มากกว่า 15 ปี ทั้งในการออกแบบระบบเสียงประกาศภายในอาคาร ระบบเสียงตามสายภายในโรงเรียนสถานศึกษา ระบบเสียง Background Music ภายในโรงแรม ระบบเสียงประกาศภายในสนามกีฬา หรือระบบเสียงประกาศภายในหมู่บ้านและชุมชน

นอกจากนี้ทาง Live For Sound ยังมีบริการออกแบบและติดตั้งระบบเสียงห้องประชุมอีกด้วย ลองอ่านบทความ เกียวกับห้องประชุม เช่น

เรายังมีคอร์สเรียนเกี่ยวกับระบบเสียงที่น่าสนใจ คอร์สเรียนวิศวกรระบบเสียง หากอยากทราบว่า วิศวกรระบบเสียงคืออะไร เริ่มต้นอย่างไร ทำงานที่ไหนได้บ้าง

หรือ สนใจสอบถาม คอร์สเรียนและหลักสูตรต่าง ๆ สามารถสอบถามได้ที่

     โทรศัพท์ 02-550-6340, 064-198-2499

      Line : @liveforsound

      Email : [email protected]

บทความโดย: วิชยุตม์ เตชะเกิดกมล (Content Creator)

รับติดตั้งระบบเสียง ห้องประชุม ร้านอาหาร ผับบาร์ ห้องคาราโอเกะ ห้องจัดเลี้ยง ระบบเสียงสนามกีฬา ระบบเสียงร้านกาแฟ สามารถปรึกษาทางทีมงาน LIVE FOR SOUND ได้ พร้อมรับตรวจเช็ค แก้ไขปัญหาระบบเสียงทุกรูปแบบ โดยทีมงานมืออาชีพ ที่มีประสบการณ์มากกว่า 15 ปี

สอบถามข้อมูลการเรียนได้ทาง